ศาลแพ่งสั่ง “ส.ต.ต.” ซิ่งบิ๊กไบค์ชนหมอกระต่าย ชดใช้ 27.3 ล้านบาท

กทม. 26 มี.ค. – ศาลเเพ่งสั่ง “ส.ต.ต.” ขับบิ๊กไบค์ ชนหมอกระต่ายเสียชีวิต ชดใช้ค่าเสียหายให้พ่อเเม่จำนวน 27.3 ล้านบาท ยกฟ้องสำนักงานตำรวจเเห่งชาติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 67 ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ 846/2565 ระหว่าง นายแพทย์อนิรุทธ์ สุภวัตรจริยากุล ที่ 1 นางรัชนี สุภวัตรจริยากุล ที่ 2 โจทก์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 1 สิบตำรวจตรีนรวิชญ์ บัวดก ที่ 2 จำเลย โดยศาลพิพากษาให้ จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 331,230 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง ชำระเงิน 13,500,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 และชำระเงิน 13,500,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปีของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าว นับแต่วันที่ 21 มกราคม 2565 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น บวกด้วยอัตรา เพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามที่โจทก์ทั้งสองขอ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรม เนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ ยกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก


เกี่ยวกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ที่ พ 846/2565 ดังกล่าวนั้น โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดี ละเมิด ใจความโดยสรุปว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของแพทย์หญิง วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล ผู้ตาย จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการตำรวจสังกัดจำเลยที่ 1 ตำแหน่งผู้บังคับหมู่ กองร้อยที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการอารักขา และควบคุมฝูงชน (กก.1บก.อคฝ) เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 เวลาประมาณ 15.00-16.00 น. จำเลยที่ 2 ขณะปฏิบัติหน้าที่รับเอกสารราชการไปส่งให้แก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานในสังกัดจำเลยที่ 1 ได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลด้วยความเร็วประมาณ 108-128 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แซงขึ้นหน้ารถคันอื่น ในระยะไม่ถึง 30 เมตร ก่อนถึงทางม้าลายโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงพุ่งชนผู้ตาย ขณะเดินข้ามทางม้าลายบริเวณหน้าโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ไม่ให้การช่วยเหลือ เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุประมาณ 30-60 นาที และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมดูแล กำกับการปฏิบัติงาน และธำรงวินัยของข้าราชการตำรวจ ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ที่ผิดกฎหมายในการปฏิบัติงาน ขับรถจักรยานยนต์ฝ่าฝืนต่อ กฎหมาย และไม่จัดให้จำเลยที่ 2 เข้ารับการฝึกอบรมขับรถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้า พนักงานจราจร ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนท้องถนน ละเลยไม่จัดทำมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อป้องกัน อุบัติเหตุตรงทางม้าลาย อันเป็นผลโดยตรงทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนั้น จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็น ในการจัดการศพเป็นเงินจำนวน 539,493 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 537,505 บาท และค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงินจำนวน 72,266,301 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 72,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง

โดยศาลพิเคราะห์ พยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้… (2) ดูแล ควบคุม และกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น และ มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 แบ่งส่วนราชการออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนั้น หน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงหน้าที่โดยทั่วไปที่จะควบคุม กำกับดูแล บังคับบัญชาส่วนราชการและข้าราชการตำรวจในสังกัดจำเลย ที่ 1 ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และนโยบายของจำเลยที่ 1 ในภาพรวม โดยมีผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นควบคุม กำกับดูแล บังคับบัญชาให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตนธำรงไว้ซึ่งวินัยของข้าราชการ การที่จำเลยที่ 2 ไม่ประพฤติตนธำรงวินัยของข้าราชการตำรวจ ใช้รถจักรยานยนต์ผิดกฎหมายไม่ติดแผ่นป้าย ทะเบียน ไม่มีประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ไม่เสียภาษีประจำปี ไม่ติด กระจกมองข้างและขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร ผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 2 ได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการทางวินัยและพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 ได้ความจากพันตำรวจโทมนตรี ผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 2 ว่า ภายหลัง เกิดเหตุ ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ต้นสังกัดจำเลยที่ 2 มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อ ดำเนินการทางวินัย และได้พิจารณาลงโทษกักขัง 30 วัน ตามสำเนาคำสั่งกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนที่ 10/2565 และพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมว่า ขับรถจักรยานยนต์ไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย ขับรถไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายบนพื้นทาง (ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย) นำรถจักรยานยนต์ที่ไม่ติดแผ่นป้าย ทะเบียนมาใช้ในทาง นำรถที่ยังไม่ได้เสียภาษีประจำปีมาใช้ในทาง นำรถจักรยานยนต์ที่ไม่จัดให้มีประกันความ เสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาใช้ในทาง ใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่อง อุปกรณ์ไม่ครบถ้วน (ไม่มีกระจกมองข้าง) ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น และขับรถจักรยานยนต์ในทางเดินรถในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด


พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลอาญา ศาลมีคำพิพากษาเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ1049/2565 ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง เมื่อพฤติกรรมการขับขี่และใช้รถจักรยานยนต์ฝ่าฝืน กฎหมายเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ที่ขาดความสำนึกรู้ผิดชอบ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งกำชับให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาวินัยจราจร และปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ควบคุม เสริมสร้างความประพฤติ และวินัยข้าราชการตำรวจ ซึ่งจำเลยที่ 2 เคยเข้าร่วมอบรมประชุมกวดขันระเบียบวินัยเกี่ยวกับความประพฤติและ ระเบียบข้าราชการตำรวจที่หน่วยงานต้นสังกัดจัดขึ้นตามคำสั่งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโดยลำพังในการจัดระเบียบจราจร ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการจัดการระบบจราจร โดยมีกระบวนการและขั้นตอนดำเนินงานร่วมกันหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระทรวงคมนาคม และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานจราจรมีหน้าที่ดูแลการจราจร รักษาความปลอดภัยบนท้องถนนให้ เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและนโยบายเป็นหน้าที่โดยทั่วไป หาใช่เป็นหน้าที่และความ รับผิดชอบโดยเฉพาะของจำเลยที่ 1 เพียงหน่วยงานเดียว เมื่อเหตุคดีนี้เกิดจากที่จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดขับรถจักรยานยนต์ชนผู้ตายถึงแก่ความตายซึ่งเป็นนิติเหตุอันเป็นความรับผิดเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่ อาจให้สัตยาบันเข้ารับเอาผลการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ได้ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ทั้งสอง ในประเด็นว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ดั่งที่วินิจฉัยไว้ข้างต้นว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำละเมิด จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้ง สอง เหตุคดีนี้เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 โดยลำพัง จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการเฉพาะตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 บัญญัติให้ผู้กระทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพ รวมถึงค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นด้วย ในกรณีทำให้เขาถึงตาย ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว ศาลจะต้องพิเคราะห์ถึงค่าปลง ศพและค่าใช้จ่ายตามจารีตประเพณีตามความจำเป็นและเหมาะสม ตลอดจนฐานานุรูปของผู้ตายและโจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นบิดามารดา เมื่อพิจารณาตารางสรุปยอดค่าใช้จ่าย รายละเอียดค่าใช้จ่าย บิลเงินสด หลักฐานการชำระเงิน และภาพถ่ายงานศพซึ่งมีแขกร่วมงานจำนวนมาก ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้บริหารระดับประเทศ ค่าปลงศพและ ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นๆ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 331,230 บาทนั้นเหมาะสมแล้ว กำหนดให้ตามขอ ส่วนค่า รักษาพยาบาลก่อนตาย เงินบริจาคมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก ค่าไอแพด กระเป๋า รองเท้า และเสื้อผ้าของผู้ตาย ไม่ใช่ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นตามคำขอโจทก์ทั้งสอง จึง ไม่กำหนดให้ ส่วนค่าเรือลอยอังคาร โจทก์ทั้งสองไม่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเป็นเรือของตำรวจน้ำไม่คิดค่าใช้จ่าย จึง ไม่กำหนดให้

สำหรับค่าขาดไร้อุปการะ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคท้าย การ กำหนดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้จะต้องพิจารณาตามฐานานุรูปของผู้ตายและโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่า อุปการะเลี้ยงดู ตลอดจนรายได้ของผู้ตายและระยะเวลาในการให้ความอุปการะเลี้ยงดูหากผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ขณะ เกิดเหตุ โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 มีอายุ 64 ปีเท่ากัน มีโอกาสได้รับการอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี ผู้ตายอายุ 33 ปี ประกอบวิชาชีพจักษุแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทาง 2 สาขา อนุสาขาโรคจอตาและวุ้นตา และอนุ สาขาโรคภูมิคุ้มกันและการอักเสบ ทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งนายแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ได้รับค่าจ้างเดือนละ 21,000 บาท และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง ที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข (พ.ต.ส.) เดือนละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 31,000 บาท หากอยู่ เวรนอกเวลาจะได้รับค่าตอบแทนครั้งละ 1,200 บาท ตามเอกสารหมาย จ.58 หรือ ล.73 และเอกสารหมาย จ.59 หรือ ล.74 ได้ความจากพันตำรวจโทกมินทร์ สว่างจิตต์ ตำแหน่งสารวัตรฝ่ายธุรการกำลังพล กองบังคับการ อำนวยการโรงพยาบาลตำรวจว่า หากผู้ตายได้รับการคัดเลือกเป็นข้าราชการตำรวจในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจใน ฐานะผู้มีคุณวุฒิ พบ.วว. สาขาจักษุวิทยา และอนุสาขาจักษุวิทยาภูมิคุ้มกันและการอักเสบ จะได้รับการแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ (สบ.1) ชั้นยศว่าที่ร้อยตำรวจตรี และจะได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือนสูงขึ้น ตามลำดับ นอกจากนั้น ผู้ตายทำงานนอกเวลาที่โรงพยาบาลเอกชนอีก 3 แห่ง มีรายได้เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 1,800,000 บาท ถึง 2,400,000 บาท เมื่อมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากขึ้น ก็จะได้รับค่าตอบแทนมาก ขึ้นเป็น 3 ถึง 5 เท่า ซึ่งสอดรับกับคำเบิกความของนายแพทย์อดิศัย วราดิศัย จักษุแพทย์ด้านจอประสาทตาว่า หากแพทย์มีอายุการทำงานมากขึ้น มีชื่อเสียง ทำงานหลายแห่ง จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 300,000 ถึง 500,000 บาทหรือมากกว่านั้น จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานหักล้างเป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะมีรายได้ เพิ่มมากขึ้นตามประสบการณ์และอายุการทำงาน เมื่อคำนึงถึงโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญ แม้จะมีรายได้ จากเงินเดือน แต่อยู่ในวัยชรา มีปัญหาสุขภาพต้องไปพบแพทย์และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง มีภาระ ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวต่อเดือนจำนวนค่อนข้างสูง เห็นสมควรกำหนดค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์ที่ 1 และ โจทก์ที่ 2 คนละ 13,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีของต้นเงิน 331,230 บาท 13,500,000 บาท และ 13,500,000 บาท ตามลำดับ นับแต่วันทำละเมิดวันที่ 21 มกราคม 2565 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถ้า กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น บวกด้วยอัตรา เพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปีตามที่โจทก์ขอ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ประกอบมาตรา 224. -419-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เปิดเนื้อหาหนังสือแจง UNSC กัมพูชาวางทุ่นระเบิด-เริ่มยิงก่อน

25 ก.ค.- เปิดเนื้อหาหนังสือจากผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติที่นิวยอร์ก เพื่อชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ส่งหนังสือชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุว่า ขอแจ้งให้ท่านและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกท่านทราบ ถึงสถานการณ์อันร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย อันเป็นผลจากการรุกรานทางทหารของประเทศกัมพูชา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.     เมื่อวันที่ 16 และ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารไทยกำลังลาดตระเวนตามเส้นทางปกติที่กำหนดไว้ ซึ่งอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศไทย ทหารได้เหยียบทุ่นระเบิดชนิด PMN-2 ส่งผลให้ทหาร 2 นาย ได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสส่งผลถึงขั้นพิการถาวร ขณะที่ทหารนายอื่น ๆ ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทุ่นระเบิด PMN-2 ทั้งหมดที่พบอยู่ในสภาพใหม่ ยังมีเครื่องหมายที่มองเห็นได้ชัดเจน หลักฐานบ่งชี้ว่าทุ่นระเบิดเหล่านี้เพิ่งถูกวางใหม่ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ไทยได้ยื่นรายงานประจำปีเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญาดังกล่าว ตามมาตรา 7 ของอนุสัญญาฯ อย่างต่อเนื่อง รายงานดังกล่าวระบุว่าประเทศไทยได้ทำลายทุ่นระเบิดในคลังทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 และต่อมา ได้ทำลายทุ่นระเบิดทั้งหมดที่เก็บไว้เพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยในปี ค.ศ. […]

“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน”

ก.มหาดไทย 25 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน” ชี้รับฟังทุกความไม่พอใจ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามยุทธวิธี ให้ทหารมีอิสระในการทำงาน มอง “ก่อแก้ว” ขอศาล รธน. คืนอำนาจให้ “แพทองธาร” เป็นความเห็นเหมือนประชาชนจำนวนมาก แต่ให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ระบุถึง อยากให้กองทัพสั่งสอนความเจ้าเล่ห์ของฮุนเซนก่อน ว่า ก็เหมือนประชาชนทั่วไป ที่เวลานี้มีความรู้สึกเช่นนั้น หลายคนแสดงความเห็นให้ทำแบบนู้นแบบนี้ เราก็รับฟังความห่วงใยความไม่พอใจที่เราถูกกระทำ ตนเข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น และเห็นว่าเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพราะเรื่องอธิปไตยของประเทศ การรุกล้ำเข้ามา กระทบประชาชนเรายอมไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาทุกฝ่ายจะเห็นว่าเราประนีประนอม (Compromise) ให้มากที่สุด แต่เมื่อสิ่งดังกล่าวไม่เกิดขึ้น และเป็นปัญหา วันนี้จึงได้สั่งการให้ทหารมีอิสระในพื้นที่ โดยผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้คุมยุทธการ ปฏิบัติได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้มีการทำความเข้าใจกับ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีการโทรคุยกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด […]

เข้าสู่วันที่ 2 กัมพูชาเปิดฉากตั้งแต่เช้ามืด ที่ปราสาทตาเมือนธม

สุรินทร์ 25 ก.ค.-เข้าสู่วันที่ 2 เหตุปะทะไทย-กัมพูชา เริ่มเปิดฉากยิงกันตั้งแต่เช้ามืด บริเวณปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ขณะนี้เสียงยังดังต่อเนื่อง ก่อนขยายการสู้รบไปตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านอีสานใต้ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่แรกที่ฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิงก่อนด้านปราสาทตาเมือนครับ เช้ามืดวันนี้ ราวตี 5 ครึ่ง ก็เริ่มปะทะกันอีก ขณะนี้ก็มีเสียงดังอย่างต่อเนื่อง เส้นทางจากอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เข้าสู่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แม้สายแล้ว ก็มีรถสัญจรไปมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยการสู้รบ โดยอำเภอพนมดงรักเป็นหนึ่งใน 4 อำเภอ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประกาศให้ผู้ที่ไม่มีความจำเป็นเข้าพื้นที่ร่วมกับอำเภอกาบเชิง บัวเชดและสังขะ โดยตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา ในพื้นที่ตามแนวชายแดนได้ยินเสียงการปะทะด้วยกระสุนปืนใหญ่ดังอย่างต่อเนื่อง ผู้นำหมู่บ้านบันทึกสถิติเฉพาะฝั่งไทยตอบโต้เกินกว่า 100 ลูกแล้ว บ้านหนองแรด ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก ที่จรวดหลายลำกล้อง BM 21 ตกเยอะสุด 10 ลูก วานนี้โดยรอบหมู่บ้าน โชคดีไม่ลงบ้านเรือน มีกระจกแตกเล็กน้อยจากแรงอัดลูกจรวดเท่านั้น วันนี้ ยังมีชาวบ้านอยู่นับร้อยคนหลบอยู่ในหลุมหลบภัย จากทั้งหมด […]

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน

ศรีสะเกษ 24 ก.ค. – บรรยากาศคืนแรกที่ศูนย์อพยพฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนมาพักอาศัยชั่วคราว จากเหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นี่เป็นบรรยากาศค่ำคืนแรกที่ประชาชนในเขต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต้องออกมาพักอาศัยนอกบ้านเรือน ตั้งแต่เกิดเหตุกัมพูชายิงจรวดเข้าใส่เขตพักอาศัยของพลเรือน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้ตลอดทั้งวัน อ.กันทรลักษ์ มีการอพยพประชาชนแล้วมากกว่า 41,000 คน กระจายไปตามจุดต่างๆ โดยจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีผู้อพยพมากที่สุด เพราะใกล้แนวชายแดนที่อยู่ในระยะปลอดภัยมากที่สุด คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร จากแนวชายแดน มีประชาชนเข้ามาพักอาศัย 4,865 คน และยังมีจุดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกระจายกันไป ผลจากสถานการณ์ตึงเครียดและพลเรือนตกเป็นเป้าของการโจมตี ทำให้หลายคนอยู่ในอาการเครียดและกังวล เจ้าหน้าที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กำลังใจเป็นระยะ รวมทั้งให้บริการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น พร้อมกันนี้ได้ย้ำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ฝากแจ้งประชาชนที่ยังลังเลไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินหรือสัตว์เลี้ยง ว่า ขณะนี้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดทุกหมู่บ้าน จึงขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และออกมาจากพื้นที่เสี่ยงตามจุดนัดหมาย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว. – สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

9 ทันโลก : แจงด่วน! คณะมนตรีความมั่นคง ไทยนี้รักสงบ

25 ก.ค. – นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ตามที่กัมพูชาร้องขอไว้ รายงาน 9 ทันโลก พาไปติดตามบทบาทและโอกาสของไทยบนเวทีสำคัญนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาตินานเกือบ 80 ปี จะได้แสดงบทบาทอีกครั้งในคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการสื่อสารกับประชาคมโลก ถึงการกระทำของกัมพูชา ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศหลายด้าน รวมถึงกฎบัตรสหประชาชาติที่ไทยยึดมั่น ในห้องประชุมนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ ลำดับที่ 55 จะทำหน้าที่อีกครั้งในภารกิจด้านสันติภาพ ตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2489 ที่นี่ไทยเคยทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง โดยพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา และหม่อมหลวง พีระพงศ์ เกษมศรี ทำหน้าที่สองวาระ ในปี 2528 และ 2529 ในเวลาที่สงครามเย็นคุกรุ่น มาในวันนี้ไทยกำลังจะมีโอกาสอันดีที่ได้ใช้ช่องทางการทูตสำคัญ เสาหลักความมั่นคงของสหประชาชาติ ในอีกบทบาทหนึ่งที่ยังคงอยู่บนพื้นฐานการแสวงหาสันติภาพตามกลไกนี้ เมื่อประเทศสมาชิก ในกรณีนี้คือกัมพูชา ร้องขอให้เปิดประชุมเร่งด่วน สมาชิกคณะมนตรีซึ่งมีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ พิจารณากรณีที่เป็นภัยคุกคามใดต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่น กรณีการปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชา […]

น่านยังอ่วม บางจุดน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร

น่าน 25 ก.ค. – เข้าสู่วันที่ 3 น้ำท่วมใหญ่เป็นประวัติการณ์ของเมืองน่าน แม้ระดับน้ำลดลงบ้างแล้ว แต่ในตัวเมือง-เขตเศรษฐกิจยังท่วมสูง บางจุดระดับน้ำเกือบ 2 เมตร ขณะที่ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” นำทีมกู้ภัยฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวเข้าช่วยเหลือชาวบ้าน .-สำนักข่าวไทย

มีผลทันที! ประกาศกฎอัยการศึก 8 อำเภอ “จันทบุรี-ตราด”

25 ก.ค.- กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ประกาศใช้กฎอัยการศึกบางพื้นที่ มีผลทันที กองทัพเรือ โดย กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “ประกาศใช้กฎอัยการศึก” บางพื้นที่ ดังนี้ ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 21.05 นาฬิกา ซึ่งต่อมาได้มีพระบรมราชโองการเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ และให้ใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 นั้น โดยที่ปรากฏว่าประเทศกัมพูชาได้ใช้กำลังและอาวุธรุกรานเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตลอดแนวชายแดน จึงมีความจำเป็นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่ต้องใช้กำลังทหาร ตำรวจ พลเรือน ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคน เพื่อป้องกันประเทศให้พ้นจากภัยคุกคามอันมีที่มาจากภายนอกราชอาณาจักรดังกล่าว เพื่อรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดน ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย และจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่เพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 176 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 จึงให้ใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 จังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี […]

จรวด BM-21 ตกในพื้นที่สุรินทร์ 6 ลูก เร่งอพยพคนเพิ่ม

สุรินทร์ 25 ก.ค. – กระสุนของฝั่งกัมพูชามาตกไกลกว่าเหตุปะทะปี 2554 ตามที่เจ้าหน้าที่คาดการณ์ ล่าสุดมีจรวด BM-21 จำนวน 6 ลูก ตกในพื้นที่ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เตรียมอพยพประชาชนไปยังที่ปลอดภัยกว่า .-สำนักข่าวไทย