ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำต้มใบยี่หร่า ยับยั้งมะเร็ง จริงหรือ ?

21 เมษายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์แนะนำผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็ง ให้รีบกินน้ำต้มใบยี่หร่า เช้า กลางวัน เย็น จะช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

Plandemic ปฐมบทสารคดีลวงโลก เบื้องหลังไวรัสโควิด-19

20 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล เมื่อปี 2020 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก เกิดปรากฏการณ์บนโลกออนไลน์ที่มีการแชร์คลิปและข้อมูลจากสารคดีขนาดสั้นเรื่อง Plandemic กันอย่างแพร่หลาย แต่กลายเป็นว่า เนื้อหาเหล่านั้นกลับเต็มไปด้วยข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 และการโจมตีนโยบายรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างไม่ถูกต้อง กลายเป็นต้นทางแห่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงเผยแพร่ทางโลกไซเบอร์จนถึงทุกวันนี้ Plandemic เป็นชุดสารคดีไตรภาคที่พยายามอ้างว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่มีการวางแผนล่วงหน้า โดยสารคดีตัวปฐมบทได้แก่ Plandemic : The Hidden Agenda Behind Covid-19 สารคดีความยาว 26 นาที เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2020 รูปแบบของ Plandemic 1 เน้นเนื้อหาจากบทสัมภาษณ์ระหว่าง มิกกี วิลลิส อดีตนายแบบและนักแสดงที่ผันตัวมาเป็นนักสร้างสารคดีแนวทฤษฎีสมคบคิด และ จูดี ไมโควิตส์ นักวิจัยผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน Fact Checker หลายสำนักได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคำกล่าวอ้างของ จูดี ไมโควิตส์ ในหลายประเด็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : LACKBITIC ? — จุดเริ่มต้นข่าวลวง หลอกล่อให้หลงคลิก

13 เมษายน 2567 – สิ่งนี้…ทำให้เกิดปัญหาข้อมูลข่าวสารปลอม หรือบิดเบือนได้ และสิ่งนี้… พบว่า ปรากฏบนสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน เป็นจำนวนมาก คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เจ็บตาเหมือนมีเข็มทิ่มตา

14 เมษายน 2567 – เจ็บตาเหมือนมีเข็มทิ่มตา เกิดได้จากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 26 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : กระดาษชำระ สาเหตุมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ ?

15 เมษายน 2567 – บนโซเชียลแชร์ข่าวจากต่างประเทศ พาดหัวว่า ใช้ทิชชู่ผิด ๆ เป็นมะเร็ง นักศึกษาอายุแค่ 20 แต่เป็นมะเร็งปากมดลูก ชี้สาเหตุมาจาก “กระดาษชำระ” ที่เลือกใช้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ 29 มีนาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ร้อนใน แผลในปาก จริงหรือ ?

17 เม.ย. 67 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับวิธีแก้ร้อนใน ทั้งการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เปลี่ยนยาสีฟัน เลี่ยงอาหารรสจัด รวมถึงการกินขิงและกระเทียมจะช่วยให้หายเร็วขึ้น ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูญ ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง เพชรรัตน์ แสงทอง นายแพทย์ สบ 1 กลุ่มงานหู คอ จมูก โรงพยาบาลตำรวจ รศ.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ ประธานราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ติดยาดมอันตราย จริงหรือ ?

18 เมษายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เตือน ใช้ยาดมผิดอันตรายต่อระบบประสาท ทำให้เกิดปอดอักเสบได้ และส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ ให้ใช้เฉพาะตอนเป็นหวัด คัดจมูก และเวียนศีรษะเท่านั้น ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังอย่าเปิดภาพถ่ายแผ่นดินไหว จะโดนแฮกโทรศัพท์ใน 10 วินาที จริงหรือ ?

บทสรุป : ❌ ข้อความนี้เป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกัน แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหาย ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกันในหลายเวอร์ชัน และไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหายแต่อย่างใด โดยเมื่อนำข้อความที่แชร์กัน ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และตรวจเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ  ทั้ง News Checker Africa Check  และ NBC News  พบว่า มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่พบหลักฐานว่ามีการแฮกในลักษณะดังกล่าว โดยปกติแล้วการรับส่งภาพ GIF หรือคลิปวิดีโอที่มองเห็นได้ทันที ผ่านทาง Line, Whatsapp, Facebook ไม่มีความเสี่ยงจากไวรัส แต่ที่มีความเสี่ยงไวรัส ฟิชชิง คือ ไฟล์ที่ไม่ใช่ภาพหรือคลิป เช่น .doc .pdf .exe มักส่งมากับอีเมล์ หรือ แอปพลิเคชัน โดยไม่มีที่มาที่ไป รวมถึงลิงก์เว็บไซต์ที่ต้องกดเข้าไปดูอีกที อาจมีการหลอกให้ดีใจ ตกใจ หรือทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นควรพิจารณาให้แน่ใจ ก่อนกดไฟล์หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว  19 เมษายน 2567 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย […]

โอกาสของการใช้ยา “ซูรามิน” รักษาออทิสติก ?

19 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการออทิสติกให้หายขาด แต่มีนักวิจัยที่พบความเป็นไปได้ของการใช้ยาซูรามิน (Suramin) เพื่อรักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติก นำไปสู่การวิจัยศึกษาสรรพคุณของยาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการวิจัยส่วนใหญ่ยังอยู่ในการทดลองขั้นต้นและมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย ปัจจุบันจึงไม่อาจยืนยันได้ว่า ยาซูรามินสามารถใช้รักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเพียงใด ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ยืนยันว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคออทิสติก และเตือนถึงอันตรายของการใช้ยารักษาผู้ป่วยออทิสติกอย่างไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดี FDA ได้อนุมัติยาสำหรับรักษาอาการข้างเคียงของโรคออทิสติก ทั้งอาการกระตือรือร้นมากเกินไปหรือการขาดสมาธิ เช่น การใช้ยาระงับอาการทางจิตเพื่อบรรเทาอาการฉุนเฉียวง่ายของผู้ป่วยโรคออทิสติก งานวิจัยการใช้ยาซูรามินปี 2017 แต่เดิม ยาซูรามิน (Suramin) ถูกใช้สำหรับรักษาโรคพยาธิตาบอด (Onchocerciasis) และโรคเหงาหลับ (African Trypanosomiasis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิต สื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์ข้อความอ้างถึงสรรพคุณของยาซูรามินในการรักษาโรคออทิสติก ที่สามารถช่วยให้เด็กที่ป่วยเป็นออทิสติกสามารถพูดได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์อ้างงานวิจัยปี 2017 ที่พบว่าการใช้ยาซูรามินสามารถช่วยให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารที่ดีขึ้น งานวิจัยชิ้นดังกล่าว ทีมวิจัยได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า ผู้ป่วยโรคออทิสติกจะมีการทำงานของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตหรือ ATP มากผิดปกติ ซึ่งสารดังกล่าวทำหน้าที่ให้พลังงานแก่เซลล์ ดังนั้นความสามารถในการจำกัดการทำงานของ ATP ของยาซูรามิน อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคออทิสติกมีอาการดีขึ้น […]

ใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ ทารกเสี่ยงเป็นออทิสติกแค่ไหน ?

18 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์กับการป่วยเป็นโรคออทิสติกในทารก สร้างข้อถกเถียงในวงการแพทย์มานาน แม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีงานวิจัยที่พบความเสี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอลกับออทิสติก แต่งานวิจัยส่วนใหญ่กลับเต็มไปด้วยข้อจำกัดจนไม่อาจยืนยันผลได้อย่างชัดเจน การใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ แม้จะมีความจำเป็น แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อเลี่ยงผลเสียจากการใช้ยา การศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ปี 2018 วารสารการแพทย์ American Journal of Epidemiology ได้ตีพิมพ์ผลวิจัยที่พบว่า แม่ที่ใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงคลอดบุตรป่วยเป็นโรคออทิสติกมากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 19% และเสี่ยงคลอดบุตรที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) มากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 34% ส่วนปี 2021 วารสารการแพทย์ Nature Reviews Endocrinology ได้ตีพิมพ์ข้อเสนอแนะตามมติที่ประชุมโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ระดับนานาชาติ ที่ร่วมกันศึกษางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จนได้ข้อสรุปที่เชื่อว่า ยาพาราเซตามอลมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยผลกระทบจะแปรผันตามปริมาณยาที่ได้รับ จึงต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์เตือนถึงการใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์อย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งการใช้ยาพาราเซตามอลโดยตรงหรือการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอล อย่างไรก็ดี งานวิจัยทั้งสองชิ้นสร้างเสียงโต้แย้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายประการ ส่งผลให้บทสรุปของงานวิจัยขาดความน่าเชื่อถือเพียงพอ ประเด็นแรกคืองานวิจัยทั้งสองอยู่ในรูปแบบการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ซึ่งเป็นการศึกษาจากงานวิจัยในอดีต ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ที่ผู้วิจัยต้องลงมือทดลองด้วยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผลวิจัยชัดเจนและปราศจากความลำเอียงจากผู้วิจัย ข้อจำกัดยังรวมถึงข้อมูลปริมาณการใช้ยา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ประโยชน์ของไข่ขาว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำ 10 ประโยชน์ของไข่ขาว เช่น การเสริมสร้างร่างกาย ไม่มีไขมัน อุดมด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ร่างกายดูดซึมได้ 100% จริงหรือไม่ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ดร.อชิรญา คำจันทร์ศุภสิน นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องจริง แต่บางข้ออาจจะต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติม ข้อ 1. ไข่ขาวช่วยทำให้ฮอร์โมน หรือเอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น ? เรื่องจริง… ในไข่ขาวมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ กรดอะมิโนชื่อ ไลซีน (Lysine) จะช่วยผลิตฮอร์โมน เอนไซม์ต่าง ๆ ให้กับร่างกาย ลิวซีน (Leucine) กับ วาลีน (Valine) สองตัวนี้ ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ข้อ 2. ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ 100% สูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น ๆ ? เรื่องนี้จะเป็นค่าที่มีการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เป็นการวัดคุณค่าทางชีวภาพของโปรตีน หรือว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ‘สปอโรทริโคสิส’ โรคเชื้อราในแมวที่ติดต่อสู่คน

“สปอโรทริโคสิส” โรคจากเชื้อราพบในแมว มีการพบในคนมากขึ้น อันตรายต่อคนหรือไม่ รักษาได้อย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พ.ต.ต.หญิง รศ.พญ.เพ็ญวดี พัฒนปรีชากุล อาจารย์ประจำภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สปอโรทริโคสิส (Sporotrichosis) เป็นโรคเชื้อราที่ทำให้เกิดบาดแผลที่ผิวหนัง เชื้อราชนิดนี้จริง ๆ ก็เป็นเชื้อราตามธรรมชาติ อยู่ตามพื้นดิน ตามต้นไม้ต่าง ๆ โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส ในต่างประเทศมีการตั้งชื่อว่า Rose gardener’s disease เป็นเชื้อราที่มีข้อมูลว่าคนทำสวนถูกหนามบาด หนามทิ่ม แล้วก็เกิดโรคนี้ขึ้นมา ในประเทศไทย “โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส” พบได้บ่อยในแมว ? สำหรับประเทศไทย โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิสพบได้น้อยในคน ข้อมูลจากสัตวแพทย์พบว่ามีสัตว์เลี้ยงติดเชื้อราสปอโรทริโคสิสทุกวัน โดยเฉพาะแมว ถือว่าโรคเชื้อราสปอโรทริโคสิสเป็นโรคประจำของหมาแมวก็ได้ มีแนวโน้มพบ “โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส” ในคนมากขึ้น ? ข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ย้อนหลัง 15 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มี 10 ราย แสดงว่าที่ผ่านมา 1-2 […]

1 31 32 33 34 35 127
...