จับตาเส้นทางแก้รัฐธรรมนูญ
รัฐสภายังคงเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กระบวนการยังมีอีกหลายขั้นตอน และต้องรอตกผลึกอีกหลายอย่าง ทั้งการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกระบวนการแก้ไขชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการทำประชามติ ติดตามจากรายงาน
รัฐสภายังคงเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กระบวนการยังมีอีกหลายขั้นตอน และต้องรอตกผลึกอีกหลายอย่าง ทั้งการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกระบวนการแก้ไขชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการทำประชามติ ติดตามจากรายงาน
เชียงใหม่ 4 ธ.ค. – สนามเลือกตั้ง นายก อบจ.เชียงใหม่ ถือว่าเป็นเมืองใหญ่ของภาคเหนือ และเป็นฐานที่มั่นทางการเมืองสำคัญของพรรคเพื่อไทย การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นศึกระหว่างคนเคยคุ้นของตระกูลการเมืองใหญ่ของเชียงใหม่กับแกนนำเพื่อไทยภาคเหนือที่เคยทำงานการเมืองด้วยกันอย่างแนบแน่น แต่วันนี้การเมืองเปลี่ยนไป ทำให้ศึกเลือกตั้ง นายก อบจ.เชียงใหม่ครั้งนี้ดุเดือด และกลายเป็นศึกศักดิ์ศรีที่ยอมแพ้กันไม่ได้ ติดตามพร้อมกัน .- สำนักข่าวไทย
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่าการอาศัยบ้านหลวง ใช้น้ำ-ไฟฟรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นไปตามระเบียบของกองทัพบก ไม่ใช่การขัดกันแห่งผลประโยชน์ และไม่ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม ไม่สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี
วันพรุ่งนี้ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ชะตาว่าการเข้าอาศัยในบ้านพักทหารของนายกรัฐมนตรีหลังเกษียณราชการ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังใช้เวลาประมาณ 9 เดือน นับตั้งแต่วันแรกที่มีการยื่นเรื่องจากฝ่ายค้าน จนจะมีคำวินิจฉัย
กรุงเทพฯ 30 พ.ย. – วันพุธที่ 2 ธันวาคมนี้ ต้องจับตาศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อาศัยอยู่ในบ้านพักทหาร ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีสำคัญที่สังคมให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะมีผลต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังพ่วงไปถึงรัฐมนตรีทั้งคณะด้วย. – สำนักข่าวไทย
ศาลปกครองไม่รับคำฟ้องอดีตพนักงาน สกสค. ขอเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างพนักงาน 961 คน ชี้คำสั่งเลิกจ้าง เป็นเรื่องสภาพการจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน
หลังรัฐสภา มีมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ร่าง คือร่างที่ฝ่ายค้าน และฝ่านรัฐบาลเสนอ แต่ไม่รับหลักการร่างของไอลอว์ นักวิชาการมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร
วันพรุ่งนี้ รัฐสภาจะพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 7 ร่าง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะรับหลักการเพียงสองร่าง คือร่างของฝ่ายค้านและรัฐบาลที่ให้แก้ไขมาตรา 256 และให้ตั้ง สสร.
เปิดร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ถูกมองว่ายังไม่ทันสมัย พร้อมข้อเสนอให้ออก พ.ร.ก.ประชามติ เพื่อให้สามารถทำไปพร้อมการเลือกนายก อบจ. ทั่วประเทศ ติดตามจากรายงาน
แนวทางการตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์นั้นยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง แต่ยังคงมีความพยายามเดินสายฟังความเห็นจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็ถูกมองว่าไม่เหมาะจะมานั่งเป็นกรรมการ ขณะที่นักวิชาการมองว่ากรรมการชุดนี้อาจตั้งได้ยาก และเสนอโมเดลใหม่เป็นทางเลือกให้พิจารณา
วันนี้สถาบันพระปกเกล้าได้เสนอรูปแบบของคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ต่อประธานรัฐสภามาแล้ว 2 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีมีองค์ประกอบแตกต่างกันไป และยังได้มีการทาบทามอดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานสภาเข้าร่วมด้วย
กรรมการปรองดองสมานฉันท์ เป็นข้อเสนอจากเวทีรัฐสภาที่ดูเหมือนว่าจะมีความพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้สถาบันปกเกล้าฯ กำลังวางโครงสร้างเตรียมเสนอประธานรัฐสภาสัปดาห์หน้า และหากเกิดขึ้นได้จริงจะเท่ากับว่าคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานไปพร้อมๆ กับการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ติดตามจากรายงาน