ภาษาในม็อบ

การชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “ราษฎร” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา มีการใช้คำศัพท์ ภาษาวัยรุ่น ในการชุมนุม รวมถึงใช้ภาษาเหล่านี้ เพื่อสับขาหลอกตำรวจ ไม่ให้รู้ว่าจะชุมนุมที่ไหน แต่การชุมนุม ก็มีคนหลายวัย มาร่วมชุมนุมด้วยเช่นกัน พวกเขาทำความเข้าใจกับภาษาเหล่านี้อย่างไร

รู้เท่าทันสื่อในสถานการณ์ความขัดแย้ง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้ง สื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวต้องตรวจสอบ คัดกรองเนื้อหาตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ แต่อาจยังมีข้อจำกัดในการรายงานสถานการณ์สด ขณะที่คนรับสื่อรับจากหลายแหล่ง ต้องมีสติ แยกแยะข้อเท็จจริง ออกจากความคิดเห็นที่ถูกปรุงแต่งเพิ่มเติมลงไป

ไขข้อข้องใจ “น้ำสีฟ้า” กระชับพื้นที่ชุมนุม

การกระชับพื้นที่การชุมนุมเมื่อคืนที่ผ่านมา มีการฉีดน้ำทั้งน้ำไม่มีสีและน้ำสีฟ้า ทำให้ผู้ชุมนุมรวมทั้งตำรวจที่สัมผัสน้ำ เกิดอาการระคายเคือง แสบร้อนผิวหนัง ทำให้สงสัยว่ามีแก๊สน้ำตาอยู่ในนั้นด้วยหรือไม่ วันนี้ทีมข่าวสำนักข่าวไทยไปหาคำตอบมา ติดตามจากรายงาน

ม็อบคณะราษฎร ประชิดทำเนียบ

การชุมนุมของคณะราษฎร จุดสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออก แต่ในวันนี้ ยังมีการรวมตัวของอีกหลายกลุ่ม ในจุดต่างๆ ที่คณะราษฎรเดินขบวนผ่าน ติดตามจากรายงาน

“ข้อเรียกร้อง” ปัจจัยสู่การชุมนุมยืดเยื้อ

กรุงเทพฯ 14 ต.ค. – การชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร 2563” ในวันนี้ ซึ่งมีการชู 3 ข้อเรียกร้อง และประกาศว่าจะชุมนุมยืดเยื้อ มีมุมมองจากนักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งวิเคราะห์จากข้อเรียกร้องในครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่า แต่ละข้อเรียกร้องเกิดจากการหลอมรวมของผู้ชุมนุมหลายกลุ่ม และมองว่า การชุมนุมจะไม่จบแค่ครั้งนี้ เพราะมีหลายปัจจัยที่อาจไม่ได้รับการตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง. – สำนักข่าวไทย

ชาวปากช่องยังไม่พ้นความเดือดร้อน

สถานการณ์ในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หลายพื้นที่น้ำลดระดับเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังคงทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้ ชาวบ้านเร่งทำความสะอาดบ้านเรือน แต่ว่ายังมีบางจุดที่ชาวบ้านยังกลับเข้าไปไม่ได้ น้ำท่วมสูง เจ้าหน้าที่หลายหน่วยระดมเข้าช่วยเหลือขนย้ายข้าวของ

ชาวปากช่องยังรอการช่วยเหลือ

แม้ว่าขณะนี้ น้ำลดระดับเกือบทุกหมู่บ้าน ที่ได้รับผลกระทบในอำเภอปากช่องแล้ว แต่ว่ายังมีบางจุดที่น้ำท่วมขัง ชาวบ้านยังคงรอการช่วยเหลือ

รายงานพิเศษเรื่อง : ThailandPlusแอปพลิเคชั่นรับมือการเปิดประเทศ

กรุงเทพฯ 11 ต.ค. ทันทีที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทย หน่วยงานด้านดิจิทัลได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องมือในการรับมือกับการเฝ้าระวังและคิดตามนักท่องเที่ยวที่เข้าเข้ามาในประเทศไทย จึงได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้นมารองรับมาตรการนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist VISA (STV)  หน่วยงานทางด้านดิจิทัลของประเทศได้ร่วมกันคิดหาเครื่องมือเฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อรองรับการเปิดประเทศเตรียมความพร้อมเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวปลอด COVID-19 สร้างความมั่นใจให้ประชาชน จนทำให้เกิดThailandPlus แอปพลิเคชั่นระบุความเสี่ยง ทำหน้าที่คอยติดตามแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวและหน่วยงานภาครัฐเพื่อช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่ประเทศต้นทาง การทำงานของ ThailandPlus เริ่มจาการทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในประเทศไทยให้โหลดแอปพลิเคชั่นก่อนเข้าประเทศ เมื่อมาถึงจะให้เข้าสู่กระบวนการกักตัวตามขั้นตอนที่รัฐบาลกำหนดไว้การเดินทางของข้อมูลนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยว เริ่มจากนักท่องเที่ยวแสดงความความจำนงขอเข้าประเทศผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต้นทางจะเป็นผู้ให้ข้อมูลในการติดตั้งแอปพลิเคชัน ThailandPlus เมื่อเดินทางมาถึงด่านคัดกรองตรวจควบคุมโรค จะตรวจสอบการลงแอปพลิเคชันและแจ้งให้ทราบว่านักท่องเที่ยวต้องใช้แอปพลิเคชัน ThailandPlusเมื่อนักท่องเที่ยวออกจากสถานที่กักตัวแล้ว ตลอดระยะเวลาการท่องเที่ยวในประเทศ แอปพลิเคชั่นจะรายงานข้อมูลที่อยู่และที่ไปของนักท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยี GPS ในการติดตามตำแหน่งของนักท่องเที่ยว ThailandPlus ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย จะว่าไปคล้ายกับแอปพลิเคชั่นที่เคยออกแบบมมาใช้กับนักท่องเที่ยวตอนที่โควิด-19 ระบาดใหม่ๆ โดยThailandPlus ได้รับการออกแบบให้สมบรูณ์แบบมากกว่า แอปพลิเคชั่นยังออกแบบให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่จะใช้งานในอนาคตเช่น สายรัดข้อมือ (wristband) อัจฉริยะ ที่จะทำงานร่วมกับสมาร์ทซิตี้อย่าง ภูเก็ต หรือ เชียงใหม่ ในอนาคต      กุญแจสำคัญที่จะทำให้ระบบเฝ้าระวังประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับ การปฎิบัติ ของนักเที่ยว และหน่วยงานที่ดูแล  หน่วยงานที่รับผิดชอบอาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจ กระทรวงการต่างประเทศโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ ทำหน้าที่ทำความเข้าใจการติดตั้งและการใช้งานแอปให้กับนักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำหน้าที่ตรวจสอบการติดตั้งและเปิดใช้งานแอปในมือถือของผู้เดินทางกรมควบคุมโรคบริหารจัดการศูนย์ติดตามและประสานงานการแพร่ระบาดของโควิด-19 แอป ThailandPlus เป็นแอปที่ใช้งานง่ายเมื่อนักท่องเที่ยวดาวน์โหลดแล้วก็สามารถลงทะเบียนโดยกรอก Certificate of Entry (COE) ตามเอกสารและหมายเลข Passport เพียงเท่านี้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้ท่องเที่ยวประเทศไทยได้อย่างสบายใจทั้งผู้มาเยือนแล้วเจ้าบ้านที่คอยให้การต้อนรับได้แล้ว “เราประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ให้ขยายวงกว้างเพราะความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ ThailandPlus  เป็นเครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังชาวต่างชาติเพื่อใช้ตรวจสอบและประเมินระดับความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 จากสถานที่ต่าง ๆ โดยเน้นถึงเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ”นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ประเด็นสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกับชาวต่างประเทศ เมื่อใช้งานแอปพลิเคชั่นแล้วย่อมหมายถึงการยอมให้หน่วยงานภาครัฐของไทยเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องละเอียดอ่อนของโลกยุคปัจจุบัน เรื่องนี้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกนโยบายความเป็นส่วนตัวให้สอดคล้องถูกต้องเป็นไปตามพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศและตำรวจท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อทำความเข้าใจและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว-สำนักข่าวไทย.

“ลานีญา” ไทยเจอฝนยาวถึง พ.ย.

สภาพฟ้าฝนช่วงนี้ยังต้องระวัง เบื้องต้นคาดยาวไปจนถึงวันที่15 ต.ค.นี้ โดยนักวิชาการด้านภัยพิบัติเตือนวันพรุ่งนี้ชาวปากช่องต้องพร้อมรับมือฝนที่จะตกหนักตั้งแต่ช่วงเที่ยง ซึ่งตอนนี้หลายตำบลเกิดน้ำท่วม รวมถึงประเมินฝนปีนี้ยาวไปถึงเดือนพฤศจิกายน

เห็นพ้องปฏิรูประบบงานสอบสวนอัยการ

ประเทศไทย ยังมีอีกหลายคดี ที่สร้างความเคลือบแคลงสงสัยในกระบวนการยุติธรรม และต้นทางเกิดขึ้นในชั้นรวบรวมพยานหลักฐาน ก่อนสรุปสำนวนให้อัยการ ซึ่งอัยการเห็นว่าหากมีการบิดเบือนหรือทำลายพยานหลักฐาน อาจทำให้อัยการตกเป็นเครื่องมือในการสั่งคดี และมีการเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปการทำงานของอัยการ

ค้นหาความจริงขบวนการค้าสัตว์ป่า

สำนักข่าวไทยได้ข้อมูลจากนายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ถึงมีขบวนการลักลอบนำสัตว์ส่งขายให้กับสวนสัตว์เอกชนอยู่ในต่างประเทศ

ก่อนสักต้องรู้

จากดราม่าสักพญานาคกลายเป็นงูเขียวโด่งดังในโซเชียล กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ได้ออกมาเตือนผู้ที่นิยมสักผิวหนัง อาจมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อ หรือเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้ พร้อมแนะการปฏิบัติตนให้ถูกวิธี

1 22 23 24 25 26 32
...