เกษตรกรยโสธรปลูกเมลอนขายออนไลน์ รายได้วันละ 3 พันบาท

เกษตรกรยโสธรปลูกเมลอนพันธุ์กาเลียและพันธุ์ปริ๊นเซสในโรงเรือน ให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด เปิดขายบนโลกออนไลน์ กก.ละ 100 บาท สร้างรายได้เฉลี่ยวันละ 2,000-3,000 บาท

เทศกาลผลไม้และของดีเกาะช้างคึกคัก-ประมูลทุเรียนชะนีเกาะช้างสูงสุด 19,900 บาท

งานเทศกาลผลไม้และของดีเกาะช้าง จ.ตราด คึกคัก ยอดประมูลทุเรียนชะนีเกาะช้างที่ชนะการประกวดราคาสูงสุด 19,900 บาท

เกษตรสร้างชาติ : ปลูกผักปลอดสารพื้นที่ว่างหน้าบ้าน

เกษตรสร้างชาติ วันนี้พาไปที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด พาไปรู้จักเกษตรกรรายหนึ่งใช้พื้นที่หน้าบ้านปลูกผักสวนครัวปลอดสารส่งขาย สร้างรายได้งาม และยังขุดบ่อเลี้ยงปลาด้วย

เกษตรกรพิจิตรแปรรูปมะม่วงพิมเสนเป็นส้มแผ่น สร้างรายได้หลักล้านบาท

เกษตรกร ต.หอไกร อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร นำมะม่วงพิมเสนมาแปรรูปเป็นส้มลิ้มหรือมะม่วงแผ่น จำหน่ายทั้งในเขต จ.พิจิตร และจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ สร้างรายได้หลักล้านบาท

ชาวบ้านยโสธรเลี้ยงกบพันธุ์ผสมในบ่อดิน ส่งขายช่วงหน้าแล้งสร้างรายได้

ชาวบ้านกุดกุง ต.กุดกุง จ.ยโสธร เลี้ยงกบพันธุ์ผสมในบ่อดิน ส่งขายช่วงหน้าแล้ง ราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

เกษตรสร้างชาติ : โครงการจัดที่ทำกินให้เกษตรกร

ก.เกษตรฯ นำที่ดิน ส.ป.ก. มาจัดสรรให้เกษตรกรใน จ.อุทัยธานี ซึ่งยากไร้ ได้มีที่ดินทำกิน ส่งเสริมการทำเกษตรด้านต่างๆ และให้กรมชลประทานทำระบบน้ำส่งถึงแปลงเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี

เกษตรกรบุรีรัมย์ปลูกดาวเรืองระบบน้ำหยด รับเดือนละแสน

เกษตรกรบุรีรัมย์พลิกวิกฤติภัยแล้งและราคาข้าวที่ตกต่ำด้วยการปรับผืนนาปลูกดอกดาวเรืองระบบน้ำหยด สร้างรายได้เดือนละแสนบาท

เกษตรสร้างชาติ : ทุเรียนชุมพรได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ

เกษตรสร้างชาติวันนี้จะพาไปดูทุเรียนภาคใต้ที่ จ.ชุมพร ซึ่งได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พาณิชย์เตรียมมาตรการผลักดันราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น

นนทบุรี 25 เม.ย. – อธิบดีกรมการค้าภายในเตรียมแผนรับมือปริมาณ-ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยอมรับสินค้าเกษตรปีนี้อาจมีปัญหาบ้าง พร้อมกำหนดมาตรการรองรับผลักดันราคาให้สูงขึ้น นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรใกล้ชิด โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณ 4.61 ล้านตันต่อปี ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นมาทดแทน เช่น ข้าวสาลี และกากข้าวโพดจากการผลิตเอทานอล (DDGS) เพื่อให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์มีวัตถุดิบเพียงพอในราคาต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบครึ่งหนึ่งปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ ผู้ผลิตอาหารสัตว์หลายรายไม่รับซื้อ เนื่องจากจะเป็นปัญหาในการส่งออกปศุสัตว์ เพราะประเทศผู้ซื้อกำหนด เรื่อง การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นข้อแม้ในการซื้อด้วย กระทรวงพาณิชย์จึงเสนอแนวทางบริหารจัดการการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยใช้มาตรการกำหนดอัตราส่วนการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วนต่อการรับซื้อข้าวโพด 3 ส่วน มีผลตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2560  ทั้งนี้ การที่มีผู้เสนอให้ระงับการนำเข้าข้าวสาลีนั้น  ไม่อาจดำเนินการได้ เนื่องจากจะขัดกับพันธกรณีของไทยภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จึงต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง โดยการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรจะจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางในรูปฝัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถแปรรูปและปรับปรุงคุณภาพหรือขนส่งไปถึงโรงงาน ซึ่งอาจอยู่ห่างไกล จึงต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพจากพ่อค้าคนกลางก่อนส่งให้โรงงานอาหารสัตว์ กรมการค้าภายในจึงเชื่อมโยงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร โดยขอความร่วมมือสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ […]

เกษตรสร้างชาติ : เลี้ยงโคขุนครบวงจร

ที่ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี มีฟาร์มโคขุนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มจากกรมปศุสัตว์ และมีโรงชำแหละที่ได้มาตรฐานสากล เนื้อที่ผลิตได้จึงมีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของทั้งตลาดในและต่างประเทศ

1 453 454 455 456 457 482
...