ธ.ก.ส.เติมทุนกว่า 3,000 ล้านบาท หนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ลดต้นทุนการผลิต

กรุงเทพฯ 15 ก.ค. – ธ.ก.ส.เติมทุนกว่า 3,000 ล้านบาท หนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันในตลาด ผ่านโครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเล รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท ชำระคืนภายใน 10 ปี ดอกเบี้ย MRR / MLR ตามประเภทลูกค้า เพื่อเสริมสภาพคล่องในการลงทุน ทั้งการผลิตและส่งออกกุ้งให้กับเกษตรกร ช่วยลดปัญหาการก่อหนี้นอกระบบที่เป็นภาระหนัก


นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เนื่องด้วยต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านอาหาร พลังงาน และปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล ทำให้การผลิตและส่งออกกุ้ง ทั้งขนาดและปริมาณไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด จากปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงวางนโยบายในการแก้ไขปัญหาในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วย และลดต้นทุนการผลิต ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างฟาร์ม เป็นต้น ธ.ก.ส. จึงได้ขยายโครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ปี 2564 (เพิ่มเติม) เพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งให้เข้าถึงเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ป้องกันการก่อหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างไม่เป็นธรรม อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพและการแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตอื่น

สำหรับเงื่อนไขผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นเกษตรกรหรือนิติบุคคลผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่จังหวัดที่เหมาะสมในการเลี้ยงกุ้งทะเล 35 จังหวัด โดยการลงทุนลดต้นทุนการผลิต เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ระบบควบคุมเครื่องเติมอากาศอัจฉริยะ (Smart Energy) การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยประหยัดพลังงานสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล หรือการปรับปรุงโครงสร้างฟาร์มหรือบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล โดยจำกัดวงเงินรายละไม่เกิน 3 ล้านบาท วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้รายคน MRR ต่อปี และสำหรับผู้กู้นิติบุคคล MLR ต่อปี โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ MRR – 3 หรือ MLR – 3 ตามประเภทของผู้กู้ (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี และ MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี) และกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชดเชยดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี กำหนดการชำระคืนภายใน 10 ปี นับจากวันที่ทำสัญญา ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อตั้งแต่บัดนี้ถึง 20 พฤษภาคม 2569 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 12 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมที่ Call Center 02 555 0555. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ก.อุตฯ เตรียมส่งตรวจเหล็กตึก สตง. เพิ่ม 21 เม.ย.

ก.อุตสาหกรรม กางผลตรวจเหล็กตึก สตง.ถล่ม รอบแรก ก่อนส่งตรวจเพิ่มอีก 40 ท่อน 21 เม.ย. ย้ำผิดคือผิด! ผู้ผลิต-จนท.มีเอี่ยว เตรียมปิดเทอม

พายุฝนพัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี ทับโรงครัววัดพังราบ

พายุฝนลมกระโชกแรง ซัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี วัดนางเหลียว ล้มทับโรงครัวพังเสียหาย ชาวบ้านในงานศพตื่นตระหนก วิ่งหนีกระเจิง

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง.ถล่ม เข้าสู่วันที่ 24 เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง