กระทรวงการคลัง 23 ก.ย.-กลุ่มสหภาพแรงงานยาสูบและตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบรวมตัวยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีคลังค้านขึ้นภาษีบุหรี่ หลังกระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามให้คลังและกรมสรรพสามิตปรับเพิ่มภาษีบุหรี่ในประเทศอีกครั้ง ย้ำตลอด 4 ปีที่ขึ้นภาษีบุหรี่ในประเทศไม่ได้ทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง แม้ภาครัฐจะจูงใจให้เกษตรกรยาสูบหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนก็ตาม
นายสุเทพ ทิมศิลป์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยาสูบ สรย กล่าวว่า ในช่วงบ่ายวันนี้สหภาพยาสูบ – ชาวไร่ยาสูบกว่า 50 คน ได้ยื่นหนังสือรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอธิบดีกรมสรรพสามิต โดยมีตัวแทนข้าราชกระทรวงการคลังมารับหนังสือดังกล่าว เพื่อคัดค้านข้อเสนอเครือข่ายสุขภาพให้ขึ้นราคาบุหรี่ 8-10 บาทต่อซอง ที่คาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพอจารณาเห็นชอบในสัปดาห์หน้าเพื่อหวังลดปริมาณคนสูบบุหรี่ให้น้อยลง แต่หากจะขึ้นตามข้อเสนอที่ทางกระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามให้กระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิตต่อไปอีก 4 ปี ก็เชื่อว่าจะเป็นการซ้ำเติมให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องไปจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบภายในประเทศจะได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
“จากอัตราภาษีบุหรี่ที่ปรับขึ้น 8-10 บาท เป็นราคาขั้นต่ำ 68-70 บาทต่อ ซองเมื่อปี 2560 สทพยายามปรับตัวมาโดยตลอด เพราะต้องขายสินค้าแข่งกับแบรนด์ของผู้นำเข้าจาก ต่างประเทศที่มีราคาเท่ากัน และบุหรี่เถื่อนที่ราคาต่ำกว่ามาก แม้ อสท. จะยังพอมีกำไรอยู่บ้าง แต่เงินรายได้ที่ต้องส่งรัฐ 88% หายไปกว่า 3.4 หมื่นล้านบาท เพราะไม่ได้นำส่งมา 4 ปีแล้ว หากกรมสรรพสามิต ข้อเสนอแนะการขึ้นภาษีบุหรี่จากเครือข่าย สุขภาพมาใช้จริง ไม่ใช่แค่รายได้ส่งรัฐจะหายไปอีก แต่ สท. ก็คงจะหายไปด้วย พนักงาน บสทกว่า 2 พันครอบครัวคงต้อง กลายเป็นภาระสังคม แม้ว่าตลอด 4 ปี ภาครัฐแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบหันไปปลูกพืชชนิดอื่นๆทดแทนใบยาสูบ แต่โดยข้อเท็จจริงพืชชนิดอื่นมีราคาที่ไม่ดี ไม่คุ้มทุนที่จะปลูก ทำให้เกษตรกรไม่สนใจที่จะปลูกพืชชนิดอื่นๆเท่าที่ควร จึงอยากให้ภาครัฐมองถึงข้อเท็จจริงมากกว่า”นายสุเทพ
อย่างไรก็ตาม ดังนั้น ไม่อยากให้กระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิตผิดสัญญาจนต้องยอมกลืนจุดยืนของตัวเองที่เคยบอกว่า อยากให้ บรรลุวัตถุประสงค์ 4 เรื่องทั้งแก้ปัญหาชาวไร่ รายได้ บุหรี่เถื่อน และสาธารณสุข แต่พอเอาจริงเสียท่าให้กับหมอและเอ็นจีโอฝั่ง สุขภาพ อยากให้เห็นใจคนในอุตสาหกรรมที่ยังต้องทํางาน ทำไร่ ส่งเสียครอบครัวเลี้ยงชีพบ้าง
นายกิตติทัศน์ ผาทอง ตัวแทนภาคีชาวไร่ยาสูบแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “พวกเราชาวไร่ยาสูบทั้งสามสายพันธุ์ ยอมเสี่ยงกับโควิดมายื่นหนังสือถึง รมว.คลัง และกรมสรรพสามิต เพื่อคัดค้านการเก็บภาษีที่สูงเกินไป จนทำให้ราคาบุหรี่ ปรับตัวขึ้นสูงมาก ที่ผ่านมาชาวไร่ยาสูบได้รับผลกระทบมาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐเท่าที่ควร เรื่อง เงินชดเชย 160 ล้าน รัฐเคยรับปากว่าจะให้ พวกเราก็ยังต้องติดตามทวงถามมา ปีแล้ว การขึ้นภาษีสรรพสามิตสูงขนาดนั้น กระทบกับปากท้องชาวไร่กว่า 30,000 ครอบครัวและจะทำให้เราถูกตัดโควตาปลูกยาสูบเพิ่มไปอีก ซึ่งกระทบรายได้ของเราซึ่ง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30,000 ต่อไร่ ที่ผ่านมาเม็ดเงินรายได้ของชาวไร่หายไปกว่า 900 ล้านบาทตลอด 4 ปี ภาษีที่สูงขนาดนั้น ยิ่งช้าเติมความเดือดร้อนของชาวไร่ยาสูบ
นายสงกรานต์ ภักดีจิตร นายกสมาคมชาวไร่ยาสูบ จ.เพชรบูรณ์และอีกหนึ่งตัวแทนภาคีชาวไร่ฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กรมสรรพสามิตแจ้งว่า การขึ้นภาษีจะพิจารณาอย่างดีไม่ให้เดือดร้อนชาวไร่ยาสูบ พวกเราก็อยากขอให้กรมสรรพสามิตและ รมว.ขีดมั่นในหลักการที่จะไม่ทําร้ายชาวไร่ยาสูบ และ ชสท. หากกรมสรรพสามิตยอมตามแรงกดดันของเอ็นจีโอแล้ว เท่ากับว่าไม่สามารถพึ่งพากรมสรรพสามิตได้อีกต่อไป.-สำนักข่าวไทย