EXIM BANK ยังห่วงปัญหาโควิดกระทบส่งออก

กรุงเทพ 27 ม.ค. – “พิศิษฐ์” ฝากเอ็มดี EXIM BANK คนใหม่ ดูแลผู้ส่งออก เอสเอ็มอี หลังผลักการเติบโตก้าวกระโดดในรอบ 5 ปี จากปรับองค์กรครั้งใหญ่ ก้าวสู่ผู้นำ ‘องค์กรการเงินเพื่อการส่งออก’ ระดับโลก ยอมรับไวรัสโควิด กระทบส่งออกทรุด หลังเศรษฐกิจโลกต่ำสุดในรอบ 90 ปี


นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แถลงในโอกาสครบวาระดำรงตำแหน่งสิ้นเดือนมกราคม 64 ว่า ฝากการบริหารองค์กรให้นายรักษ์ วรกิจโภคาทร ซึ่งได้รับการสรรหาเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ เพื่อสานต่อภาระกิจดูแลผู้ส่งออก เอสเอ็มอี การบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ท่ามกลางปัญหาไวรัสโควิด ธุรกิจด้านประกันความเสี่ยงจึงมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้ส่งออก และเอสเอ็มอี หลังจากธนาคารโลกยอมรับว่า เศรษฐกิจโลกมีปัญหาตกต่ำสุดในรอบ 90 ปี หลังจากปี 63 คาดการณ์ว่า GDP โลกติดลบร้อยละ -4.3 การค้าโลกติดลบร้อยละ 10 จากนั้น ในปี 64 คาดการณ์ว่า GDP โลกกลับมาขยายตัวร้อยละ 4 การค้าโลกขยายตัวร้อยละ 5

โดยมีปัจจัยบวกสนับสนุนจากทุกประเทศต่างทุ่มเงินสูงมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประธานาธิบดีสหรัฐมีนโยบายผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การเร่งรัดจัดหาวัคซีนเพื่อป้องกันแพร่ระบาดของตนเอง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน จึงทำให้อุตสาหกรรมภาคการผลิต จะฟื้นตัวเร็วกว่าภาคบริการ เช่น ด้านการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวยังเดินทางไปมา ไม่สะดวก โดยยังมีปัจจัยความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ ปัญหาไวรัสโควิดกลายพันธ์ ข้อจำกัดจากปัญหาหนี้สาธารณะของหลายประเทศเพิ่มสูงมาก สภาพคล่องของภาคเอกชนทั่วโลกยังมีปัญหา หลังจากการส่งออกติดลบร้อยละ -6.6 และ GDP ขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 63 จากนั้นในปี 64 คาดว่า ขยายตัวร้อยละ 2.5-3 ขณะที่ ธปท.คาดว่าขยายตัวร้อยละ 5.7


ในส่วนของ EXIM BANK หลังจากได้ปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่ รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก และผลกระทบ จากไวรัสโควิด-19 ทำให้ เติบโตอย่างก้าวกระโดดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ผ่านการส่งเสริมค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดใหม่ (New Frontiers) ทั้งในและนอกอาเซียน ในรอบ 2558-2563 ยอดสินเชื่อคงค้างขยายตัวร้อยละ 84 จาก 73,540 ล้านบาท เพิ่มเป็น 135,228 ล้านบาท (เติบโตเฉลี่ย 13% ต่อปี) ยอดสินเชื่อคงค้างในกลุ่ม New Frontiers (รวมกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือ CLMV) ขยายตัวร้อยละ 53% จาก 26,022 ล้านบาท เป็น 39,754 ล้านบาท (เฉลี่ย 9% ต่อปี)

สำหรับการป้องกันความเสี่ยงด้านการค้าและการลงทุนไทยในต่างประเทศ EXIM BANK ขยายบริการประกันการส่งออกและการลงทุน รวมทั้งบริการวิเคราะห์ความเสี่ยงผู้ซื้อและธนาคารผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย จากปัญหาไวรัสโควิด ปัจจุบันผู้นำเข้าในต่างประเทศอาจชำระเงินล่าช้าหรือประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ โดยปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกันเพิ่มขึ้น 105% จาก 66,018 ล้านบาทในปี 2558 เพิ่มเป็น 135,071 ล้านบาทในปี 2563 (เฉลี่ย 15% ต่อปี) และเมื่อเทียบกับปี 2562 เพิ่มขึ้น 13,699 ล้านบาท หรือ 11% ธุรกิจประกันความเสี่ยง จึงมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต ท่ามกลางปัญหาไวรัสโควิด

นอกจากนี้ EXIM BANK ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าและผู้ประกอบการทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะ SMEs โดยการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดนาน 6 เดือนตั้งแต่ต้นปี 2563 และได้ออกมาตรการฟื้นฟูกิจการลูกค้าที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจากผลกระทบของโควิด-19 ตามความต้องการของกิจการ รวมทั้งเปิดคลินิกให้คำปรึกษา อบรมสัมมนาและจับคู่ธุรกิจทางออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการจำนวน 6,400 ราย วงเงินรวมประมาณ 55,000 ล้านบาท


ปี 2564 EXIM BANK ยังคงเดินหน้าสนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงมุ่งเน้นสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นและขยายธุรกิจได้ สำหรับการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 EXIM BANK ยังคงช่วยเหลือลูกค้าฟื้นฟูกิจการตามสภาพคล่องของธุรกิจ และออกมาตรการพักชำระหนี้ “เงินต้น-ดอกเบี้ย” ในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง รวมทั้งขยายระยะเวลาอนุมัติมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว

นายพิศิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการช่วยเหลือสายการบินต้นทุนต่ำตามนโยบายของรัฐบาล บอร์ด EXIM BANK เตรียมพิจารณาในวันพรุ่งนี้ เพื่อนำเงื่อนไขเดิมมาปรับปรุงเพิ่มเติม กำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นในการช่วยเหลือ คือ หากสายการบินใด มีค่าใช้จ่ายในการดูแล ช่วยเหลือพนักงาน ให้นำวงเงินดังกล่าวขอกู้ได้ในวงเงินเท่ากันกับการช่วยเหลือพนักงาน ด้วยอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เน้นสายการบินจดทะเบียนในประเทศของคนไทย โดยสายการบินแอร์เอเชียยังเข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือ เพราะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯไทย รายละเอียดทั้งหมด ต้องเสนอให้กระทรวงคลังพิจารณาเพิ่มเติม . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า