ศบศ.รับทราบความคืบหน้า 5 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทำเนียบฯ 7 ต.ค. – ศบศ.รับทราบความคืบหน้า 5 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากผลกระทบโควิด-19


นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) รับทราบความคืบหน้ามาตรการเศรษฐกิจสำคัญ 5 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการที่ 1 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกอบด้วย 3 ระยะที่สำคัญ ดังนี้ 1. การเยียวยาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย SMEs Corporate ได้แก่ ลูกหนี้รายย่อย รวมมูลค่า 3.84 ล้านล้านบาท จำนวน 10.97 ล้านบัญชี ลูกหนี้ SMEs รวมมูลค่า 2.14 ล้านล้านบาท จำนวน 1.12 ล้านบัญชี และลูกหนี้ corporates รวมมูลค่า 0.92 ล้านล้านบาท จำนวน 37,114 บัญชี 2. สถาบันการเงินติดตามดูแลลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ติดต่อลูกหนี้ไปเยี่ยมกิจการ เพื่อประเมินผลกระทบรวมทั้งจัดทำช่องทางให้ลูกหนี้แจ้งสถานะและความประสงค์ในการรับความช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นต้น และ 3. การเตรียมมาตรการรองรับการฟื้นตัวของธุรกิจในระยะต่อไป โดยลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายรายสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ DR BIZ ซึ่งเป็นระบบ one stop service ให้ลูกหนี้ได้ติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อแก้ไขหนี้เดิม และมีโอกาสได้สินเชื่อใหม่

 มาตรการที่ 2 มาตรการด้านแรงงาน ผลการดำเนินงานมาตรการด้านแรงงานล้านงานเพื่อล้านคนประกอบด้วย 1. งาน Job Expo Thailand 2020 ล้านงานเพื่อล้านคน ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค มีตำแหน่งงานที่รองรับรวมทั้งสิ้น 1,495,225 อัตรา โดยมีสถานประกอบการที่มาออกบูธ 501 แห่ง มีตำแหน่งงาน 100,012 งาน ผู้สมัครงาน 143,066 ครั้ง และมีการจับคู่ระหว่างตำแหน่งงานและผู้สมัครงาน 57,226 อัตรา 2.เว็บไซต์ไทยมีงาน ข้อมูล ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2563 มีตำแหน่งงาน 733,633 อัตรา ผู้สมัครงาน 112,806 ครั้ง และมีการจับคู่ระหว่างตำแหน่งงานและผู้สมัครงานทั้งสิ้น 45,112 อัตรา และสำหรับมาตรการอุดหนุนการจ้างงานเด็กจบใหม่ มีตำแหน่งงานทั้งสิ้น 74,351 อัตรา มีผู้สมัครงานทั้งสิ้น 39,033 คน และมีการจับคู่ระหว่างตำแหน่งงานและผู้สมัครได้ทั้งสิ้น 31,876 อัตรา ทั้งนี้ รวมทุกมาตรการสามารถจับคู่ตำแหน่งงานได้ทั้งสิ้น 134,214 อัตรา


มาตรการที่ 3 มาตรการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart visa) โดยมีความคืบหน้าการปรับปรุงมาตรการ Smart Visa ที่สำคัญ ดังนี้ 1. ปรับปรุงขอบเขตอุตสาหกรรมเป้าหมายให้กว้างขึ้น ไม่จำกัดอยู่ในอุตสาหกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการพัฒนาและบริหารกิจการที่เกี่ยวข้องกับ Startup Ecosystem และนวัตกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาอื่นนอกเหนือจากด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. เพิ่มเติมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ไม่มีสัญญาจ้างงานในประเทศ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. ผ่อนคลายหลักเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงบางกลุ่มในธุรกิจวิสาหกิจและขนาดย่อม (SMEs) และผ่อนปรนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษาของผู้บริหารระดับสูง และ 4. การอนุญาตให้ผู้ถือ Smart Visa ทำงานนอกเหนือจากที่ได้รับการรับรองได้ในบางกรณี โดยให้สามารถทำงานในกิจการอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการหรือความเชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองได้อาทิ กิจการในเครือกิจการที่มีความเชื่อมโยงหรือสนับสนุน เป็นต้น

มาตรการที่ 4 โครงการคนละครึ่ง เสนอโดยกระทรวงการคลังความคืบหน้าล่าสุดของการลงทะเบียนร้านค้าโครงการคนละครึ่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1-6 ตุลาคม 2563 1. กิจการลงทะเบียนรวมทั้งหมด 210,010 ร้าน แบ่งเป็น กิจการที่ลงทะเบียนสำเร็จ 152,795 ร้าน กิจการที่รอดำเนินการตรวจสอบ 56,465 ร้าน และกิจการไม่เข้าข่ายเงื่อนไขของโครงการ 750 ร้าน 2. กิจการที่ลงทะเบียนสำเร็จ แบ่งออกเป็นกิจการที่มีหน้าร้าน 127,852 ร้าน และหาบเร่และแผงลอย 24,943 ร้าน 3. ประเภทของกิจการที่ลงทะเบียนสำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารและเครื่องดื่ม 90,052 ร้าน ส่วนร้านธงฟ้า 41,331 ร้าน ร้าน OTOP  4,991 ร้าน และร้านค้าทั่วไป 16,421 ร้าน และ 4. กิจการที่ลงทะเบียนส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง 73,092 ร้าน คิดเป็น 34.8% รองลงมาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 73,092 ร้าน คิดเป็น 25% และภาคใต้ 37,229 ร้าน คิดเป็น 17.7% โดยในรายจังหวัดนั้นพบว่า กิจการที่ลงทะเบียนส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ รองลงมาอยู่ในเชียงใหม่ และสงขลา

และมาตรการที่ 5 มาตรการด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1. โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2563 มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 5.27 ล้านคน และมีผู้ใช้สิทธิแล้ว 1,406,808 คืน และมีสัดส่วนจากรัฐสนับสนุน 1,537.2 ล้านบาท สำหรับมูลค่ายอดใช้จ่าย E-Voucher รวมทั้งหมด 916.4 ล้านบาท มีสัดส่วนจากรัฐสนับสนุน 345.7 ล้านบาท ขณะที่ตั๋วเครื่องบินมีผู้ใช้สิทธิแล้ว 51,753 สิทธิ ซึ่งมีสัดส่วนรัฐสนับสนุน 43.9 ล้านบาท สำหรับมูลค่ายอดใช้จ่ายภายใต้โครงการนี้ รวมทั้งหมด 5,096.5 ล้านบาท แบ่งเป็น ยอดมูลค่าโรงแรมที่พักจำนวน 4,049.7 ล้านบาท E-Voucher 916.4 ล้านบาท และสายการบิน 130 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยว 3,169.7 ล้านบาท และจากรัฐบาล 1,926.8 ล้านบาท


2. โครงการกำลังใจ มีบริษัทนำเที่ยวเข้าร่วม จำนวน 3,959 บริษัท นักท่องเที่ยวเข้าร่วม 379,771 คน และมีสัดส่วนรัฐสนับสนุน 759,542,000 บาท 3. แนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist VISA (STV) ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่แจ้งความประสงค์เดินทางเข้าประเทศไทยภายใต้ STV จากภูมิภาคต่าง ๆ รวม คน แบ่งเป็น นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก  924 คน ภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ 229 คน ภูมิภาคยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง 462 คน ขณะที่มีนักท่องเที่ยวซึ่งสอบถามจำนวนเบื้องต้นจากภูมิภาคยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง 500 คน และจากภูมิภาคอเมริกา 69 คน โดยในปัจจุบันมี 5 จังหวัดที่สามารถรองรับการกักตัวได้ ซึ่งแบ่งเป็น โรงแรมในกรุงเทพมหานครที่ผ่านการตรวจประเมิน Alternative State Quarantine (ASQ) 84 แห่ง และโรงแรมในชลบุรี บุรีรัมย์ ภูเก็ต และปราจีนบุรีที่ผ่านการตรวจประเมิน Alternative Local Quarantine (ALQ) 11 แห่ง

4. โครงการ Thailand Elite Member Quarantine (TEMQ) ซึ่งมีจำนวนสมาชิกที่อยู่นอกประเทศไทยประมาณ 7,000 คน นั้น พบว่ามีสมาชิกที่ตอบรับโครงการ TEMQ และนำส่งกระทรวงต่างประเทศผ่าน ททท. แล้ว จำนวน 448 คน สมาชิกที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงต่างประเทศแล้ว 304 คน สมาชิกที่ได้รับ COE และเที่ยวบินจำนวน 49 คน สมาชิกที่เดินทางถึงประเทศไทยแล้วและอยู่ในระหว่างการกักตัว 35 คน และสมาชิกที่เสร็จสิ้นการกักตัวในเดือนก.ย.ทั้งสิ้น 14 คน

และ 5. โครงการกระตุ้นการเดินทาง Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ โดยเชิญชวนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ องค์กร และหน่วยงาน ร่วมซื้อแพคเกจในโครงการพร้อมสิทธิพิเศษอื่น ๆ มากมาย ทั้งนี้หน่วยงานเข้าร่วมโครงการจะได้รับของรางวัล Certificate และโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ ที่ประชุม ศบศ.รับทราบข้อเสนอมาตรการเศรษฐกิจรายสาขาจากภาคเอกชน ประกอบด้วยข้อเสนอมาตรการเศรษฐกิจในภาพรวม 6 ด้าน ซึ่งหลายมาตรการรัฐบาลได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้ว ประกอบด้วย 1. เพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ 2. ลดต้นทุนและภาระค่าใช้จ่าย 3. กระตุ้นตลาดและการใช้จ่ายของผู้บริโภค 4. รักษาการจ้างงานและยกระดับฝีมือแรงงาน  5. กระตุ้นการลงทุนของนักลงทุนไทยและต่างชาติ และ 6. ลดอุปสรรคจากการดำเนินงานภาครัฐ . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

จุดเทียนรำลึก 20 ปี สึนามิ

ค่ำคืนนี้ ที่อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สว่างไสวจากแสงเทียนนับพันเล่มที่ถูกจุดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่รักซึ่งจากไปในเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบ 20 ปีเต็ม

สอบแล้ว 5 ปาก คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์

ผบช.ภ.2 เผย สอบแล้ว 5 ปาก พยานสำคัญ คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์ พร้อมไล่ไทม์ไลน์ เปิดผลชันสูตรเบื้องต้นหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ส่งชิ้นเนื้อ สารคัดหลั่ง เลือด และเศษอาหารในกระเพาะตรวจแล็บ หาสาเหตุที่แท้จริง

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการ ปชช.เดินทางช่วงปีใหม่

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยไม่แจ้งล่วงหน้า กำชับ บขส. อำนวยความสะดวกเตรียมพร้อมรถ สั่งเข้มตรวจแอลกอฮอล์-ยาเสพติดพนักงานขับรถ ป้องกันอุบัติเหตุ