เชียงใหม่ 28 ส.ค. – ปตท.ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญไปแนะนำให้ความรู้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนภาคเหนือ
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญไปแนะนำให้ความรู้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนภาคเหนือที่หอประชุมองค์การบริหารส่วน ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยมีวิสาหกิจชุมชนสินค้าโอทอปจากหลายจังหวัดทั้งที่เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย และตาก ได้เรียนรู้และพัฒนารูปแบบสินค้าทั้งการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย แนะนำตัวอย่างธุรกิจในยุคดิจิทัล การเปิดร้านค้าออนไลน์บนเฟซบุ๊ก การสร้างคอนเทนต์บนเฟซบุ๊ก เทคนิคการถ่ายภาพสินค้าให้สวย เพื่อโพสต์ขายสินค้าให้โดนใจผู้ซื้อบนเฟซบุ๊ก การสื่อสารกับลูกค้า ผ่านเฟซบุ๊กและแมทเซนเจอร์ เทคนิคการออกแบบโฆษณา สำหรับเฟชบุ๊ก และวิธีการแพ็ค ห่อ ส่ง ให้เหมาะกับสินค้า
กิจกรรมครั้งนี้มาจากผลกระทบจากโควิด-19 พื้นที่การตลาดปิด ทำให้ชุมชนไม่สามารถเข้าไปขายสินค้าได้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงต้องการช่วยเครือข่ายชุมชนวิถีพอเพียงของ ปตท. สร้างช่องทางการตลาดออนไลน์เป็นของตนเองจะทำให้มีคู่ค้าจากทั่วประเทศ รู้ว่ามีผลผลิตจะทำให้ค้าขายได้ดียิ่งขึ้น ไม่ต้องรอขายเฉพาะในพื้นที่ เช่น พื้นที่ ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ จะมีชาสมุนไพร ลูกประคบ จ.ตาก จะมีปลาส้ม ที่ต ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน จ.เชียงราย จะมีข้าวเหนียวเขี้ยวงู
นายสราวุธ วงศ์กาวิล ผู้ประกอบการสินค้าอินทรีย์และออแกร์นิก ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ บอกว่า ทางกลุ่มทำกันมานานแล้ว ช่องทางการขายก็จะมีแต่ในพื้นที่ตามตลาดสดทั่วไปและฝากขายตามร้านค้า และคนรู้จักก็จะไม่มีความแน่นอนของผู้บริโภคที่จะซื้อ และการเข้าถึงลูกค้ายุคนี้ ยิ่งเป็นวัยรุ่นจะเป็นโซเซียล การจัดอบรมแบบนี้ เป็นเรื่องที่ดีที่สอนให้มีการค้าแบบออนไลน์ มีประโยชน์มาก หากฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง ก็จะเพิ่มข่องทางการขาย ผลผลิตได้ดี และเพิ่มยอดขาย ซึ่งก็จะทำให้ผลผลิตผักออแกร์นิกหรือแปรรูปผลผลิตในชุมชนขายได้เพิ่มขึ้น จะทำให้รายได้ดีขึ้น ซึ่งตนเองมีผลผลิตพืชผัก ตามฤดูกาลนับ 100 ชนิด แปรรูปก็จะมี ซอสมะเขือเทศ น้ำหมักลูกม่อน น้ำหมักสับปะรด และแปรรูปมันม่วง ที่ผ่านมายอดขาย ก็พออยู่ได้ หากมีช่องทางออนไลน์ ก็น่าจะดีขึ้นมาก .- สำนักข่าวไทย