กระทรวงเกษตรฯ 27 ก.ย.-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ให้เจ้าหน้าที่เกษตรดูแลการทำงาน โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ
พร้อมผู้บริหารทุกระดับติดตามโครงการฯ อย่างใกล้ชิด ระบุหากพบเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด
สั่งดำเนินการทันที
พล.อ.ฉัตรชัย
สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ผู้บริหารทุกคน
เจ้าหน้าที่ทุกระดับ
รวมถึงภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายร่วมกันตรวจสอบทุกประเด็นปัญหาร้องเรียนในโครงการ
9101
ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกโครงการ
เพื่อป้องกันและกำกับดูแลการดำเนินการอย่างโปร่งใส
ในกรณีที่พบว่าเจ้าหน้าที่กระทำผิดจริงยืนยันลงโทษตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นโครงการที่มีหลักการสำคัญคือ
น้อมนำหลักการ ทฤษฎีและแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ
ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชได้พระราชทานไว้มาปฏิบัติ
โดยมีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)
เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรชุมชน
และทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ผ่านกระบวนการคิด
วิเคราะห์และปฏิบัติจริง
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวว่า จนถึงวันนี้
สามารถทำให้เกิดกิจกรรม 24,152 กิจกรรม วงเงิน 19,876.20 ล้านบาท
ซึ่งจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินโครงการ 1.56 ล้านราย
จำนวนเกษตรกรที่คาดว่าได้รับประโยชน์จากโครงการฯ ทั้งประเทศ 7.78 ล้านราย
และเกษตรกรส่วนใหญ่ก็พอใจและได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการ 9101
ตามรอยเท้าพ่อฯ จำนวน 14 เรื่อง
คิดเป็นร้อยละ 0.058 ปัจจุบันตรวจสอบเสร็จแล้ว
6 เรื่อง คือ
จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดอุตรดิตถ์
จังหวัดสงขลา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่และไม่พบมูลความจริงที่กล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำความผิด
โดยเรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่เกิดจากการตรวจสอบกันเองของชุมชนซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
ส่วนเรื่องร้องเรียนที่เหลือ 8 จังหวัดอยู่ในระหว่างดำเนินการตรวจสอบโดยละเอียดของคณะกรรมการ
คือ จังหวัดกาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สระแก้ว สตูล สุพรรณบุรี เชียงราย ลำปางและแพร่
ตัวอย่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้ง 6 จังหวัด
ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์พบการร้องเรียน จำนวน 3 ประเด็น ซึ่งได้นำผู้สื่อข่าว และ
หัวหน้าส่วนทุกราชการลงพื้นที่ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง
ก็ไม่พบตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด จังหวัดสมุทรปราการ
พบการร้องเรียนเรื่องถูกปฏิเสธโครงการ
ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าสมาชิกในกลุ่มผู้ร้องเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร
และโครงการไม่ผ่านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาด้านการกระจายรายได้ให้เกษตรกรในชุมชนอย่างทั่วถึง
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พบการร้องเรียนให้ตรวจสอบโครงการในอำเภอบางน้ำเปรี้ยวที่ส่วนใหญ่ทำลานตากเกือบทุกโครงการนั้น
จากการตรวจสอบพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ทำนาซึ่งมีความต้องการลานตากข้าว
ซึ่งทุกโครงการผ่านการพิจารณาความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ
ทั้งระดับชุมชนและระดับอำเภอ รวม 22 ชุมชน (10 ตำบล)
ทุกขั้นตอนตามคู่มือ
จังหวัดอุตรดิตถ์พบการร้องเรียน 1 ประเด็น
ซึ่งหลังจากการตรวจสอบพบว่า เจ้าหน้าที่พิจารณาโครงการต่างๆ
โดยดำเนินการตามคู่มือกำหนดอย่างโปร่งใส ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่ถูกร้องเรียน จังหวัดสงขลา
พบการร้องเรียน 2 ประเด็น
ซึ่งหลังการตรวจสอบไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่ถูกร้องเรียนแต่อย่างใด
โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเรียนปลัด กษ. และแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
กรณีร้องเรียนเรื่องเจ้าหน้าที่ กสก. เสนอโครงการเองนั้น
หลังตรวจสอบแล้วพบว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่เท่านั้น
ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่ถูกร้องเรียน
โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการชี้แจงทำความเข้าใจผู้ร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรม-สำนักข่าวไทย