ความสามารถการแข่งขันภาคส่งออกไทยลดต่ำลงในทุกมิติ

กรุงเทพฯ 10 ต.ค. – ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ระบุความสามารถการแข่งขันภาคส่งออกไทยลดต่ำลงในทุกมิติ มองส่งออกไทยในระยะยาวแข่งยากหากไม่พัฒนา ประเมินเกือบ 70% ของผู้ประกอบการไทยกำลังถูกดิสรัปจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น


ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) มองการแข่งขันของภาคส่งออกไทยในตลาดโลกจะมีความท้าทายมากขึ้นในระยะข้างหน้า ทั้งจากมิติของสินค้าส่งออกหลักที่มีคู่แข่งมากขึ้น และมิติของกฎระเบียบการค้าโลกที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกและนำเข้าจากจีนสูง รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในช่วงหลัง คิดเป็นเกือบ 70% ของผู้ประกอบการไทยทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งปรับตัวทั้งกลยุทธ์การค้าและการเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการค้าโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
-ความสามารถการแข่งขันภาคส่งออกไทยลดต่ำลงในทุกมิติ
ttb analytics ระบุว่า ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ภาคส่งออกมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าส่งออกไทยในตลาดโลกแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษ สะท้อนจากสัดส่วนส่งออกไทยเทียบตลาดโลกประมาณ 1% ในปี 2536 และเพิ่มขึ้นเป็น 1.2% เท่านั้นในปี 2566 ขณะที่บทบาทของสินค้าส่งออกสำคัญของไทยซึ่งถือเป็น “Product Champion” มาตลอดหลายสิบปีกลับลดลงต่อเนื่องและมีแนวโน้มแข่งขันได้ยากขึ้น เนื่องจาก 2 ปัจจัย คือ

  1. สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มน้อยไม่สามารถขยายไปตลาดใหม่ๆ ได้ แม้สินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปจะครองส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น แต่กลับมีการกระจุกตัวอยู่เพียง 2-3 ตลาด ซึ่งมีส่วนแบ่งรวมกันสูงถึง 30-90% ของมูลค่าส่งออกในสินค้ากลุ่มนี้ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ และจีน สอดคล้องกับการเกินดุลการค้าของไทยกับทั้งสองตลาดในหลายกลุ่มสินค้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้ เนื้อสัตว์แปรรูป ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ มีความผันผวนทั้งในด้านราคาและปริมาณผลผลิต ขณะที่ประเทศคู่แข่งก็เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยมากยิ่งขึ้นผ่านการเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ผักและผลไม้ เป็นต้น
  2. สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่ากลับแข่งยากและเสี่ยงถูกทดแทนได้ง่าย เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เซมิคอนดักเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) ที่แม้ไทยจะสามารถส่งออกกระจายไปหลายตลาดมากขึ้น แต่ส่วนแบ่งของไทยในตลาดโลกกลับมีแนวโน้มลดลงตามมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ไม่สูงนักจากความซับซ้อนของเทคโนโลยีการผลิตต่ำ
    อาทิ ส่วนแบ่งตลาดส่งออกตู้เย็นของไทยจากที่เคยอยู่ที่ 4.7% ในปี 56 ปัจจุบันกลับลดลงเหลือ 3.3% เท่านั้น เช่นเดียวกับแผงวงจรรวม (IC) และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) ที่กำลังเผชิญสถานการณ์เดียวกัน อีกทั้งคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามและมาเลเซียก็มีข้อได้เปรียบจากการเป็นฐานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงมือถือและอุปกรณ์สื่อสารที่สำคัญของบริษัทผู้ผลิตระดับโลก

ที่ผ่านมาภาคส่งออกไทยอาจได้อานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจากการส่งออกไปสหรัฐฯ มากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากนัก จากตัวเลขส่งออกไทยไปตลาดสหรัฐฯ เติบโตเฉลี่ยถึง 11.2% ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับส่งออกไปตลาดอื่น ๆ ที่เติบโตได้เพียง 2.1% ทำให้ไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงเกือบเท่าตัว จาก 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างปี 58-60 เป็น 8.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 64-66


อย่างไรก็ดี ไทยกลับไม่สามารถชดเชยการขาดดุลการค้ากับจีนที่มากขึ้นได้เท่าใดนัก เนื่องจากสินค้าไทยที่ส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนเส้นทางการส่งออกของผู้ผลิตจีนเพื่อใช้ไทยเป็นทางผ่านส่งออกไปสหรัฐฯ (Trade Diversion) ซึ่งอาจไม่ได้ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องถึง 7 ไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาส 4/65
ขณะเดียวกัน ไทยกลับต้องเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นจากมาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) และมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty: CVD) จากสหรัฐฯ เพิ่มเติม เช่น แผงโซลาร์ เหล็กและอะลูมิเนียม ยางล้อ เป็นต้น

ทั้งนี้ ไทยค่อนข้างเสียเปรียบการแข่งขันด้านราคาอยู่แล้ว จากผลของการทำข้อตกลงทางการค้ากับคู่ค้าหลักของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้อัตราภาษีศุลกากรของไทยในทุกประเภทสินค้าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (Trade-Weighted Tariff) สูงถึง 3.49%-7.12% เมื่อเทียบกับเวียดนาม 2.74-5.85% และมาเลเซีย 1.89-4.67% ยิ่งกว่านั้น มาตรการด้านการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันที่มีความเข้มข้นขึ้นถึงเกือบ 6 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปทำตลาดอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร(Non-tariff Measure: NTM) มาตรการทางเทคนิค (Technical Barrier to Trade: TBT) ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ด้านสุขอนามัย ด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนมาตรการเฉพาะกับสินค้าบางประเภท เช่น กฎหมายปราศจากการทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EU Deforestation Regulation: EUDR) มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของสินค้าเกษตรของจีน (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) เป็นต้น

ปัจจุบัน มาตรการ NTM ที่บังคับใช้กับสินค้าส่งออกไทยครอบคลุมราว 11.4% ของมูลค่าสินค้าส่งออก โดยเฉพาะสินค้าจำพวกอาหารที่ไทยมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่บังคับใช้มาตรการครอบคลุมถึง 28.2% ของมูลค่าสินค้าส่งออกในหมวดอาหาร หรือมากถึง 205 ผลิตภัณฑ์ ท่ามกลางความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกที่ลดลงในทุกมิติ รวมถึงมาตรการด้านทางการค้าระหว่างประเทศที่เข้มข้นขึ้น ประกอบกับการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่คาดว่าจะยังคงอยู่ต่อไปในภาวะที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัว ล้วนจะยิ่งส่งผลกระทบลามไปถึงความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยให้ย่ำแย่ลง


ttb analytics ได้วิเคราะห์ความเสี่ยง (Exposure) ของผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมตามระดับการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ โดยพิจารณาจากสัดส่วนการส่งออกรวมและสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนเทียบยอดขายรวม ซึ่งจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้
– กลุ่มที่ 1 พึ่งพาส่งออกสูงและนำเข้าจากจีนสูง (Exposure สูง) คิดเป็น 16% ของผู้ประกอบการไทยทั้งหมด จากสัดส่วนรายได้จากการส่งออกและสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รวมถึงผลิตภัณฑ์แฟชัน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางสูง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้รับจ้างผลิตสินค้า (OEM) ซึ่งจะมีการนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางมาจากหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงจีนเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิต/ประกอบ หรืออาจใช้ไทยเป็นทางผ่านเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่สามต่อไป
– กลุ่มที่ 2 พึ่งพาส่งออกต่ำ แต่นำเข้าจากจีนสูง (Exposure สูง) คิดเป็น 12% ของผู้ประกอบการไทยทั้งหมด จากสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนสูง แต่สัดส่วนรายได้จากการส่งออกยังค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับยอดขายทั้งหมด ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก เฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้าน และเครื่องจักร ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางสูงเช่นกัน เนื่องจากเป็นการนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นหลัก ทำให้ผู้ผลิตจีนบางส่วนหันมาลงทุนทำธุรกิจในไทยและนำเข้าสินค้าจากจีนมาขายเองโดยตรง จึงกระทบผู้ผลิตและผู้ค้าในประเทศตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
– กลุ่มที่ 3 พึ่งพาส่งออกและนำเข้าจากจีนปานกลาง (Exposure ปานกลาง) คิดเป็น 40% ของผู้ประกอบการไทยทั้งหมด จากสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนและ/หรือสัดส่วนรายได้จากการส่งออกในระดับปานกลาง แต่เริ่มเห็นการนำเข้าสินค้าจากจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด สวนทางกับอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ในประเทศที่ลดลงมากในระยะหลัง เช่น อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งหากไม่สามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้เท่าที่ควรหรือขยายตลาดทั้งในหรือต่างประเทศได้มากขึ้น คาดว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากทั้งรูปแบบการค้าและการแข่งขันจากสินค้านำเข้าจากจีนที่รุนแรงขึ้นในระยะต่อไป
– กลุ่มที่ 4 พึ่งพาส่งออกและนำเข้าจากจีนต่ำ (Exposure ต่ำ) คิดเป็น 32% ของผู้ประกอบการไทยทั้งหมด โดยคาดว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ท่องเที่ยวและการแพทย์ เป็นต้น. -511-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้ชน จยย.ดับ 1 สาหัส 1

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้พุ่งชนรถจักรยานยนต์ของ 3 พี่น้อง บนสะพานข้ามถนนเทพรักษ์ เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เจ้าตัวยืนรอมอบตัวกับตำรวจ เผยไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น

ธุรกิจขายตรง

ชำแหละธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่-ดาราดังมีเอี่ยว

ผู้เสียหายลั่น “หมดตัวเพราะขายตรง” แฉธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่ ชวนลงทุนแต่ทำกำไรไม่ได้จริง พบมีดาราระดับเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทยเป็นผู้บริหาร ด้าน ปคบ. เร่งตรวจสอบโมเดลธุรกิจ

“แซม ยุรนันท์” ยันไม่ได้เป็นกรรมการหรือหุ้นส่วน

“แซม ยุรนันท์” ยันไม่ได้เป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนของบริษัท รายได้แบ่งเปอร์เซ็นต์จากยอดขายผลิตภัณฑ์ที่คิดค้น พร้อมเข้าให้ปากคำหากตำรวจเรียก

ข่าวแนะนำ

“บิ๊กต่าย” สั่งระดมเร่งสอบปากคำผู้เสียหายจากบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป

“บิ๊กต่าย” สั่งระดมตำรวจสอบสวนกลาง เร่งสอบปากคำผู้เสียหายจากบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป เพื่อนำมาศึกษาว่าเข้าข่ายความผิดใดบ้าง และหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมประสาน ปปง. ใช้อำนาจอายัดทรัพย์เจ้าของบริษัทก่อน

ธุรกิจขายตรง

ชำแหละธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่-ดาราดังมีเอี่ยว

ผู้เสียหายลั่น “หมดตัวเพราะขายตรง” แฉธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่ ชวนลงทุนแต่ทำกำไรไม่ได้จริง พบมีดาราระดับเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทยเป็นผู้บริหาร ด้าน ปคบ. เร่งตรวจสอบโมเดลธุรกิจ

เฮอริเคน “มิลตัน” จ่อขึ้นฝั่งรัฐฟลอริดาในสหรัฐ

พายุเฮอริเคนมิลตันจ่อขึ้นฝั่งรัฐฟลอริดาของสหรัฐด้วยความรุนแรงระดับ 3 ในอีกไม่ถึง 1-2 ชั่วโมงข้างหน้านี้ แต่อิทธิพลของเฮอริเคนที่แม้จะลดความรุนแรงลงเล็กน้อย

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้ชน จยย.ดับ 1 สาหัส 1

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้พุ่งชนรถจักรยานยนต์ของ 3 พี่น้อง บนสะพานข้ามถนนเทพรักษ์ เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เจ้าตัวยืนรอมอบตัวกับตำรวจ เผยไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น