ตลท.จัดสัมมนา “SET Sustainability Forum 2/2024

กรุงเทพฯ 18 มิ.ย. – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนา SET Sustainability Forum 2/2024 หัวข้อ “Scaling up Synergies and Solutions for Net-Zero” เปิด​มุมมองเสริมกลยุทธ์​พัฒนา Ecosystem ความยั่งยืน พร้อมแนะให้เอกชนไทยเร่งมุ่งสู่ Net Zero


ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย SET ESG Academy จัดสัมมนา SET Sustainability Forum ครั้งที่ 2 ของปี 2567 หัวข้อ ‘Scaling up Synergies and Solutions for Net-Zero’ นำภาครัฐ ภาคธุรกิจและตลาดทุน ทั้งไทยต่างประเทศ เสนอมุมมองและแนวทางการมีส่วนร่วมพัฒนาภาคธุรกิจไทยตลอดทั้ง Supply Chain ให้เติบโตแข็งแกร่งรับมือความไม่แน่นอน เร่งขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมยกระดับคุณภาพข้อมูล ESG ตามมาตรฐานสากล ตลอดจนผลักดันศักยภาพของภาคธุรกิจไทยให้ทัดเทียมสากลและยืนหยัดในเวทีโลกอย่างยั่งยืน

ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในยุคแห่งความไม่แน่นอน องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ธุรกิจไทยเติบโตอย่างมั่นคงคือ โครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมทุกมิติ เหมาะกับองค์กรและเท่าทันปัจจุบัน (Greater Governance) เพื่อยืนหยัดท่ามกลางความผันผวนรอบด้าน และความสามารถในการรับมือความไม่แน่นอน (Resilience) เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ ในอนาคต โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ และภาคส่วนต่าง ๆ ผนึกพลังเตรียมความพร้อมให้ภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านเพื่อรับมือความเสี่ยงจากภาวะโลกเดือด และยกระดับคุณภาพของข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูล ESG เพื่อเพิ่มความโปร่งใสของข้อมูล สร้างความน่าเชื่อถือกับธุรกิจ เพิ่มศักยภาพของธุรกิจไทย และตอกย้ำความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนทั่วโลกในระยะยาว สอดรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังจะก้าวสู่ปีที่ 50 มุ่งสร้างอนาคต เพื่อโอกาสของทุกคน


ผู้​บรรยายพิเศษ​ของ​งานสัมมนา​คือ​ ผู้​เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) นายเจมส์ กราเบิร์ต Director – Mitigation Division กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

ทั้งนี้​การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ต่อความเป็นอยู่ที่ดีและสังคมของมนุษย์ โดยความพยายามที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจังเริ่มต้นขึ้นจากการที่รัฐภาคีรับรองพิธีสารเกียวโต ในปี ค.ศ.1997 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีการกำหนดกฎการดำเนินงานของพิธีสารเกียวโต (Rules for the Implementation) ใน 2 ระยะ คือ พันธกรณีระยะที่ 1 (Marrakesh Accord) ให้ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 5 ภายในปี ค.ศ. 2012 เมื่อเทียบกับปี 1990

พันธกรณีระยะที่ 2 (Doha Amendment) ให้ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 18 ภายในปี ค.ศ. 2020 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 1990 ซึ่งเป็นภาคบังคับเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากในขณะนั้น ส่วนประเทศกำลังพัฒนาไม่มีพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยตรง แต่ดำเนินการได้ตามความสมัครใจโดยการจัดส่งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs) รวมถึงได้กำหนดกลไกยืดหยุ่นให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตได้ ผ่านกลไก Clean Development Mechanism (CDM)


พิธีสารเกียวโตได้นำเสนอกลไก 3 ประการเพื่อบรรลุเป้าหมายได้แก่ กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) การดำเนินการร่วม (JI) และ การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (ET)

สำหรับกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) อนุญาตให้ประเทศที่มีความมุ่งมั่นภายใต้พิธีสารเกียวโตลงทุนในโครงการลดการปล่อยมลพิษในประเทศกำลังพัฒนา โดยเป็นการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนาและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตลอดจนทำให้ประเทศอุตสาหกรรมบรรลุข้อผูกพันในการลดการปล่อยมลพิษภายใต้พิธีสารเกียวโต

CDM เป็นตัวอย่างที่สำคัญของการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยในการดำเนินโครงการสามารถสร้างและรับเครดิตคาร์บอน (CERS) ระหว่างประเทศซึ่งการคิดปริมาณคาร์บอนเครดิตคำนวณจากหน่วยปริมาณก๊าซที่ลดได้และต้องได้รับการรับรอง

สำหรับกลไกการใช้งานร่วม เปิดโอกาสให้กลุ่มภาคีดำเนินโครงการต่างๆ ร่วมกันเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบต่างๆ โดยจะมีการคิดคาร์บอนเครดิตให้ผู้ดำเนินการเป็นหน่วยปริมาณก๊าซที่สามารถลดได้ (Emission Reduction Units – ERUs) ส่วนการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก โดยตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต 2 ประเภทคือ 1) ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market) รัฐบาลออกกฎหมายและกำกับดูแลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผู้ที่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ หรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับการบัญญัติกฎหมาย กลุ่มประเทศที่ใช้ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ เช่น สหภาพยุโรป EU Emissions Tracing System (EU-ETS) หรือ Australian Carbon Pollution Reduction Scheme ของประเทศออสเตรเลียและ Regional Greenhouse GAS Initiative ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

2.) ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market) สร้างขึ้นโดยไม่ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับ การจัดตั้งตลาดเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กร เพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาด

ผู้บรรยายพิเศษอีกหนึ่งคนคือ​ นายเย็นส์ แรดชินสกี​ จากศูนย์ความร่วมมือ UNFCCC/IGES Asia Pacific ร่วมให้มุมมองถึงวิกฤตการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์สากล (Science-based) อย่างกลไกตลาดทุนและคาร์บอนเครดิตที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกในทุกมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นายเยนส์ ซึ่ง​เป็นผู้เชี่ยวชาญกลไกตลาดระหว่างประเทศตามความตกลงปารีส (Article 6 of the Paris Agreement) ระบุ​ว่า ภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งให้เกิดการแข่งขันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ (Race to Zero) ภายในปี 2050

ขณะนี้ประเทศต่างๆ ได้สรุปแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศหลังปี 2020 โดยปรับให้เข้ากับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ (NDCs : Nationally Determined Contributions) เป็นไปตามความตกลงปารีส มาตรา 6 (Article 6 of the Paris Agreement) ที่มีเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่จะเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสและพยายามให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส จำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ให้อยู่ในระดับเดียวกับที่ต้นไม้ ดิน และมหาสมุทรสามารถดูดซับได้ โดยจะเริ่มในช่วงเวลาระหว่างปี 2050 และ 2100 ทบทวนการมีส่วนร่วมของแต่ละประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกๆ 5 ปี เพื่อกระตุ้นให้เกิดความพยายามยิ่งขึ้นเปิดโอกาสให้ประเทศร่ำรวยสามารถช่วยเหลือประเทศที่ฐานะด้อยกว่าได้ ผ่าน “เงินทุนสนับสนุนด้านภูมิอากาศ” เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และหันไปใช้พลังงานทดแทน

ภารกิจดังกล่าว ยิ่งใหญ่มาก การจะบรรลุข้อตกลงปารีสหมายถึง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกประมาณ 45% ภายในปี 2030 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของเศรษฐกิจซึ่งภาคเอกชนจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ผ่านการกำหนดเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญที่สุดของโลกในขณะนี้ ดังนั้นการสนับสนุนภาคธุรกิจในการดำเนินการด้านสภาพอากาศจะเป็นการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจเองและหลีกเลี่ยงผลกระทบจากมาตรการทางการค้าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

การสัมมนามุ่งเน้นการแลก​เปลี่ยน​แนวทางของทั้งภาครัฐ หน่วยงานกำกับ ตลาดทุนในการสนับสนุนเอกชนไทยให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางสากลสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการบรรยายพิเศษ โดย ดร. สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เรื่องการสนับสนุนธุรกิจให้เข้าถึงแหล่งทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจผ่าน Sustainability Initiatives ต่าง ๆ และการเอากลไกหรือเครื่องมือทางการเงินเช่นการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้กลุ่มความยั่งยืนมาใช้เพื่อปรับตัวรับโอกาสทางธุรกิจ และเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืนพร้อมสู้วิกฤติและความเปลี่ยนแปลง ในอนาคต.​ -512​ -​สำนักข่าว​ไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ