fbpx

ความเชื่อมั่นผู้บริโภค มี.ค.67 ลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน

กรุงเทพฯ 10 เม.ย.-ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.ค้าไทย ระบุดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค.67 ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน จากความกังวลเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบค่าครองชีพ แต่ยังมองว่าทิศทางความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หลังจากนี้จะกลับฟื้นตัวตามมาตรากระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) ประจำเดือนมีนาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 63.0 เป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เนื่องจากผู้บริโภค เริ่มกลับมากังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้า และยังกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมทั้งปัญหาสงครามในตะวันออกลาง ที่ยังยืดเยื้อบานปลาย อาจจะเพิ่มแรงกดดันให้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าลงไปอีก ประกอบกับราคาพลังงาน ที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน 

ทั้งนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 สะท้อนกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม ค่าครองชีพสูง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลก ตลอดจนสงครามรัสเซียยูเครน ที่ยังส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบ ต่อกำลังซื้อ ต่อการท่องเที่ยว และการส่งออก โดยถือว่าสวนทางกับความคิดเห็นของภาคธุรกิจ จากสมาชิกหอการค้าไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ในเดือนมีนาคม 2567 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ 55.2 


โดยความเชื่อมั่นถือว่า ดีขึ้นเกินกว่าค่ากลางระดับ 50 ในทุกภูมิภาค รวมทั้งตัวชี้วัดทุกด้านทั้งเศรษฐกิจโดยรวม การบริโภค การลงทุน ภาคท่องเที่ยว ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า การค้าชายแดน และภาคบริการ รวมถึงการจ้างงาน ปรับตัวดีขึ้น แต่เป็นการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพียง 0.1-0.2% สะท้อนความมั่นใจของผู้ประกอบการ ที่ทรงตัว จากการท่องเที่ยว ที่ยังไม่โดดเด่น เพราะยังกระจุกตัวในหัวเมืองใหญ่ รวมทั้งในภาคเหนือ ที่เจอผลกระทบ จากฝุ่น PM 2.5 กังวลว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์นี้ ทำให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศ ต้องการให้เร่งกระตุ้นการท่องเที่ยว ให้ทันกับช่วงวันหยุดยาวนี้ รวมทั้งภาคเกษตร ที่ผลผลิตได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง  

อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่า ความเชื่อมั่นของประชาชน ที่ชะลอตัวลง จะเกิดขึ้นระยะสั้น จากความกังวลเรื่องของค่าครองชีพ ตามราคาพลังงาน และรายได้ ที่อาจจะลดลงจากผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับผลกระจากภัยแล้ง รวมทั้งเงินงบประมาณที่ยังไม่ถูกใช้ แต่เชื่อว่า หลังจากนี้ยังเป็นทิศทางขาขึ้น กลับมาฟื้นตัวได้ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ จะเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะงบลงทุนที่จะกลับมา

ส่วนอีกประเด็นที่ต้องรอความชัดเจน คือ เรื่องของ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งหากธนาคารแห่งประเทศไทย มีการลดอัตราดอกเบี้ย จะช่วยเสริมกับ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสนับสนุนให้คนจะซื้อบ้านได้มากขึ้น เกิดเม็ดเงินหมุนเวียน ได้ ประมาณ 2.3-3.4 แสนล้านบาท เทียบจากฐานการคำนวณในช่วงที่เคยใช้มาตรการดังกล่าว เมื่อปี 2564 จากการเก็บค่าธรรมเนียมได้มากขึ้น และมีแคมเปญจากธนาคารออกมามากขึ้น โดยรัฐบาล คาดว่า กระตุกกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 1.4-1.8% รวมทั้งมีผลต่อการลดภาระการชำระหนี้ของประชาชน


นอกจากนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมองว่า ธปท. จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เนื่องจากมีการส่งสัญญาณถึงอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในกรอบ รวมไปถึงเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงที่กำลังฟื้นตัวได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 จากงบประมาณปี 2567 ที่กำลังขับเคลื่อนได้ รวมทั้งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำสุดในอาเซียน และต่ำเมื่อเทียบกับเอเชียโดยรวม และที่สำคัญ อัตราแลกเปลี่ยน อยู่ในระดับ 36 – 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยก่อนประเทศอื่น ทำให้เกิดภาวะเงินไหลออก จากผลตอบแทนที่น้อยลง รวมไปถึงการลดดอกเบี้ย ถือเป็นการส่งสัญญาณ หรือ ยอมรับว่าเศรษฐกิจซบเซา จึงต้องใช้ดอกเบี้ยมากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการที่ยังไม่ลดดอกเบี้ย ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายขณะนี้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ และเป็นไปทิศทางดอกเบี้ยที่สอดคล้องกับธนาคารกลางของโลก 

ส่วนกรณีหากจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก็จะมาจากเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่เกี่ยวข้องจากการถูกรัฐบาลกดดัน เพื่อเสริมหรือกระตุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งก็มีโอกาส ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยได้ หากพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักราคาพลังงาน และอาหารออก จะสะท้อนถึงอำนาจซื้อของประชาชนที่แท้จริง โดยการพิจารณาเคยอ้างอิงไว้ที่ระดับ 0.5 – 3%  ซึ่งอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกอยู่ที่ 0.4% 

ขณะที่ นโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต จะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่ช่วงเวลาที่ใช้ กับสัดส่วนของเงินที่ใช้ เพราะหากมีการใช้เร็ว เศรษฐกิจก็จะยิ่งถูกกระตุ้นได้เร็ว ซึ่งหากมีการใช้ในส่วนไตรมาสที่ 4 จะกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ได้เพียง 0.5% เท่านั้น จากเดิมหากใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 1-1.5% ส่วนวิธีการโอนเงิน แม้จะไม่ได้ใช้ แอฟเป๋าตัง ก็มองว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะเงินจะถึงมือประชาชนโดยตรง และมีกลไกตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริต มีเพียงปัญหาการใช้งานที่จะรองรับการใช้จ่ายจำนวนมากพร้อมกันได้หรือไม่อีกด้วย.-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เศร้ารับวันแรงงาน! โรงงานประกาศปิดกิจการกะทันหัน

พนักงานโรงงานผลิตกระจกเก่าแก่ใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการฯ จ.สมุทรปราการ ให้นายจ้างจ่ายชดเชยตามกฎหมาย หลังโรงงานติดประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด

“อธิบดีกรมโรงงาน” ลาออกแล้ว ไม่รอเกษียณ 30 ก.ย.นี้

“จุลพงษ์ ทวีศรี” อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ยื่นหนังสือลาออก ไม่รอเกษียณ 30 ก.ย.นี้ เจ้าตัวเผยน่าจะมีความเหมาะสมที่สุดแล้ว ผู้บริหารจะได้หาคนใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทน

ข่าวแนะนำ

ความหวังแรงงานไทย ยกระดับค่าจ้างขั้นต่ำสู่ค่าจ้างเพื่อชีวิต

ทุกปีในวันแรงงาน จะมีการรวมตัวของสภาองค์การลูกจ้างและพัฒนาแรงงาน กลุ่มต่างๆ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ซึ่งปีนี้แรงงานหวังจะมีความมั่นคงในด้านระบบสวัสดิการ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น

“อธิบดีกรมโรงงาน” ลาออกแล้ว ไม่รอเกษียณ 30 ก.ย.นี้

“จุลพงษ์ ทวีศรี” อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ยื่นหนังสือลาออก ไม่รอเกษียณ 30 ก.ย.นี้ เจ้าตัวเผยน่าจะมีความเหมาะสมที่สุดแล้ว ผู้บริหารจะได้หาคนใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทน

เศร้ารับวันแรงงาน! โรงงานประกาศปิดกิจการกะทันหัน

พนักงานโรงงานผลิตกระจกเก่าแก่ใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการฯ จ.สมุทรปราการ ให้นายจ้างจ่ายชดเชยตามกฎหมาย หลังโรงงานติดประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด

แรงงานทั่วไทยเดินขบวนเรียกร้องสิทธิจากรัฐบาล

วันที่ 1 พ.ค. ของทุกปี เป็นวันสำคัญของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก สำหรับประเทศไทยในปีนี้ มีการจัดกิจกรรมเสนอข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลหลายจุด โดยพื้นที่หลักอยู่ที่ตลอดแนวถนนราชดำเนิน และลานคนเมือง