ไทย-บราซิล จบสวย จับมือร่วมลงนามยุติคดีน้ำตาลใน WTO แล้ว

กรุงอาบูดาบี 25 ก.พ.-เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ณ นครเจนีวาเผยไทย-บราซิล จับมือร่วมกันลงนามยุติคดีน้ำตาลใน WTO เป็นการถาวร

นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ณ นครเจนีวา เปิดเผยว่า ตนและเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรบราซิลประจำองค์การการค้าโลก (นายกีเยร์เม เด อากีอาร์ ปาตริโอตา) ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ให้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงยุติกรณีพิพาทน้ำตาลใน WTO เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ในช่วงต้นของการประชุมรัฐมนตรีการค้า WTO ครั้งที่ 13 ที่ UAE เป็นเจ้าภาพ กรณีพิพาทดังกล่าว สืบเนื่องจากที่บราซิลฟ้องร้องไทยว่า ระบบอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยขัดต่อกฎเกณฑ์การอุดหนุนของ WTO และได้ยื่นคำขอหารือกับไทยภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เมื่อปี 2559 ซึ่งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 8 ปี โดยไทยได้แสดงความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขข้อห่วงกังวลของบราซิลและได้พยายามปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภายในประเทศให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ WTO ในเรื่องการอุดหนุน


ทั้งนี้ ในระหว่างที่ไทยปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ฝ่ายบราซิลได้ติดตามดูพัฒนาการของไทยอย่างใกล้ชิด ซึ่งต่อมาในปี 2564 สองฝ่ายได้ลงนามใน MoU ระหว่างไทย-บราซิล เพื่อจัดตั้งกลไกในการหารือ/ติดตามความคืบหน้าการปรับโครงสร้างระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย โดยมีเงื่อนไขว่า บราซิลตกลงจะระงับการดำเนินการใด ๆ เพื่อฟ้องไทยต่อใน WTO เป็นการชั่วคราวในช่วงการหารือดังกล่าว ซึ่งต่อมา ไทยปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายแล้วเสร็จ พร้อมทั้งบังคับใช้ พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 เป็นต้นมา

“WTO มีกฎเกณฑ์ด้านการค้าระหว่างประเทศที่สมาชิก WTO จะต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกันการแข่งขันในตลาดที่ไม่เป็นธรรม โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจากมาตรการของประเทศสมาชิกอื่นสามารถทำการสอบสวน (investigate) เพื่อขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้ หรือยื่นฟ้องต่อศาล WTO เพื่อให้ยุติมาตรการได้ สำหรับไทยและบราซิลได้เจรจาและหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขข้อพิพาทเรื่องนี้อย่างฉันมิตรเป็นเวลาหลายปี จนในที่สุด ก็นำมาซึ่งการลงนามระหว่างสองฝ่ายในข้อตกลงเพื่อยุติคดีน้ำตาลใน WTO เป็นการถาวรได้ในครั้งนี้” นางพิมพ์ชนก กล่าว


อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับที่สามของโลก รองจากบราซิล และอินเดีย โดยในปี 2566 ไทยส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดโลกปริมาณ 6.54 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,452 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ กัมพูชา และมาเลเซียเป็นต้น.-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้โรงอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

เพลิงไหม้โรงงานอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่เร่งนำรถดับเพลิงเข้าระงับเหตุ เพื่อควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

พุ่งไม่หยุดราคาทองคำโลกนิวไฮอีก คาดไปต่อถึง 3 พันดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งแตะ 2,800 ดอลลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ นักวิเคราะห์คาดมีโอกาสพุ่งต่อถึง 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลราคาทองไทยวันนี้ขึ้นต่อจากราคาปิดวานนี้ และทำนิวไฮเท่าวานนี้

ข่าวแนะนำ

สาว อบต.ตกใจ ตำรวจตามรอยเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน

สาว อบต. ตกใจ ตำรวจมาถึงที่ทำงาน ถามถึงเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน ยันไม่เคยรู้จัก “มาดามอ้อย-ทนายตั้ม” มาก่อน

นายกฯ ขีดเส้น 30 วัน ออกมาตรการคุมสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ

นายกฯ สั่ง พาณิชย์-ดิจิทัลฯ เข้ม 3 มาตรการ คุมสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศให้มีคุณภาพ ขีดเส้นให้เสร็จภายใน 30 วัน

“มาริษ” ประท้วงอิสราเอล หลังแรงงานไทยดับ 4

“มาริษ” รมว.ต่างประเทศ ร่อนหนังสือ​ประท้วงอิสราเอล หลังแรงงานไทยดับ 4 เจ็บ 1 ให้ยุติส่งเข้าพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมยับยั้งชั่งใจ ป้องกันความขัดแย้งขยายตัว ขอคนไทยชะลอการเดินทางไปอิสราเอล-ตะวันออกกลาง