กกพ.เห็นชอบแผนเร่งนำเข้า LNG ช่วงราคาถูก เพื่อลดต้นทุนค่าไฟ

กรุงเทพฯ 5 ก.พ. – กกพ.เห็นชอบแผนเร่งนำเข้า LNG ช่วงราคาถูก เพื่อนลดต้นทุนค่าไฟ แย้มหากไม่รวมภาระหนี้ติดค้างค่าเชื้อเพลิง กฟผ.ราวแสนล้าน ค่าไฟปีนี้มีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังไม่หลุด 4.20 บาท/หน่วย


นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้า ที่เหลืออีก 2 งวดของปี2567 คือ งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.และเดือน ก.ย.-ธ.ค. ต้นทุนลดลงกว่าปีที่ผ่านมา จากต้นทุนก๊าซธรรมชาติ ทั้งในส่วนของราคา และปริมาณนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ( LNG ) ลดลง เนื่องจากในช่วงปี 2564-2566 ก๊าซฯ แหล่งเอราวัณผลิตได้น้อยกว่าแผนงาน เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสัมปทาน จึงต้องนำ LNG เพื่อมาทดแทนในปริมาณสูง แต่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 คาดว่าแหล่งเอราวัณจะสามารถผลิตก๊าซฯ เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ได้ตามแผนงาน

ประกอบกับราคา LNG ในตลาดโลกลดลง ก็เป็นปัจจัยบวกที่จะทำให้ต้อนทุนค่าไฟฟ้าถูกลงกว่าปีที่แล้ว ซึ่งเมื่อคำนวณค่าไฟฟ้าจากต้นทุนการผลิตที่ไม่รวมภาระหนี้ที่ติดค้างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่รับภาระค่าเชื้อเพลิงของประชาชนในปีเริ่มตั้งแต่ปี 2564 ก็จะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าเหลือเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20 -4.25 บาทต่อหน่วย หากรวมภาระหนี้ กฟผ.ก็จะสูงกว่านี้ โดยภาระหนี้เดิมของ กฟผ.ยังเหลืออยู่ประมาณ 95,000 ล้านบาท และหากรวมกับภาระรัฐบาลขอให้ กฟผ.รับภาระไปก่อน งวด ก.ย.-ธ.ค.2566 และงวด ม.ค.-เม.ย.67 ในส่วนนี้ก็จะมีภาระเพิ่มขึ้นอีกราว 20,000 ล้านบาท


สำนักงาน กกพ.จะมีการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. ออกมาปลายเดือนนี้ ก่อนจะเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อไป ส่วนการนำเข้า LNG เพื่อผลิตไฟฟ้าในปีนี้ มีแนวโน้มลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย หรือประมาณ 90 ลำเรือ หรือประมาณ 5.8 ล้านตัน โดยปริมาณการนำเข้าก็ขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซฯ ในอ่าวไทยจากแหล่งเอราวัณ และปริมาณก๊าซจากเมียนมา ว่าจะสามารถผลิตได้มากน้อยขนาดไหน ตามที่กำหนดหรือไม่ หากได้มากก็สามารถลดปริมาณการนำเข้าลงได้

“ต้องบริหารการนำเข้า LNG ให้ดีที่สุด โดยช่วงนี้ราคา LNG ในตลาดโลกปรับลดลงมา เราก็พยายามให้ผู้นำเข้า หรือชิปเปอร์ ซื้อบางส่วนไว้ ที่เป็นสัญญาระยะสั้นเพื่อบริหารความเสี่ยง” นายคมกฤช ระบุ

สำหรับความท้าทายในการกำกับดูแลกิจการพลังงานในระยะต่อไป ซึ่งเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Energy Transition) ต้องเผชิญกับความท้าทายต่องานกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และการพัฒนาภาคพลังงานให้เกิดความยั่งยืน 4 ด้าน ดังนี้


  1. การกำกับดูแลเพื่อรองรับการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนใหม่ๆ เช่น พลังงานจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจน พลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก รวมไปถึงการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บคาร์บอนในประเทศ
  2. การบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสามารถรองรับแนวโน้มพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้มากที่สุดในราคาที่เหมาะสม
  3. การส่งเสริมการพัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนตามศักยภาพและความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ โดยภาคพลังงานของไทยมีความได้เปรียบซึ่งสามารถดึงเอาศักยภาพและความได้เปรียบเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ศักยภาพในเชิงที่ตั้งที่จะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ และการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และแหล่งอื่นๆ รวมทั้งการนำเข้าจากต่างประเทศให้มาเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกันก็สามารถช่วยเสริมการให้บริการไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ สถานการณ์รองรับความผันผวนด้านพลังงานและยังสามารถพัฒนาให้เป็นหลุมกักเก็บคาร์บอนได้ด้วย
  4. การเพิ่มการแข่งขันในภาคพลังงานโดยมุ่งให้ผลประโยชน์เกิดกับผู้ใช้ไฟฟ้า ส่งเสริมผู้ใช้พลังงานและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงและใช้พลังงานสะอาดได้ในระดับราคาที่เหมาะสม

ในมิติด้านสังคมจะเห็นว่า ประเทศไทยยังมีนโยบายใช้ค่าไฟฟ้าอัตราเดียวกันทุกพื้นที่เพื่อกระจายความเจริญ มีนโยบายให้ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย มีนโยบายช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสภาวะวิกฤตพลังงาน และมีนโยบายไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะเพื่อความปลอดภัยของประชาชนโดยไม่คิดค่าไฟฟ้า

การวางแผนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว (Energy Transition) จะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย เช่น การประยุกต์ใช้ไฮโดรเจนในการผลิตไฟฟ้า การพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) การพัฒนาของระบบกักเก็บพลังงาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอื่นๆ ที่รวดเร็ว (Disruptive Technology) เป็นต้น ในขณะที่อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff: UGT) เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าพลังงานสีเขียวสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าสีเขียวจากระบบได้ในราคาที่เป็นธรรมและไม่เอาเปรียบผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิม.-517- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชนรถบรรทุก

แพทย์หญิงดับสลด ขับชนท้ายรถบรรทุก

แพทย์หญิง ขับรถพุ่งชนท้ายรถบรรทุก 6 ล้อ เสียชีวิตคาที่ บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี มุ่งหน้าสะพานตากสิน ถนนกรุงธนบุรี ตรวจสอบในรถพบซองยาแก้หวัด-คัดจมูก

แสตมป์ถูกข่มขู่

โฆษก ทบ. พร้อมให้ความเป็นธรรม​​ “แสตมป์​-​ภรรยา​”

โฆษกกองทัพบก พร้อมให้ความเป็นธรรม​​ “แสตมป์​-​ภรรยา​” ถูกนายพลข่มขู่​ ขอข้อมูลเพิ่มตรวจสอบอยู่ในประจำการหรือไม่​ ลั่น​ หากยังรับราชการถือผู้วินัยร้ายแรง​แม้เป็นเรื่องส่วนตัว​

ข่าวแนะนำ

ดอกนางพญาเสือโคร่งบานสะพรั่ง ที่ต้นน้ำหงาว-งาว

ดอกซากุระเมืองไทย หรือดอกนางพญาเสือโคร่ง นับหมื่นต้น บานสะพรั่งทั่วทั้งพื้นที่ หน่วยจัดการต้นน้ำหงาว-งาว อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย

อ่างทองฝุ่นพุ่ง อันดับ 6 ของประเทศ

ค่าฝุ่นพุ่ง! “อีสาน-กลาง-ตะวันออก” ส่วนใหญ่สูงเกินค่ามาตรฐาน เริ่มกระทบสุขภาพ ขณะที่อ่างทอง PM 2.5 พุ่งสูงอันดับ 6 ของประเทศ ชาวบ้านวอนหน่วยงานรัฐเอาจริง

“จูเนียร์” เหยื่อคดี “ติ๊ก ชีโร่” เมาแล้วขับ เสียชีวิตแล้ว พ่อวอนทบทวนการเยียวยา

“จูเนียร์” เหยื่อคดี “ติ๊ก ชีโร่” เมาแล้วขับ เสียชีวิตแล้ว หลังรักษาตัวนาน 3 เดือน พ่อรับศพบ่ายนี้ วอน “ติ๊ก ชีโร่” ทบทวนการเยียวยา เพราะนอกจากค่าจัดงานศพและค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังไม่ได้รับเงินเยียวยาแม้แต่บาทเดียว

รถน้ำมันระเบิดไนจีเรียหลังพลิกคว่ำ เสียชีวิต 77 ราย

รถบรรทุกน้ำมันระเบิดหลังจากพลิกคว่ำในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไนจีเรีย คร่าชีวิตชาวบ้านอย่างน้อย 77 คนที่กำลังเอาถังมารองน้ำมันที่รั่วไหลจากรถบรรทุก