คลังผลักดันยานยนต์ไฟฟ้า EV3.5

กรุงเทพฯ 19 ธ.ค.-คลัง หนุนยานยนต์ไฟฟ้า แนะค่ายรถยนต์ใช้สิทธิ์เฟส 2  EV3.5  แบตเตอรี่  50 kwh ขึ้นไป  รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน  เผย 11 เดือนแรก   จดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า  67,056 คัน เพิ่มขึ้น  7.9 เท่า


นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า  หลังจากคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (อีวีบอร์ด) ซี่งมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เป็นประธาน  เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เฟส  2 (EV3.5) ในช่วง 4 ปี (2567-2570)  เพื่อส่งเสริมและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ   กระทรวงการคลัง จึงมุ่งผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค ตามนโยบาย 30@30   ตั้งเป้าการผลิตยานยนต์ ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle: ZEV) ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573   กำลังการผลิตรถยนต์  725,000 คัน และรถจักรยานยนต์ประมาณ 675,000 คัน

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า  มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ ไฟฟ้าระยะแรก หรือ EV 3 ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีผู้นำเข้าและผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 ที่ได้ทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกับกรมสรรพสามิต จำนวน 19 ราย มีรถยนต์ที่ได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการ EV3 จำนวน 28,841 คัน และรถไฟฟ้าที่มีการนำเข้าแต่ยังไม่ได้ยื่นขอรับเงินอุดหนุน จำนวน 61,436 คัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566)  กระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า  ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค. – พ.ย. 66) มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่  67,056 คัน เพิ่มขึ้นกว่า 7.9 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 8,483 คัน   ผลของมาตรการ EV3  เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มูลค่ารวม 61,425 ล้านบาท จากโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การผลิตชิ้นส่วนสำคัญ รวมถึงสถานีอัดประจุไฟฟ้า 


ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ EV3.0 สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการใหม่นี้เพิ่มเติมได้ และผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการสามารถเข้าร่วมมาตรการ EV3.5 ได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมสรรพสามิต ดังนี้ 

1. รถยนต์นั่ง (ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท) จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

    1.1 สิทธิเงินอุดหนุน 


         1) ขนาดแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 10 kwh แต่น้อยกว่า 50 kwh

          1.1) ปี 2567 จะได้รับเงินอุดหนุน 50,000 บาท/คัน

          1.2) ปี 2568 จะได้รับเงินอุดหนุน 35,000 บาท/คัน

          1.3) ปี 2569 – 2570 จะได้รับเงินอุดหนุน 25,000 บาท/คัน (เฉพาะที่ผลิตในประเทศเท่านั้น)

          2) ขนาดแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไป

          2.1) ปี 2567  จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน

          2.2) ปี 2568 จะได้รับเงินอุดหนุน 75,000 บาท/คัน

                2.3) ปี 2569 – 2570 จะได้รับเงินอุดหนุน 50,000 บาท/คัน (เฉพาะที่ผลิตในประเทศเท่านั้น)

    1.2 สิทธิลดอัตราอากรขาเข้าไม่เกินร้อยละ 40 (สำหรับรถที่มีการนำเข้าในช่วงปี 2567 – 2568)

    1.3 สิทธิลดภาษีสรรพสามิตจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 ในปี 2567 – 2570

2. รถยนต์นั่ง (ราคาตั้งแต่ 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท) ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไป จะได้รับสิทธิลดภาษีสรรพสามิตจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2

3. รถกระบะ (เฉพาะที่ผลิตภายในประเทศ และราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท) ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไป จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน และได้รับสิทธิลดอัตราภาษีสรรพสามิตเหลือร้อยละ 0 ในปี 2567 – 2568 และอัตราภาษีร้อยละ 2 ในปี 2569 – 2570

4. รถจักรยานยนต์ (เฉพาะที่ผลิตภายในประเทศ และราคาไม่เกิน 150,000 บาท) ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kwh ขึ้นไป จะได้รับเงินอุดหนุน 10,000 บาท/คัน  และได้รับสิทธิลดอัตราภาษีสรรพสามิต เหลือร้อยละ 1 ในปี 2567 – 2570

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้ ต้องผลิตรถยนต์   เพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 ของจำนวนนำเข้าในช่วงปี 2567 – 2568 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) หรือผลิตชดเชยการนำเข้าภายในปี 2570 ในอัตราส่วน 1 : 3 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 3 คัน) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ และผลักดันไทยให้เป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

สำหรับแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมมาตรการ EV3.5 ต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1) ต้องยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับสิทธิฯ และมีการทำข้อตกลง (MOU) ให้เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3.5 ร่วมกับกรมสรรพสามิต 

   2) เมื่อได้รับการอนุมัติสิทธิแล้ว ผู้ขอใช้สิทธิจะต้องได้รับอนุมัติราคาขายปลีกแนะนำและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติยานยนต์ไฟฟ้าก่อนเริ่มขายรถรุ่นนั้น ๆ 

   3) กรณีนำเข้า ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตามข้อ 1 และ 2 ให้แล้วเสร็จก่อนการนำเข้า จึงจะสามารถนำยานยนต์ไฟฟ้ามาขอรับสิทธิทางภาษีได้ 

              4) การขอรับเงินอุดหนุนหลังจากการจำหน่ายและจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตกำหนด

   5) สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงเงื่อนไขการผลิตชดเชย บทลงโทษ ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามมาตรการ EV3.5 ให้เป็นไปตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด 

สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่เคยได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถจำหน่ายได้ทันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และประสงค์ที่นำยานยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวมารับสิทธิตามมาตรการ EV3.5 สามารถกระทำได้ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1) ผู้ขอรับสิทธิต้องยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับสิทธิฯ และมีการทำข้อตกลง (MOU) เพื่อเป็นผู้ได้สิทธิตามมาตรการ EV3.5 และต้องได้รับอนุมัติราคาขายปลีกแนะนำและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติยานยนต์ไฟฟ้าที่ก่อนเริ่มจำหน่าย

    2) หลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 ต้องยื่นหนังสือเพื่อแจ้งจำนวนคงเหลือของยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตาม EV3 แต่ไม่สามารถจำหน่ายได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้กรมสรรพสามิตทราบ ก่อนลงนามข้อตกลง EV 3.5 กับกรมสรรพสามิต

    3) ยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตาม EV3 แต่ประสงค์จะนำมาเข้าร่วมมมาตรการ EV 3.5 จะยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีตามมาตรการ EV3 แต่เงินอุดหนุนและเงื่อนไขการผลิตชดเชย ตลอดจนบทลงโทษ และเงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามมาตรการ EV3.5

สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่เคยได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 แต่ไม่สามารถจำหน่ายได้ภายในวันที่      31ธันวาคม 2566 และไม่ประสงค์ที่นำยานยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวมารับสิทธิตามมาตรการ EV3.5 ต่อ จะยังคงมีภาระในการผลิตชดเชยการนำเข้าตามเงื่อนไขของมาตรการ EV3 โดยไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่ได้รับไปแล้ว

ดร.เอกนิติกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การดำเนินการเปลี่ยนผ่านจากมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า EV3 ไปสู่ EV3.5 เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ภาครัฐกำหนด กรมสรรพสามิตได้ดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ข้อปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนมาตรการ EV 3.5 ในทุก ๆ ด้าน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และตามยุทธศาสตร์กรมสรรพสามิต ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยภาษีสรรพสามิต.-515-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

เริ่มใช้เครื่องจักรหนักเปิดซากอาคาร สตง.ถล่ม

102 ชั่วโมงแล้ว สำหรับปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุอาคาร สตง.ถล่ม หน่วยกู้ภัยจากนานาชาติให้ความหวังว่ายังมีโอกาสเจอผู้รอดชีวิต ทำให้การค้นหาวันนี้ต้องแข่งกับเวลาอย่างเต็มที่

ทองไทยนิวไฮต่อเนื่อง ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 550 บาท

ทองคำไทยผันผวนหนัก ปรับเปลี่ยน 18 ครั้ง ก่อนปิดตลาดปรับเพิ่ม 550 บาท ระหว่างวันขึ้นไปแตะนิวไฮ ทองคำแท่งขายออก 50,700 บาท ทองรูปพรรณขายออก 51,500 บาท ขึ้นไปต่อเนื่อง