รัฐบาลเร่งจัดการหนี้ทั้งระบบ 

ทำเนียบฯ 12 ธ.ค. – นายกรัฐมนตรี ย้ำแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบให้จบภายในรัฐบาลนี้ ห่วงหนี้บัตรเครดิตอาการหนัก 67,000 ล้านบาท ดึง ธ.ก.ส. ออมสิน สางหนี้ครู-ตำรวจ 


นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวจัดการหนี้ทั้งระบบ โดยมีนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแถลง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีร่วมแถลง

 “ปัญหาโควิด -19 กระทบไปหลายส่วน ทำให้หนี้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 90 GDP มูลหนี้ 16 ล้านล้านบาท หนี้บัตรเครดิต 5.4 แสนล้านบาท เริ่มมีอาการหนัก 67,000 ล้านบาท  นับว่าหนี้ในระบบ มีปัญหาไม่แพ้กับหนี้นอกระบบ ทั้งหนี้สินล้นพ้นตัว  บางรายเป็นหนี้เสียคงค้างเป็นเวลานานจนขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ดังนั้น การดูแลลูกหนี้ในระบบที่ประสบปัญหาจึงถือเป็นวาระแห่งชาติเช่นเดียวกัน  เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว  รัฐบาลไม่สามารถปล่อยให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหานี้เผชิญปัญหาอยู่อย่างลำพัง   เพื่อให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกทางเศรษฐกิจแข็งแรง” นายกรัฐมนตรี กล่าว 


รัฐบาลได้แบ่งกลุ่มลูกหนี้ในระบบที่ประสบปัญหา ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ  ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กลุ่มที่ 2 คือ  กลุ่มที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมาก จนเกินศักยภาพในการชำระคืนหนี้ กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน  ทำให้การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง และกลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้างเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทุกกลุ่มที่ตนเองกล่าวไปทั้งหมด มีข้อสังเกตที่เหมือนกันอย่างนึงว่า ลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้จนกลายเป็นหนี้เสีย เมื่อเป็นหนี้เสียก็ถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยปรับเพิ่ม และวนกลับไปทำให้ชำระไม่ไหวอีก วงจรแบบนี้ส่งผลให้ติดเครดิตบูโร ไม่สามารถขอสินเชื่อในระบบต่อได้  หรือบางรายที่ค้างชำระเป็นเวลานาน  ก็จะถูกดำเนินการตามกฎหมาย แม้ว่าลูกหนี้ทุกกลุ่มจะมีสภาพปัญหาคล้ายกัน แต่ต้นตอของปัญหานั้นต่างกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงเตรียมแนวทางช่วยเหลือที่แตกต่างกันตามสาเหตุของปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม ดังนี้

ลูกหนี้กลุ่มที่ 1 คือ  กลุ่มเอสเอ็มอี ประมาณ  3 ล้านราย เคยมีประวัติการชำระหนี้ดี   เมื่อได้รับผลกระทบจากโควิด-19   ทำให้ธุรกิจต้องสะดุดหยุดลง  ขาดสภาพคล่อง   จึงให้พักชำระหนี้ 1 ปี และลดดอกเบี้ยร้อยละ 1  สำหรับลูกหนี้รายย่อย   ส่วนใหญ่มีหนี้เสียกับธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส.   คาดว่าช่วยเหลือกลุ่มนี้  ประมาณ 1.1 ล้านราย ส่วนลูกหนี้ SMEs  แบงก์รัฐจะเข้าไปช่วยเหลือผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้  และพักชำระหนี้ให้กับ SMEs  ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 99  ของลูกหนี้ NPL กว่า 100,000 ราย

กลุ่มที่ 2 คือ ลูกหนี้มีรายได้ประจำ เช่น กลุ่มข้าราชการ ครู ตำรวจ ทหาร  และกลุ่มลูกหนี้บัตรเครดิต  แบ่งการช่วยเหลือผ่าน 3 แนวทาง  แนวทางแรก คือการลดดอกเบี้ยสินเชื่อไม่ให้สูงจนเกินไป เพราะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ประจำและถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แนวทางที่สอง การโอนหนี้ทั้งหมดไปยัง สหกรณ์ของแต่ละองค์กร  เพื่อตัดเงินเดือนนำมาชำระหนี้ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือน   แนวทางสุดท้าย คือ การบังคับใช้หลักเกณฑ์การตัดเงินเดือน ให้ลูกหนี้มีเงินเดือนเหลือเพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี  ทั้งสามแนวทางนี้ จะต้องทำ “พร้อมกัน” ทั้งหมด ยอมรับว่า หนี้บัตรเครดิต 23.8 ล้านใบ  มูลหนี้ 5.4 แสนล้านบาท  เริ่มมีอาการหนัก 67,000 ล้านบาท


ลูกหนี้กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน  จึงชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง  เช่น เกษตรกร ลูกหนี้เช่าซื้อ ต้องคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 10 จักรยายนต์ไม่เกินร้อยละ 23   และลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 2.3 ล้านราย  กลุ่มนี้จะได้รับการช่วยเหลือ  ด้วยการพักชำระหนี้ชั่วคราว  การลดดอกเบี้ย  หรือลดเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดให้ต่ำลง  เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ เช่น ลูกหนี้เกษตรกร   ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและปริมาณผลผลิตตามฤดูกาล  ขณะนี้ได้พักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรแล้ว โดยพักทั้งหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี   มีเกษตรกรเข้าร่วมการพักหนี้กว่า 1.5 ล้านราย     ลูกหนี้กลุ่มที่ 4 กลุ่มนี้เป็นหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินของรัฐ มาเป็นระยะเวลานาน  จึงต้องโอนหนี้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์  SAM  หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้   คาดว่าช่วยเหลือลูกหนี้ประมาณ 3 ล้านราย  หวังลดภาระดอกเบี้ยจากร้อยละ 16-25 เหลือไม่เกินร้อยละ 15 หากปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี  

นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ท้ายที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ให้สำเร็จและมีผลอย่างยั่งยืนหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมกันเสริมความรู้ ยืนยันรัฐบาลห่วงใยลูกหนี้ทุกกลุ่มและได้มีแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้  ทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาว การดำเนินมาตรการให้สำเร็จได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากลูกหนี้ เจ้าหนี้ และหน่วยงานต่าง ๆ หลายภาคส่วน ขอมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  ให้มาร่วมกันแก้หนี้ทั้งระบบให้จบภายในรัฐบาลนี้ ร่วมกันสำรวจและซ่อมแซมกลไกทางเศรษฐกิจ เพื่อทำให้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจเราทำงาน เติบโต และขยายตัวต่อไปได้ 

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการแก้ปัญหาหนี้ในประบบ เริ่มขึ้นโดยทันที เช่น การหักเงินเดือนราชการ รัฐวิสาหกิจ ให้ปรับมาชำระหนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ในองค์กร ทำหน้าที่ปล่อยกู้โดยตรง โดย ธ.ออมสิน จะเข้าไปช่วยดูแลเพิ่มเติม เพื่อให้สหกรณ์มีทุนปล่อยกู้สวัสดิการเพิ่มเติม  หวังลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับความเสี่ยง บางแห่งคิดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 7-8 ให้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 5 จะทำให้ครู ตำรวจ ทหาร ข้าราชการ มีภาระลดลง ส่วนการยืดอายุชำระ จะทำให้การผ่อนชำระต่องวดลดลง ต้องการเริ่มในเดือนมกราคมปี 67 เริ่มในบางหน่วยงาน.-515-สำนักข่าวไทย   

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ลิณธิภรณ์” แจงปมสะกดคำผิด ยอมรับผิดพลาดพร้อมแก้ไข

กระทรวงวัฒนธรรม 4 ก.ค.- “ลิณธิภรณ์” ยอมรับดรามาใช้ภาษาไทยสะกดคำผิด พร้อมแก้ไขปรับปรุงตัว รับปากจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก บอก บางครั้งรีบพิมพ์ไม่ได้ตรวจทาน ทำเกิดผลเสียทุกวันนี้ แจงมีปัญหาสุขภาพ อาจทำให้ออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึงดรามาเรื่องการใช้ภาษาไทยในโซเชียลมีเดีย ว่า ตนขอยอมรับอย่างซื่อตรง ว่าบางครั้งในการสะกดคำของตนเองก็มีความผิดพลาด ซึ่งบางครั้งใช้การพิมพ์ด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์มือถือ และได้โพสต์ข้อความไปแล้ว ก่อนจะมารู้ตัวอีกทีก็ผ่านไป 2-3 ชั่วโมง มันเป็นความผิดพลาด อันนี้ตนยอมรับด้วยความจริงใจ และวันนี้ตนก็เข้าใจดีว่าเมื่อมานั่งตำแหน่งตรงนี้ สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือต้องปรับปรุง และคิดว่าหลังจากนี้ความผิดพลาดเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะตนก็อยากเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ของประเทศเหมือนกัน รวมถึงอีกสิ่งที่ตนอยากจะบอกคือการออกเสียงควบกล้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบ จากปัญหาสุขภาพ แต่ส่วนหนึ่งตนก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าวว่า วันนี้ตนเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในภาพนโยบายใหญ่ คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยใน รายละเอียดที่ชัดเจน และจะเข้ากระทรวงพร้อมกันในวันที่ 8 กรกฎาคม สำหรับตนหากใครที่เคยติดตาม ก็เคยเป็นคนหนึ่งที่ พูดเรื่องการศึกษาในส่วนของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่เป็นโฆษกพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเรื่องการลดค่าสอบทีแคส (TCAS) รวมถึงเรื่องการทำโครงการ ด้านสุขภาพภาวะจิต และอาจจะเป็นโครงการหนึ่งที่ตนจะสานต่อ […]

มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ที่บราซิล

ทำเนียบ 3 ก.ค.-มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ครั้งที่ 17 ที่บราซิล 6-7 ก.ค.นี้ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2568 ร่วมกับผู้นำจาก 10 ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS และประเทศหุ้นส่วนจากหลากหลายประเทศ ที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดยไทยเข้าร่วมในฐานะประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS (Partner Country) สำหรับการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เสริมสร้างความร่วมมือโลกใต้เพื่อการสร้างธรรมาภิบาลที่ครอบคลุมและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ปีนี้ ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก 6 ด้าน ได้แก่ (1) สาธารณสุข (2) การค้า การลงทุน และการเงิน (3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ธรรมาภิบาลของปัญญาประดิษฐ์ […]

Hun Sen, at event marking ruling party's 74th founding anniversary

ฮุน เซน เรียกร้องปั๊ม ปตท. งดนำเข้าน้ำมันจากไทย

พนมเปญ 3 ก.ค.- นายฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเรียกร้องให้เจ้าของปั๊ม ปตท.เลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน สื่อของกัมพูชารายงานว่า นายฮุน เซน พูดถึงเรื่องนี้ในระหว่างการประชุมกับครูและนักเรียนที่ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมในจังหวัดไพรแวงในวันนี้ เรียกร้องให้เจ้าของปั๊มน้ำมัน ปตท.ทุกแห่งในกัมพูชาเลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่น ๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นจากเวียดนาม  มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อปั๊ม แม้ว่า ปตท.จะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทยก็ตาม นอกจากนี้นายฮุน เซนยังพูดถึงเรื่องที่ไทยเคยขู่ว่าจะตัดไฟฟ้า ตัดอินเทอร์เน็ต ห้ามขายเชื้อเพลิง และอื่นๆ ให้กัมพูชาด้วยว่า เมื่อไทยขู่มากัมพูชาก็ตอบโต้ทันที กัมพูชาต้องพึ่งพาตนเองให้ได้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามในอนาคตเหมือนกับที่กำลังเผชิญจากไทยในเวลานี้ แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากไทย แต่กัมพูชาก็ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ของกัมพูชา ประธานวุฒิสภากัมพูชาเน้นย้ำว่า มาตรการทั้งหมดที่กัมพูชาได้ดำเนินไปนั้นเป็นการตอบโต้โดยตรงกับภัยคุกคามจากฝ่ายไทย รวมทั้งการที่ไทยปิดด่านพรมแดนแต่เพียงฝ่ายเดียว เขาแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า การเจรจากับไทยจะเริ่มขึ้นได้ ต่อเมื่อฝ่ายไทยจะต้องยอมเปิดด่านทุกจุดอย่างเต็มรูปแบบเหมือนที่เคยทำก่อนวันที่ 7 มิถุนายนแล้วเท่านั้น.-816(814).-สำนักข่าวไทย

เปิด 7 จุดยืน “ปชน.” ทางออกประเทศหาก “แพทองธาร” พ้นเก้าอี้

กรุงเทพฯ 4 ก.ค. – พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “แพทองธาร” พ้นตำแหน่ง เปิดเงื่อนไขโหวตนายกฯ คนใหม่ พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “นายกฯ แพทองธาร” พ้นจากตำแหน่ง เพื่อนำพาประเทศไปสู่ทางออกที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับประชาชนทุกคน ดังนี้ 1.สิ่งที่ประเทศต้องการมากที่สุด คือรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีความชอบธรรม และสามารถตั้งทีมบริหารจากความรู้ความสามารถ ไม่ใช่จากการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง2.รัฐบาลที่จะมีคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากสภาชุดปัจจุบัน ทางออกสำหรับประเทศจึงเป็นการจัดให้มี “การเลือกตั้งใหม่” โดยเร็ว3.รักษาการนายกฯ ควรประกาศให้ชัดเจนว่าจะใช้อำนาจที่ตนเองมี ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนผ่านคูหาเลือกตั้ง4.หากรักษาการนายกฯ ไม่ทำ และมีเหตุใดที่ทำให้นายกรัฐมนตรีแพทองธาร พ้นจากตำแหน่ง กระบวนการในการเลือกนายกฯ คนใหม่ จะต้องนำไปสู่การได้มาซึ่งนายกฯ ที่พร้อมเดินหน้าสู่การยุบสภา5.เพื่อให้ประเทศไม่ถูกบีบไปสู่ทางตันหรือการใช้อำนาจนอกครรลองประชาธิปไตย เราพร้อมจะพิจารณาลงมติให้กับผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ คนใหม่คนใดก็ตาม ที่ยอมรับ “เงื่อนไข” ในการเป็นรัฐบาลชั่วคราว โดยทางพรรคประชาชนจะไม่เข้าร่วมรัฐบาลและจะไม่มีใครจากพรรคประชาชนไปเป็นรัฐมนตรี 6.“เงื่อนไข” ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา สำหรับนายกฯ คนใหม่ จะต้องประกอบไปด้วยอย่างน้อย6.1 การประกาศเส้นตายว่าจะยุบสภาภายในสิ้นปี6.2 การยืนยันภารกิจเฉพาะหน้าที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว (เช่น การดำเนินการให้มีการจัดประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง เพื่อถามประชาชนเรื่องการมี […]

ข่าวแนะนำ

ทลายบ่อนกลางกรุง พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา

กทม. 4 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เอาจริง สั่งจัดระเบียบสังคมทันที หลังรับตำแหน่ง มท.1 ประเดิมงานแรก สั่งการชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง บุกทลายบ่อนพนันกลางกรุง หลังมีประชาชนร้องเรียน พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 15.30 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย สั่งการให้นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดปฏิบัติการ “ปิดบ่อนสะพานใหม่” จับกุมบ่อนการพนันกลางกรุง โดยชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมด้วย นายรณรงค์ ทิพย์ศิริ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ นายอิสรา เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน และนายศักดิ์ชัย โรจนรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง สนธิกำลังพนักงานฝ่ายปกครอง พร้อมด้วยสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ทลายบ่อนการพนันขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนสะพานใหม่ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร […]

ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร

กองทัพบก 4 ก.ค.-ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร หลังลาดตระเวนพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น จากกรณีเฟซบุ๊กเพจ “Army Military Force” โพสต์คลิปทหารพรานของไทยปะทะคารมกับทหารกัมพูชา ที่กำลังพยายามรุกลํ้าเข้ามาในดินแดนไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีอาวุธปืนครบมือนั้น พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารีว่า ชุดลาดตระเวนของกองร้อยทหารพรานที่ 2304 ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ได้ทำการลาดตระเวนพื้นที่ ตรวจพบความเคลื่อนไหวของกำลังทหารกัมพูชา ในบริเวณจุดชมวิวภูผี ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดน ใกล้บริเวณปราสาทโดนตวล และเขาพระวิหาร และบริเวณเส้นทางลาดตระเวนใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายไทยมีการลาดตระเวนตรวจตราอย่างต่อเนื่อง จึงได้เข้าทักทายเจรจากัน และแยกย้ายกันไป ไม่มีเหตุความรุนแรงใด พล.ต.วินธัย กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา หลายจุดพบกำลังทหารกัมพูชามาลาดตระเวนในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น และบางครั้งมีเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับหน่วยของกัมพูชาร่วมลงพื้นที่ด้วยตนเอง เมื่อมาพบเจอกับฝ่ายทหารไทยก็จะมีพูดทักทายกัน และบางครั้งก็อาจจะมีแสดงออกทางอารมณ์ในลักษณะเหมือนถกเถียงกันบ้าง แต่ทั้งหมดไม่ถึงขั้นตั้งใจจะใช้ความรุนแรงต่อกัน เพราะต่างฝ่ายต่างระมัดระวังไม่ให้มีการละเมิดข้อตกลง และต้องยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี ตามแนวทางผู้บังคับบัญชา.-313.-สำนักข่าวไทย

นักธรณีวิทยา​ย้ำไม่มีสัญญาณ​สึนามิ​เข้าไทย​ ไม่ต้องตระหนก

กรุงเทพฯ​ 4 ก.ค. – ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา ย้ำขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณทางวิทยาศาสตร์​บ่งชี้ว่า​จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าสู่ประเทศไทย​ จากกรณีเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แนะติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วง​ 1-2​ สัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณใกล้หมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา เป็นการเลื่อนตัวในแนวราบ ไม่ใช่แนวดิ่ง จึงไม่เข้าลักษณะที่จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ ขณะเดียวกัน จากการติดตามข้อมูลยังไม่พบสัญญาณทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่บ่งชี้ว่า​ จะมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแนวดิ่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเกิดคลื่นสึนามิ ศ.ดร.สันติ กล่าว​ว่า​ ก่อนหน้านี้​เรารู้​จักแนวมุดตัวของเปลือก​โลก​บริเวณ​หมู่เกาะ​นิโคบาร์​-สุมาตรา ที่หากมีการเคลื่อนตัวจะมีโอกาส​เกิดสึนามิ​ แต่ล่าสุด​พบ​ว่า​ มีแนวภูเขาไฟ​ใต้น้ำ​บริเวณ​หมู่เกาะ​สุมาตรา​ที่​ไม่เคยปะทุมาก่อนและบอกไม่ได้​ว่าจะปะทุ​เมื่อ​ใด ซึ่งนักธรณีวิทยา​และหน่วยงาน​ด้านภัยพิบัติ​จะต้องติดตาม​อย่างต่อเนื่อง​ต่อไป​ ทั้งนี้ แม้ในอดีตจะเคยเกิดสึนามิจากรอยเลื่อนสุมาตราที่เกิดการมุดตัวของเปลือกโลก​ แต่ย้ำว่า​ เหตุการณ์ปัจจุบันไม่มีตัวชี้วัดในลักษณะเดียวกัน จึงขอให้ประชาชนอย่ากังวลเกินควร อย่างไรก็ตาม การตื่นรู้ต่อภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น แอปพลิเคชันกรมอุตุนิยมวิทยา การติดตามข้อมูลจากภาครัฐ และระบบแจ้งเตือนภัยในท้องถิ่นเช่น Cell Broadcast​ ที่​ภาครัฐ​เร่งดำเนินการ​สำหรับ​แจ้ง​เตือน​ภัยพิบัติ​ต่าง​ ๆ ให้​ครอบคลุม​ทั่วประเทศ​ ทั้งนี้ ​การเตรียมความพร้อมคือเรื่องสำคัญ รัฐเองก็พยายามส่งสัญญาณให้ถึงประชาชนโดยเร็ว […]

“แพทองธาร” หารือผู้บริหาร ก.วัฒนธรรม

ก.วัฒนธรรม 4 ก.ค.-“แพทองธาร” หารือผู้บริหาร ก.วัฒนธรรม แจงข่าวปลอมไทยคืนวัตถุโบราณ 20 รายการ ให้กัมพูชาไม่จริง ชี้ทำตั้งแต่ “รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์” พร้อมสั่งเบรกจัดสรรงบฯ คืนวัตถุโบราณกัมพูชา จ่อแจ้งความคนปล่อยเฟกนิวส์ ปลุกปั่น “กลุ่มปราสาทตาเมือน” ยันอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยไทย ช่วงบ่ายวันนี้ (4 ก.ค.) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม โดย น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งแรก มีข้อที่อยากจะฝากเอาไว้ และอยากจะให้ช่วยกันผลักดัน รวมถึงอยากจะอัปเดตข้อมูลให้ฟัง ซึ่งวันนี้ตนได้ทำการบ้านมาเล็กน้อย และรู้สึกดีใจที่จะได้ฟังจากทุกคนว่า แต่ละหน่วยงานแต่ละฝ่ายทำอะไรกันอยู่บ้าง และในกระทรวงฯ มีอะไรที่อยากให้ดำเนินการเพิ่มเติมบ้าง ประเด็นแรก อยากจะขอชี้แจงเรื่องข่าวปลอม เรื่องการส่งคืนวัตถุโบราณ จำนวน 20 รายการ ให้กับประเทศกัมพูชา ตนขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะการคืนวัตถุโบราณให้กับประเทศกัมพูชา มีมาตั้งแต่สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งประเทศไทยได้คืนไปแล้ว […]