ไทยมีความร่วมมือด้านเกษตรกับอิสราเอล แต่มูลค่าไม่สูงมาก

กรุงเทพฯ 9 ต.ค.-ก.เกษตรฯ จัดทำข้อมูลด้านสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับอิสราเอล โดยมูลค่าสินค้าเกษตรระหว่างกันมีเพียงกว่า 5,000 ล้านบาท ก่อนหน้านี้ได้ลงนามความร่วมมือด้านการเกษตร โดยอิสราเอลจะสนับสนุนงานวิจัยด้านการเกษตร พร้อมเจรจาขยายตลาดสินค้าเกษตรระหว่างกัน แต่อิสราเอลพึ่งพาทักษะแรงงานภาคเกษตรจากไทย


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำข้อมูลด้านการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศไทยกับประเทศอิสราเอล โดยทั้ง 2 ประเทศกำลังเจรจาขยายตลาดสินค้าเกษตรระหว่างกัน เพื่อขยายมูลค่าการค้าที่มีเพียง 5,000 กว่าล้านบาทให้มากยิ่งขึ้น โดยอิสราเอลเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรกับไทยเกือบอันดับที่ 50 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยได้ลงนามความตกลงกับกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของอิสราเอลในเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ที่ประเทศอิสราเอล ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the State of Israel on Agricultural Cooperation) โดยรัฐบาลอิสราเอลสนับสนุนเทคโนโลยีด้านการเกษตร ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง และการพัฒนาด้านชลประทาน โดยเฉพาะเทคโนโลยีระบบน้ำหยดทั้งบนผิวดินและใต้ดิน รวมทั้งการบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับไทย โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้งที่ไม่มีน้ำบนผิวดิน โดยอิสราเอลมีความชำนาญในด้านนี้อย่างมาก จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก โดยอิสราเอลได้จัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและชลประทานจนประสบความสำเร็จ สามารถเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด เพื่อการอุปโภคบริโภค และนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่


ทั้งนี้เทคโนโลยีด้านการเกษตรที่ก้าวหน้าทำให้ภาคการผลิตสินค้าเกษตรของอิสราเอลมีความแข็งแกร่งสามารถส่งออกสร้างรายได้เข้าประเทศได้จำนวนมาก ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคชาวอิสราเอลก็นิยมผักผลไม้ที่สามารถผลิตได้ในประเทศ อีกทั้งการนำเข้าผักผลไม้สดต้องผ่านมาตรการรับรองความปลอดภัยที่ยุ่งยากทำให้การวางจำหน่ายในตลาดและซุปเปอร์มาเก็ตมีผักผลไม้สดจากต่างประเทศจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับที่ผลิตได้ในประเทศ

ประเทศอิสราเอลมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 20,770 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ของประเทศเป็นแบบเมดิเตอร์

เรเนียนและกึ่งทะเลทราย อากาศร้อนชื้นตลอดปี มีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากนักประมาณ 4.3 ล้านดูนั่ม (Dunams) (1 Dunams มีขนาดเท่ากับ 1,000 ตารางเมตร) ทั้งนี้ เป็นพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ประมาณ 70,000 ดูนั่ม


ผลผลิตทางการเกษตรของอิสราเอล แบ่งเป็นการปลูกผัก 35 % ดอกไม้ 20 % พืชไร่18 % ผลไม้ 15 % และพืชตระกูลส้ม 10 % ส่วนการเกษตรอินทรีย์ของอิสราเอลจะมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1.5 % ของพื้นที่ที่ทำการเกษตรทั้งหมดของประเทศอิสราเอล

ผลผลิตทางการเกษตรของอิสราเอล แบ่งออกเป็นใช้บริโภคภายในประเทศ 37% ใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของประเทศอิสราเอล 34% ใช้เพื่อการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าอื่นๆ 22-23 % 

สำหรับสิ่งที่ประเทศอิสราเอลพึ่งพาจากไทยคือ ทักษะแรงงานภาคเกษตรของชาวไทย ซึ่งคิดเป็น 90% ของแรงงานเกษตรของอิสราเอลทั้งหมด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามชุมชนการเกษตร (Kibbutz หรือ Moshav) ทั่วอิสราเอล

ประเทศไทยกับประเทศอิสราเอลมีความร่วมมือในโครงการ “ความร่วมมือ ไทย – อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน(Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers: TIC)” ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างแรงงานไทยทำงานชั่วคราวในภาคเกษตรในอิสราเอล เพื่อให้แรงงานไทยสามารถเข้าถึงสวัสดิการ ได้รับการคุ้มครอง และมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี ตลอดจนจะได้นำประสบการณ์และความรู้ มาต่อยอด ยกระดับคุณภาพชีวิต นำรายได้เข้าประเทศ

โครงการความร่วมมือดังกล่าว ดำเนินการมา 17 ครั้ง โดยในปี 2566 มีโควต้าแรงงานไทย ไปทำงานภาคการเกษตรที่อิสราเอลกว่า 6,500 คน ซึ่งผลของการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม – 20 มีนาคม 2566 ประเทศไทยได้ส่งแรงงานการเกษตรไปทำงานที่อิสราเอลแล้ว เป็น 1,513 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 1,480 คน และเพศหญิง 33 คน 

ทั้งนี้แรงงานทั้งหมดได้ผ่านการอบรมคนหางานก่อนการเดินทาง มีระยะเวลาจ้างงานครั้งแรก 2 ปี และสามารถต่อสัญญาจ้างได้อีก 3 ปี 3 เดือน โดยลักษณะของงานที่แรงงานไทยไปทำงานได้แก่ ทำสวนดอกไม้ ปลูกกระบองเพชรปลูกมะเขือเทศ กล้วย แตงโม ฟักทอง รวมทั้งในกิจการปศุสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงวัว หมู ไก่ และผึ้ง 

นอกจากงานด้านการเกษตรแล้ว จะมีการขยายความร่วมมือไปยังภาคส่วนอื่นในอนาคต เช่น การขยายตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า มูลค่าการค้าการนำเข้าส่งออกของอิสราเอลในช่วงเดือนธันวาคม 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 ในภาพรวมแนวโน้มไม่ดีนัก มีมูลค่าลดลง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์ความรุนแรงไม่สงบในเขตเวสต์แบงค์และฉนวนกาซาที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประท้วงรัฐบาล.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร