ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังท่องเที่ยวฟื้นตัวแรง

กรุงเทพฯ 11 เม.ย.-ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์ เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยระบุดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 โดยปัจจัยสำคัญผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่การท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนทั้งการท่องเที่ยวของคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ยังคงกังวลค่าครองชีพสูงจะกระทบรายได้โดยรวม


รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์ เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม 2566โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่การท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนทั้งการท่องเที่ยวของคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่เริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำให้ประชาชนรู้สึกผ่อนคลายเรื่องค่าครองชีพลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้นทุกรายการอย่างมีนัยสำคัญ 

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ยังทรงตัวสูงรวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเงินของโลก และสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลลบต่อการส่งออกของไทยทำให้การส่งออกในช่วงนี้หดตัวลงและมีผลกระทบในเชิงลบต่อกำลังซื้อของประชาชนในทุกภูมิภาค


นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 48.0 50.9 และ 62.5 ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์ ที่อยู่ในระดับ 46.8 49.9 และ 61.2  ตามลำดับ แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวขึ้น ซึ่งดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนยังคงกังวลในสถานการณ์โควิดในประเทศไทยและทั่วโลกที่ยังคงมีอยู่แม้ว่าจะคลายตัวลงก็ตาม ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ที่ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 52.6 เป็น 53.8 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้าจากวิกฤต COVID-19 อัตราเงินเฟ้อสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเข้ามาซ้ำเติม ยิ่งส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบอย่างมากต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้ 

ส่วนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้น จากระดับ 37.0 เป็น 38.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมาเช่นเดียวกัน โดยปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 60.2 มาอยู่ที่ระดับ 61.4 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องทุกรายการ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มกลับมาเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้น และจะเริ่มจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้


อย่างไรก็ตาม มองว่า สถานการณ์การเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้น จะเป็นตัวแปรสำคัญ ในการสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เริ่มตั้งแต่เม็ดเงินจากการเลือกตั้งในช่วงการรณรงค์หาเสียง 1-1.2 แสนล้านบาท การจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพหากสามารถจัดตั้งได้โดยไม่มีการเมืองนอกสภา เชื่อว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว ได้ที่ร้อยละ 3-3.5 ขึ้นอยู่กับปัจจัยสถานการณ์การเมืองเป็นหลัก เพราะในช่วงไตรมาสที่ 3-4 อาจเกิดช่วงสูญญากาศทางเศรษฐกิจได้ หากจัดตั้งรัฐบาลไม่ราบรื่น เนื่องจากการพิจารณางบประมาณจะล่าช้า .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้ห้องพักคอนโดฯ หรูกลางเมืองพัทยา

เพลิงไหม้คอนโดมิเนียมหรูกลางเมืองพัทยา จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ระดมรถน้ำควบคุมเพลิงได้ทัน ทำให้ไฟไม่ลุกลามห้องข้างเคียง

จับ “ใบเฟิร์น” อินฟลูฯสาวชื่อดัง โพสต์ชวนเล่นพนันออนไลน์

ตำรวจไซเบอร์ รวบ “ใบเฟิร์น กุลธาดา” อินฟลูฯ สาวแนวเซ็กซี่ ผู้ติดตามหลักล้าน แปะลิงก์เว็บพนันออนไลน์ เจ้าตัวยอมรับ ทำมาแล้ว 2-3 เดือน

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

ข่าวแนะนำ

นายกฯคุยทรัมป์

“แพทองธาร” นายกฯ สนทนาทางโทรศัพท์กับ “โดนัลด์ ทรัมป์”

“แพทองธาร” นายกฯ สนทนาทางโทรศัพท์ กับ “โดนัลด์ ทรัมป์” แสดงความยินดีชนะเลือกตั้งยืนยัน ประเทศไทยพร้อมทำงานกับสหรัฐฯ ด้าน “ทรัมป์” ชื่นชม นายกฯ

ศาลยกฟ้อง “ชัยวัฒน์” คดีอดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ ฟ้องปมจับส่วย

ศาลยกฟ้อง “ชัยวัฒน์” ไม่ผิดคดี “รัชฎา” อดีตอธิบดีกรมอุทยาน ฟ้องแจ้งความเท็จ กลั่นแกล้งรับโทษ ปมรับส่วย 9.8 หมื่นบาท ชี้เป็นการแจ้งข้อมูลข้อเท็จจริงไม่ได้แต่งเติม

สงครามทำทองพุ่ง

หวั่นสงคราม ราคาทองคำ-น้ำมัน กลับมาขยับขึ้น

ราคาทองคำไทยเช้านี้ขยับขึ้นตามตลาดโลก ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นเช่นกัน เพราะหวั่นสงครามยูเครน-รัสเซียรุนแรงขยายวง