รวบหนุ่มใหญ่อ้างเป็นนายหน้า หลอกซื้อที่ดินหวังเก็งกำไร

กองปราบ รวบหนุ่มใหญ่ อ้างเป็นนายหน้า หลอกซื้อที่ดินชาวบ้าน หักค่าหัวคิวร้อยละ 2 ผู้เสียหายหลงเชื่อหลายราย สูญเงินนับแสนบาท

ดีป้าเผยโควิด-19กระทบดัชนีความเชื่อมั่นดิจิทัลไทย

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. ดีป้าเผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ชี้โควิด-19 กระทบธุรกิจดิจิทัลสวนทางจำนวนผู้ใช้งาน  นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า จากการทำการสำรวจ Digital Industry Sentiment Index โดนรวบรวมข้อมูลทั้งดัชนีชี้วัดระดับสากล และฐานข้อมูลที่ดีป้าสำรวจเองทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการที่เป็นฐานข้อมูลและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัล และความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สำรวจและนำเสนอผลรายไตรมาส ตลอดจนการสำรวจฝั่งผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมโดยในระยะแรกมุ่งเน้นที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการผลิตเป็นอันดับแรก และจะขยายผลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นและภาคบริการต่อไปในอนาคตอันใกล้ พบว่าแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลมีความสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งสามารถบ่งชี้ว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและมีการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพราะดิจิทัลกลายเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในการขับเคลื่อนธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตามเรายังขาดแคลนเรื่องกำลังคนดิจิทัล ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มสำคัญในการสร้างความได้เปรียบ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมดิจิทัลไทย  นายณัฐพล กล่าวอีกว่า ด้านกำลังคนดิจิทัลที่มีศักยภาพ ความสามารถสูง มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้เติบโตในตลาดโลก บัณฑิตที่จบใหม่ ต้องพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีทักษะตามที่ตลาดแรงงานดิจิทัลต้องการ ทำงานได้ทันที จึงต้องมีการ Upskill หรือ Reskill ก่อนที่บัณฑิตเหล่านี้จะเข้าสู่ตลาด ดัชนีความเชื่อมั่นจึงเป็นเสียงสะท้อนว่านโยบายที่ภาครัฐใช้นั้นเกิดผลสำเร็จได้จริงหรือไม่ หากค่าดัชนีฯ ต่ำหมายถึง ภาคธุรกิจไม่มีความเชื่อมั่นในนโยบายของรัฐและการทำงานของภาครัฐ เพราะฉะนั้น ดัชนีฯ จึงเป็นเสียงสะท้อนโดยตรงจากผู้ประกอบการดิจิทัล” ผอ.ใหญ่ ดีป้า กล่าวเสริม ทั้งนี้ในเชิงรายละเอียดจากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ระดับ 43.4 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ชี้ว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่างรุนแรงในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ แม้ว่าในช่วงการะบาดของโควิด-19 จะมีผู้ใช้ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดก็ตาม แต่ผู้ประกอบการดิจิทัลส่วนใหญ่ระบุว่าโควิด-19 ทำให้ผลประกอบการโดยรวมลดลง เนื่องจากขาดแคลนแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการขับเคลื่อนธุรกิจ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขาดแคลนแรงงานที่ตรงกับสายงานที่กิจการต้องการ  “ในไตรมาสที่ 3/2563 นี้ ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.8 เป็นผลมาจากรัฐบาลเพิ่งผ่อนคลายมาตรการการควบคุมโรคโควิด-19 และเร่งฟื้นฟูธุรกิจหลังจากผ่านวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการดิจิทัลเริ่มได้รับการจ้างดำเนินงานหรือมีโครงการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน ภาคการศึกษานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการดิจิทัลมีผลประกอบการดีขึ้นแต่ยังไม่กลับสู่สถานการณ์ปกติ  คาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล จะปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 61.2 เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทุกภาคส่วนเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น Cloud Technology, Software, Social Media, Online Entertainment และ Online Payment มาปรับใช้ในการทำงานหรือเกิดDigital Transformation องค์กรมากขึ้น” นอกจากนี้ ดีป้าได้ศึกษาเพิ่มเติมควบคู่กับ มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลปี 2561-2562 คาดการณ์ 3 ปี ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์กำลังประสบปัญหา จากมูลค่าตลาดฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มลดลง ฉุดรั้งให้มูลค่าตลาดฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะปรับตัวลดลงตามไปด้วย จาก 303,168 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 299,342 ล้านบาทในปี 2562 โดยปัจจัยหลักเกิดมาจากการบริโภคอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ลดลง และเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในรูปแบบบริการมากขึ้นพร้อมทั้งแทนที่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าถึงบริการดิจิทัลมากขึ้นจากอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้มูลค่าตลาดบริการดิจิทัลเติบโตขึ้นสวนทางกับตลาดฮาร์ดแวร์ที่มูลค่าตลาดลดลง แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะบ่งชี้ว่า ในภาพรวมผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะก็ยังคงต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภาครัฐ ทั้งในด้านการด้านการแข่งขันทางด้านดีไซน์ การสร้างตลาดใหม่ของกลุ่มฮาร์ดแวร์ที่จะต้องผลักดันให้ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ผลิต แล้วส่งออก แต่ต้องมีตลาดภายในประเทศ นายณัฐพล กล่าวถึงการพัฒนากำลังคนดิจิทัลว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลจะสอดคล้องกับการจ้างงานที่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านดีไซน์ ด้าน Machine Learning และในการเพิ่มผลิตผลในอุตสาหกรรมดิจิทัล เพราะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน ขณะเดียวกัน ทักษะแรงงาน ควรจะเป็นแรงงานที่มีทักษะ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น Data Analytic หรือ Data Engineering -สำนักข่าวไทย.

คู่ชิงรอง ปธน.สหรัฐดีเบตปกป้องคู่ชิง ปธน.

การโต้วาทีหรือดีเบตระหว่างรองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์จากพรรครีพับลิกัน และ ส.ว.คามาลา แฮร์ริสจากพรรคเดโมแครตบรรยากาศเป็นไปอย่างราบเรียบ มีการขัดจังหวะกันเล็กน้อย แต่ได้เนื้อหาสาระ

ชี้ พ.ร.บ.คำสั่งเรียกขัด รธน. มีผลผูกพันรัฐสภา

รัฐสภา 8 ต.ค. – นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา  ยังไม่เห็นรายละเอียดคำวินิจฉัยเต็ม กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ว่า พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2545 มาตรา 5  ที่บัญญัติอำนาจของคณะกรรมาธิการในการออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด   หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำ หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาอยู่นั้นได้  มาตรา  8  ที่บัญญัติขั้นตอน การออกคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ  และมาตรา  13 ที่กำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ขัดหรือแย้งและมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา  129  อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับรัฐสภาแล้ว จากนี้ขอรอดูว่าจะมีผลต่อการทำงานกรรมาธิการอย่างไรบ้าง และต้องไปดูว่ามีกรรมาธิการกี่ชุดที่ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. คำสั่งเรียก .- สำนักข่าวไทย 

คู่มือป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. 63 – ดีอีเอส เตรียมออกคู่มือแนะนำทางปฏิบัติ ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ภายในสัปดาห์หน้า นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่าที่ประชุมได้ยกกรณีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลสระบุรีที่ถูกแฮคข้อมูลเรียกค่าไถ่(Ransomware) จากกรณีนี้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับพี่น้องประชาชนทราบ เพื่อหาทางป้องกันภัยทางไซเบอร์ในเบื้องต้น โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประชาชนทั่วไป  ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA จัดทำหนังสือแนะนำวิธีป้องกันข้อมูลสำคัญส่วนตัวเบื้องต้น ซึ่งจะออกเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภายในสัปดาห์หน้า ระดับภาคธุรกิจเอกชนที่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ แนะนำวิธีป้องกันข้อมูลเบื้องต้น ก่อนที่จะเกิดเหตุ จากนั้นจึงจะให้ไทยเซิร์ต ในฐานะศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(National CERT) เข้าไปช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติให้  ตามลำดับ และระดับองค์กรภาครัฐ องค์กรใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องวางระบบป้องกันข้อมูลก่อน เกิดความเสียหาย รัฐมนตรีดิจิทัลฯ กล่าวอีกว่า พบว่ามีความพยายามจะแฮคข้อมูลของภาครัฐตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องหาทางป้องกันรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้เอาไว้  โดยแต่ละหน่วยงานโดยเฉพาะภาครัฐรวมถึงโรงพยาบาล  จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ด้านไอทีที่ดูแลเทคนิคของตัวเองเข้าอบรมกับไทยเซิร์ต เพื่อให้ทราบถึงการดูแลระบบ รวมถึงวิธีการป้องกันรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเบื้องต้นก่อน ให้สามารถแก้ปัญหาและป้องกันเหตุก่อนล่วงหน้า สำหรับแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นในการจัดเก็บข้อมูลสำคัญส่วนตัว และข้อมูลองค์กร ควรปฏิบัติดังนี้  1. จัดทำ หรือทบทวนแนวนโยบายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงาน 2. สำรองข้อมูลที่สำคัญ  3. ควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายสารสนเทศ 4. ประเมินความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ 5. จัดเก็บบันทึกกิจกรรม (log) ในพื้นที่จัดเก็บส่วนกลางที่มีการควบคุมการเข้าถึงอย่างรัดกุม 6. ทบทวน และยกเลิกบริการที่ไม่จำเป็นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ 7. กำหนดเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในระดับบริหารกับระดับปฏิบัติการ 8. ให้ความรู้ผู้ใช้งานในหน่วยงาน เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ .-สำนักข่าวไทย

เลื่อนนักท่องเที่ยวเข้าไทยลอตแรก หลัง 25 ต.ค.

เลขาฯสมช. ชี้ เลื่อนนักท่องเที่ยวเข้าไทย ล็อตแรก หลัง 25 ต.ค. เหตุคนไทยเดินทางเที่ยวภูเก็ตจำนวนมากเทศกาลกินเจ รับ ที่ประชุม ศบศ. นักธุรกิจ ของดเว้นกักตัว 14 วัน เตรียมถก ศบค. ยก ผบ.ทบ.สหรัฐฯ เป็นโมเดล

เสียงสะท้อน : กรุงเทพชีวิตดีๆที่ลงตัว?

กรุงเทพชีวิตดีๆที่ลงตัว? ฝนตก รถติด น้ำท่วม ล่าสุดกรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศช่วงวันที่ 7-9 ต.ค.นี้ไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากกรุงมีวิธีไหนบ้างในการรับมือกับน้ำท่วม?

บอร์ดกมช.เลือกปรัชญาเฉลิมวัฒน์ เป็นเลขาธิการ

กรุงเทพฯ 7 ต.ค. รองนายกฯ เห็นชอบแต่งตั้ง “พลโทปรัชญา เฉลิมวัฒน์” เป็นเลขาธิการ กมช. ตามผลการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหา พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ครั้งที่ 3/2563 วันนี้  (7 ต.ค.) พร้อมด้วยคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งพลโทปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ตามผลการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหา พลเอกประวิตร กล่าวว่า ในวันนี้ถือได้ว่าเป็นการสร้างและผลักดันความคืบหน้าในการขับเคลื่อนกลไกการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ โดยมีการแต่งตั้งเลขาธิการ เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อน สกมช. และทำหน้าที่ที่กฎหมายไซเบอร์กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป พร้อมทั้งมอบหมายให้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาว่าจ้างเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อให้สามารถเข้าปฏิบัติงานได้โดยเร็ว โดยวาระพิจารณาแต่งตั้งเลขาธิการ กมช. ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการตามที่กฎหมายไซเบอร์กำหนดคือเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งถือเป็นอำนาจหน้าที่ที่สำคัญในช่วงแรกของคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ “ในการทำงานที่ผ่านมาของบอร์ดไซเบอร์ฯ เราได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) เรียบร้อยแล้ว และได้มีการอนุมัติโครงสร้างของสำนักงานฯ แล้ว และมีการดำเนินการในส่วนของการจัดสร้างที่ตั้งของสำนักงาน งบประมาณและข้อบังคับต่างๆที่ /เกี่ยวข้องแล้ว จึงสามารถแต่งตั้งเลขาธิการได้” พลเอกประวิตรกล่าว นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ผ่านมาระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2563 ในการเตรียมการตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) ภารกิจจัดทำแผนการดำเนินงานตามมาตรา13 ตามอำนาจหน้าที่ของ กกม. มีการจัดทำกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และจัดทำแนวทางกำหนดหลักเกณฑ์บริการที่จัดเป็นบริการที่สำคัญ (Critical Services) และหน่วยงานควบคุมกำกับหรือดูแลหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ อีกทั้งมีการเตรียมการตามหน้าที่และอำนาจของของคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) อาทิ จัดทำร่างกรอบโครงสร้างและอัตรากำลัง จัดทำร่างแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี(พ.ศ.2563 – 2565) จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณปี 2564 – 2565 ในการขอทุนประเดิม จัดทำร่างคำขอจัดกลุ่มองค์การมหาชนของ สกมช. จัดทำร่างข้อบังคับ กบส. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล และจัดทำร่างข้อบังคับ กบส. ว่าด้วยการบริหารงานการเงิน บัญชี งบประมาณ และทรัพย์สิน และภารกิจที่สำคัญอีกด้านคือ การจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงฯ อยู่ระหว่างดำเนินขั้นตอนการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562-สำนักข่าวไทย.

1 182 183 184 185 186 440