fbpx

ไข่ไก่ขึ้นราคา เหตุร้อน ทำผลผลิตลด-ฟองเล็ก

กรุงเทพฯ 17 เม.ย. – เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกาศปรับขึ้นราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มอีก 20 สตางค์ หรือขึ้นอีกแผงละ 6 บาท สาเหตุเพราะอากาศร้อน ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ลดและขนาดฟองเล็กลง สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ คาดราคาอาจปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย


เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด ออกประกาศแจ้งสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ปรับราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกรขึ้นอีกฟองละ 20 สตางค์ หรือแผงละ 6 บาท ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2567 เป็นต้นไป ส่งให้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับจากฟองละ 3.40 บาท เป็น 3.60 บาท หรือแผงละ 108.00 บาท

 สำหรับราคาไข่ไก่ตามขนาด ประจำวันที่ 17 เมษายน 2024 มีดังนี้


  • ไข่ไก่ เบอร์ 0 ราคา 4.10 บาท/ฟอง ราคา 123.00 บาท/แผง
  • ไข่ไก่ เบอร์ 1 ราคา 3.90 บาท/ฟอง ราคา 117.00 บาท/แผง
  • ไข่ไก่ เบอร์ 2 ราคา 3.70 บาท/ฟอง ราคา 111.00 บาท/แผง
  • ไข่ไก่ เบอร์ 3 ราคา 3.60 บาท/ฟอง ราคา 108.00 บาท/แผง
  • ไข่ไก่ เบอร์ 4 ราคา 3.50 บาท/ฟอง ราคา 105.00 บาท/แผง
  • ไข่ไก่ เบอร์ 5 ราคา 3.40 บาท/ฟอง ราคา 102.00 บาท/แผง
  • ไข่ไก่ เบอร์ 6 ราคา 3.30 บาท/ฟอง ราคา 99.00 บาท/แผง

นายชาณุวัฒณ์ สิวะโมกข์ รองเลขานุการสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวว่า สภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้แม่ไก่มีความเครียด จึงออกไข่น้อยลงและขนาดฟองเล็กลง ทำให้ปริมาณไข่ไก่ในตลาดลดลง 10-15% ประกอบกับต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยเกษตรกรรายย่อยที่ส่วนใหญ่เลี้ยงไก่ในโรงเรือนแบบเปิด ใช้วิธีฉีดพ่นละอองตามโรงเรือนและบนหลังคา เพื่อลดความร้อน เกษตรกรหลายพื้นที่ต้องซื้อน้ำมาทั้งเพื่อให้แม่ไก่กิน และฉีดพ่นละอองลดความร้อนในโรงเรือน ส่วนโรงเรือนปิดแบบอีแวป ต้องเปิดระบบทำความเย็นที่ต้องใช้น้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น กลุ่มเกษตรกรรายย่อยจึงจำเป็นต้องปรับเพิ่มราคาไข่ไก่หน้าฟาร์ม โดยคาดการณ์ว่า ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มยังจะปรับขึ้นได้อีกเล็กน้อย เนื่องจากยังเหลือเวลาอีกกว่าครึ่งเดือนที่จะเข้าสู่ฤดูฝน

สำหรับการปรับขึ้นราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มครั้งนี้ ไม่ใช่ราคาสูงสุดในปี 2567 โดยเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้ปรับขึ้นราคาไข่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร จาก 3.50 บาท มาอยู่ที่ฟองละ 3.80 บาท โดยปรับขึ้น 30 สตางค์ หรือแผงละ 9 บาท

จากนั้นวันที่ 15 มกราคม 2567 เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกาศปรับลดราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร จากฟองละ 3.80 บาท มาอยู่ที่ฟองละ 3.60 บาท โดยปรับลงฟองละ 20 สตางค์ หรือแผงละ 6 บาท


ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2567 เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ แจ้งราคาแนะนำไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร อยู่ที่ฟองละ 3.40 บาท จากราคาก่อนหน้านี้อยู่ที่ฟองละ 3.60 บาท โดยปรับลดลง 20 สตางค์ หรือแผงละ 6 บาท แล้วคงราคาต่อเนื่อง จนมีการปรับขึ้นในวันนี้เป็นฟองละ 3.60 บาท จากสาเหตุปริมาณไข่ไก่ในตลาดลดลง เพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ลดลงดังกล่าว.-512-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผู้อพยพจากไทยคว้าแจ็กพอตเพาเวอร์บอล

ผู้อพยพจากไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐดวงเฮง คว้ารางวัลแจ็กพอตลอตเตอรี่เพาเวอร์บอล ได้เงินรางวัลสูงถึง 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“ซูเปอร์โพล” เผยผลสำรวจสเปก “ผบ.ตร.คนใหม่” ต้องซื่อสัตย์สุจริต

“ซูเปอร์โพล” เผยผลสำรวจสเปก “ผบ.ตร.คนใหม่” ต้องซื่อสัตย์สุจริต ชี้ประชาชนเบื่อมากข่าวนายตำรวจระดับสูง ควรเร่งทำงานสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน

นายกฯ บอกขอโทษ “ปานปรีย์” แล้ว ไม่ขัดแย้ง

นายกฯ เผยขอโทษ “ปานปรีย์” แล้วหลังหลุดรองนายกฯ รับมีทั้งคนพอใจ ไม่พอใจ ยันสัมพันธ์ลูกเป็นเพื่อนกัน ไม่ขัดแย้ง เชื่อคนใหม่สานต่องานได้  

“ปานปรีย์” รับยื่นลาออก หลังถูกปรับพ้นรองนายกฯ

“ปานปรีย์” ยอมรับยื่นลาออก หลังถูกปรับออกจากรองนายกฯ ชี้หากไม่มีตำแหน่งพ่วงอาจทำงานไม่ราบรื่น ลั่นหากมีคนอื่นเหมาะสมกว่าให้มาทำงานแทน

ข่าวแนะนำ

“ทนายตั้ม” เดินหน้ายื่น ปปง.ยึด-อายัดทรัพย์สินภรรยา “บิ๊กตำรวจ”

“ทนายตั้ม” รุกคืบยื่น ปปง. ยึด-อายัดทรัพย์สินภรรยา “บิ๊กตำรวจ” ที่ได้จากการฟอกเงินเว็บพนัน พร้อมเปิดตัวละครใหม่ “สารวัตร สาวหล่อ” ให้ ปปง.ตรวจสอบด้วย

ผู้อพยพจากไทยคว้าแจ็กพอตเพาเวอร์บอล

ผู้อพยพจากไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐดวงเฮง คว้ารางวัลแจ็กพอตลอตเตอรี่เพาเวอร์บอล ได้เงินรางวัลสูงถึง 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI แล้ว

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” สินค้า GI รายการใหม่ ประจำจังหวัดตราด เนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติหวาน มัน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน