จ.น่าน 27 ส.ค.-นายเอกนิติ นิตทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) กล่าวในงานสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิรูปและแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ว่า สคร. ได้ช่วยขับเคลื่อนนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐผ่านการใช้จ่ายงบลงทุนด้วยการเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 1 ตุลาคม 58 ถึง ไตรมาส 2 ปีนี้หรือไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 59 ได้ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตจากการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในสิ้นปีที่ผ่านมา ได้ขยับมาเป็นร้อยละ 3.5 ในไตรมาส 2 ปี 2559 เนื่องจากผลจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยไม่สามารถขยายตัวร้อยละ 4-5 เนื่องจากขนาดการลงทุนภาครัฐและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจรวมกัน มีสัดส่วนเพียยงร้อยละ 6 ของเศรษฐกิจประเทศเท่านั้น
สำหรับการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 59 มีเป้าหมาย 124,000 ล้านบาท ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา นำส่งรายได้ 116,000 ล้านบาท จากเป้าหมาย 110,000 ล้านบาท นับว่าเกินเป้าหมาย 6,000 ล้านบาท ส่วนการลงทุนร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP)นั้น ครม.อนุมัติแล้ว 3 โครงการได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน วงเงินรวม 334,000 ล้านบาท คาดว่าเม็ดเงินทยอยเบิกจ่ายออกสู่ระบบ นับว่าการสร้างรถไฟฟ้าได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนลงทุน สร้างคอนโดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า นอกจากนี้ยังที่ประชุมคณะกรรมการ PPP โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมสตรีเป็นประธาน พิจารณาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง และ กรุงเทพ-หัวหิน
ส่วนการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ 7 แห่ง ในส่วนธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IBank) ได้เตรียมจัดตั้ง AMC หรือ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ในช่วง เดือน ก.ย.นี้ เพื่อแยกภาระหนี้ที่ไม่ก่อ ให้เกิดรายได้จำนวน 53,000 ล้านบาทแยกออกมาบริหาร ส่วนรูปแบบของการจัดตั้ง AMC เนน้นเป็นแบบขนาดเล็กที่สุด ด้วยการจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ได้มาจาก IBank เนื่องจากไม่ต้องการ ตั้งรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ขึ้นมาอีก คาดว่าเสนอ ครม.ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ผ่านการเพิ่มทุนกว่า 10,000 ล้านบาท โดยขอสรุปตัวเลขเพิ่มทุนให้ชัดเจนอีกครั้ง ขณะที่ไอแบงก์กำลังหาพันธมิตรเข้าร่วมถือหุ้น เนื่องจากปัจจุบันพัธมิตรบางรายแม้สนใจเข้ามาถือหุ้น แต่ยังกังวลเรื่อง ติดลบถึงร้อยละ 20 จึงขอให้มีการแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าว เพราะได้ตั้งราคาขายในราคาตามบัญชี
ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตามสัญญาเช่าที่ดิน ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีที่ดินปล่อยเช่าถึง 36,000 ไร่ จึงต้องหาผลประโยชน์จากที่ดินให้มากที่สุด โดยค่าเช่าที่ดินจะต้องเป็นไปตามราคาณปัจจุบัน สำหรับการแก้ปัญหา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) และบริษัท ทีโอที จำกัด (TOT) ปัจจุบันมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานซ้ำซ้อน ดังนั้นคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) จึงแบ่งให้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของประเทศ หากเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศมอบหมายให้ TOTรับผิดชอบ ส่วนต่างประเทศมอยหมายให้ลงทุน โดย CAT
ส่วนการแก้ปัญหาขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ปัจจุบันประสบภาวะขาดทุนจำนวนมาก จึงได้มีการฟื้นฟูองค์กรผ่านการแยกหน้าที่กำกับดูแลโอนไปให้กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ขณะที่ที่ขสมก. ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนเท่านั้น สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ปัจจุบันผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นจากเดิมขาดทุน แต่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาผลประกอบการมีกำไรดีขึ้นจากการปรับประสิทธิภาพการทำงาน -สำนักข่าวไทย