ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ 1 พ.ค.- “พิชัย” พร้อมเจรจาสหรัฐ คาดจีดีพีไตรมาสแรกโต 2.5% รับหนักสุดในไตรมาส 3 มุ่งขยายแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” กลุ่มลูกหนี้ 1 หมื่นบาท/ราย
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดงานงาน “MOF Journey 150 ปี เส้นทางการคลังไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง ว่า สงครามทางการค้ายอมรับว่าส่งผลกระทบกับประเทศต่างๆอย่างรุนแรงทั่วโลก คาดว่าผลสุดท้าย คาดว่าเจรจาร่วมกันได้ และยังมองว่าจีดีพีไตรมาสแรกปี 68 ขยายตัว 2.5 จากนั้น เจอปัญหาหนักสุดช่วงไตรมาส 3 จึดีพีอาจลดลง ถึงแม้ไทยมีภาระหนี้สาธารณะร้อยละ 64 ของจีดีพี แต่รัฐบาลกู้เงินในประเทศสัดส่วนร้อยละ 98 และกู้ต่างประเทศเพียงร้อยละ 1 จึงไม่มีปัญหาความเสี่ยงการกู้เงินต่างประเทศ
เพื่อรองรับปัญหาสงครามทางการค้า โดยใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 5 แสนล้านบาท เพื่อนำมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ รองรับการฟื้นเศรษฐกิจไทยในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า โดยเฉพาะการลงทุนป้องกันปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม การยกระดับภาคเกษตร เพื่อนำมามาผลิตเพื่อการส่งออก การปรับปรุงสนามบิน แหล่งท่องเที่ยว รองรับการท่องเที่ยวขายตัว รวมถึงการผลักดันภาคเอกชน ทั้งนักลงทุนและต่างชาติลงทุนให้มากขึ้น ดังนั้นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ได้ใช้เงินจากรัฐบาลเพียงด้านเดียว สำหรับการปรับงบปี 69 ต้องหารือในชั้นกรรมาธิการในสภาเพื่อปรับงบประมาณมารองรับ สัดส่วนการกู้เงินมาใช้อาจไม่สูงมากนัก
หลังจากรัฐบาลได้ออกมาตรการ ”คุณสู้ เราช่วย“ สำหรับกลุ่มลูกหนี้ 1 แสนบาท/ราย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้มีปัญหาหนี้ NPL ยอดหนี้ 10,000 บาท/ราย โดยแบ่งกลุ่มเป็น แบงก์รัฐ ธนาคารพาณิชย์ และกลุ่ม Non Bank คลังจึงเตรียมหารือกับนายแบงก์ทุกกลุ่ม คาดว่าในช่วง 2 เดือนหนี้ จะนำร่องแก้ปัญหาหนี้กับแบงก์รัฐ เพื่อปรับเงื่อนไข เสนอครม.พิจารณาในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ หลังจาก ธ.ออมสิน แก้ปัญหาได้แล้ว 4 แสนราย ธ.ก.ส. แก้ปัญหา 2.5 แสนราย สำหรับกลุ่ม Non Bank เน้นกลุ่มลูกค้า บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล วงเงินประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาท
เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหากลุ่มลูกหนี้รายย่อย 3 ล้านราย จากลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย 5.4 ล้านราย สำหรับกลุ่มหนี้คงค้างกว่า 1 แสนบาท/ราย จำนวน 2 ล้านราย จึงมุ่งให้ธนาคารเจ้าของบัญชี ใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้มากกว่า 1 ล้านบาท/ราย นับว่ามูลหนี้สูงถึง 5 แสนล้านบาท จึงต้องใช้แนวทางเจรจา ปรับโครงสร้างหนี้ หากสรุปแผนทั้งหมด จะทยอยเสนอ ครม.พิจารณา เพื่อเร่งแก้ปัญหาหนี้รายย่อยระดับมูลหนี้ต่ำกว่าเฟสแรก ผ่านโครงการ “คุณสู้ เราช่วย”
ศาสตราจารย์เกียติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลังจาก “ทรัมป์” ประกาศขึ้นภาษีศุลกากรกับทุกประเทศ นับเป็นโจทย์ใหญ่กับหลายประเทศทั่วโลก ทำให้สงครามทางการค้า กลายเป็นความตึงเครียดของมหาอำนาจโลก มีทั้งสงครามการค้า สงครามการเงิน สงครามเทคโนโลยี สงครามข่าวสาร นำไปสู่การสะสมอาวุธตามมา ย้ำวิกฤติเศรษฐกิจของไทยจะหนักขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทุกคนต้องเตรียมเงินสดในกระเป๋า ต้องเตรียมตัวอย่างซีเรียส สถานการณ์ขณะนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นำไปสู่ปัญหาชีวิต ทำให้การใช้จ่ายขัดสนได้ในแต่ละครอบครัว
ดร.สุรชาติ หวั่นวิกฤติเศรษฐกิจเหมือนปี 40 ในเวอร์ชั่น “ทรัมป์” รัฐบาลต้องเตรียมรองรับหลายด้าน เตรียมภาคการผลิต การผลิตอะไร การผลิตภาคอุตสหากรรม นำเข้า ส่งออก รองรับการปิดตัวของหลายกิจการ การเตรียมการยกระดับภาคเกษตร การนำเข้าเนื้อวัว เนื้อสุกร อีกไม่นานเจอเรื่องนี้อย่างแน่นอน ในปีนี้ต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวน้อยลง รัฐบาลหวังรายได้จากการเข้ามาท่องเที่ยว เมื่อเศรษฐโลกไม่ดี ต่างชาติย่อมเข้ามาท่องเที่ยวลดลงแน่นอน การเตรียมรองรับทุ่มตลาดจากจีน ทะลักเข้าไทย การตั้งโรงงานสวมสิทธิ์ไทย รัฐบาลต้องจริงจังมากกว่านี้ การเตรียมการรองรับอารมณ์หงุดหงิดของสังคมไทย กลายเป็นวิกฤติทางการเมืองไทย นำไปสู่การเตรียมหาเสียงสำหรับพรรคการเมือง นำไปสู่การแจกเงินมากขึ้นในการเลือกตั้ง
ดร.กิริฎา เภาวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ในทุกวิกฤต มีโอกาสเสมอ ขณะนี้จีนตอบโต้สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 125 คุมเข้มนำเข้าแร่ธาตุหายาก 7 ชนิดสำคัญ เช่น ชิ้นส่วนผลิตเครื่องบินรบ การผลิตแบตเตอรรี่ ชื้นส่วนอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ดังนั้น ต้องติดตามดูว่าหลัง 90 วันในวันที่ 7 ก.ค.68 หลายประเทศ จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีอย่างแน่นอน สำหรับไทย เมื่อกระทบต่อการนำเข้า-ส่งออก ยอมกระทบรายได้ของไทยอย่างมาก ยอมรับทั้งสหรัฐและจีน สำคัญกับไทยอย่างมาก จึงต้องกระจายไปยังตลาดอื่นด้วย
ยอมรับสินค้าจากสหรัฐและจีน จะถูกกว่าการผลิตในประเทศ ผู้ประกอบการต้องระวังในจุดนี้ด้วย เพราะสินค้านำเข้าจะเข้ามาตีตลาดในประเทศ เช่น เครื่องจักรอุปกรณ์ เมื่อมีนักลงทุนจีนเข้ามาขยายการลงทุน จะมีการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรมาขยายการลงทุนในไทย นับว่าเหรียญมีสองด้าน อุตสาหกรรมไทยจึงต้องปรับตัวรองรับสิ่งเหล่านี้ ที่จะมีสินค้าจะสหรัฐและจีนเข้ามาไทยมากขึ้น ในสภาวะเศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน รัฐบาลต้องเตรียมเงินไปช่วยเหลือต่างๆเหมือนปัญหาโควิด-19 ทั่วโลก การแจกเงินไม่ใช่คำตอบสุดท้าย จะใช้เงินไปช่วยเหลือรายย่อย เอสเอ็มอี นับว่าการคลังสำคัญมาก เพื่อไม่ต้องก่อหนี้เพิ่มในอนาคต เพราะการโดนลดเรตติ้งประเทศ กระทบรัฐบาล เอกชนกู้เงินจะได้รับผลกระทบอย่างมาก.-515.-สำนักข่าวไทย