ม.ค.68 ธุรกิจตั้งใหม่พุ่งกว่า 8.8 พันราย จดเลิกลดลง  

นนทบุรี 25 ก.พ. – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย ม.ค.68 ธุรกิจตั้งใหม่พุ่งกว่า 8.8 พันราย จดเลิกลดลง ต่างชาติลงทุนในไทย 103 ราย มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 223% ขณะที่ “ธุรกิจความงาม” ติดดาวเด่น โกยรายได้กว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี โตตามเทรนด์รักสุขภาพ ปรับลุคให้ดูดี เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า อิทธิพลจากโซเชียลมีเดีย


นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าวิเคราะห์สถานการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เดือนมกราคม 2568 พบว่า มีธุรกิจจัดตั้งใหม่ 8,862 ราย เพิ่มขึ้น 4,485 ราย (102%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (4,377 ราย) และทุนจดทะเบียนรวม 24,951 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,056 ล้านบาท (8.98%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (22,895 ล้านบาท) ในเดือนนี้มีนิติบุคคลที่จดทะเบียนทุนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 ราย ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท ประกอบกิจการ ผลิต จำหน่าย ส่งออก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ด้านธุรกิจที่มีการจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 691 ราย ทุน 1,423 ล้านบาท 2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 612 ราย ทุน 2,039 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 336 ราย ทุน 731 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.80%, 6.91% และ 3.79% ของจำนวนการจัดตั้งธุรกิจในเดือนมกราคม 2568 ตามลำดับ

การจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,431 ราย ลดลง 4,634 ราย (-76.41%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (6,065 ราย) และมีทุนจดทะเบียนเลิก 4,601 ล้านบาท ลดลง 30,501 ล้านบาท (-86.89%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (35,102 ล้านบาท) ในจำนวนนี้มีธุรกิจเลิกประกอบกิจการที่ทุนจดทะเบียนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 ราย ทุนจดทะเบียน 1,568 ล้านบาท ประกอบกิจการนำเข้าและส่งออก ยารักษาโรค เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ทุกชนิด สำหรับประเภทธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 151 ราย ทุนเลิก 264 ล้านบาท 2) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 58 ราย ทุนเลิก 178 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 52 ราย ทุนเลิก 158 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 10.55%, 4.05% และ 3.64% ของจำนวนการเลิกประกอบธุรกิจในเดือนมกราคม 2568 ตามลำดับ


ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2568) มีธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคลรวมทั้งสิ้น 1,973,692 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 30.54 ล้านล้านบาท โดยมีนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ 929,377 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 22.32 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็นบริษัทจำกัด 732,081 ราย หรือ 78.77% ของจำนวนนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด ทุนจดทะเบียนรวม 16.30 ล้านล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดและห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 195,813 ราย หรือ 21.07% ของจำนวนนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด ทุนจดทะเบียนรวม 0.43 ล้านล้านบาท และบริษัทมหาชนจำกัด  1,483 ราย หรือ 0.16% ของจำนวนนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด ทุนจดทะเบียนรวม 5.59 ล้านล้านบาท สำหรับนิติบุคคลในกลุ่มธุรกิจบริการเป็นประเภทธุรกิจที่มีสัดส่วนการจดทะเบียนมากที่สุดมีจำนวน 501,709 ราย ทุนจดทะเบียน 12.98 ล้านล้านบาท รองลงมาคือ กลุ่มธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีก 304,831 ราย ทุน 2.52 ล้านล้านบาท และธุรกิจผลิต 1.23 แสนราย ทุน 6.83 ล้านล้านบาท คิดเป็น 53.98%, 32.80% และ 13.22% ของจำนวนนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ตามลำดับ

คาดการณ์ในไตรมาสแรกของปี 2568 จะมีธุรกิจจดทะเบียนจัดตั้งใหม่อยู่ที่ 27,000-28,000 ราย คิดเป็น 30% ของยอดจดทะเบียนทั้งปี และตลอดปี 2568 จะอยู่ที่ราว 90,000-95,000 ราย โดยอัตราส่วนการจัดตั้งธุรกิจต่อการเลิกธุรกิจในเดือนมกราคม 2568 พบว่าอยู่ที่ 6:1 ซึ่งถือว่ามีการจัดตั้งใหม่ที่เติบโตสูง ขณะที่การเลิกยังต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ย ปี 2567 อยู่ที่ 4:1 และ 5 ปี ย้อนหลัง (2562-2566) อยู่ที่ 3:1 แสดงให้ถึงแนวโน้มที่ดีของภาคธุรกิจในปี 2568

สำหรับการลงทุนของชาวต่างชาติ ประจำเดือนมกราคม 2568 มีการการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 103 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 21 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 82 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,160 ล้านบาท โดยการอนุญาตฯ ในเดือนมกราคม 2568 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากมกราคม 2567 จำนวน 49 ราย (91%) และมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 15,990 ล้านบาท (223%) อย่างไรก็ดี ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยสูงสุด 7 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สูงสุด เงินลงทุน 8,880 ล้านบาท รองลงมาสหรัฐอเมริกา เงินลงทุน 971 ล้านบาท และ จีน เงินลงทุน 3,925 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมี สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมนี


สำหรับในพื้นที่ EEC มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนจำนวน 29 ราย คิดเป็น 28% ของนักลงทุนต่างชาติในไทย เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2567 จำนวน 12 ราย (71%) มูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 12,329 ล้านบาท คิดเป็น 53% ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็นนักลงทุนจากประเทศ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังได้จัดทำข้อมูลธุรกิจเพื่อวิเคราะห์ธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ และเฟ้นหาธุรกิจดาวเด่นที่น่าจับตามอง พบว่า ธุรกิจความงาม มีแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่และมีการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องใน 5 ปีที่ผ่านมา (2563-2567) ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจความงามอยู่ 6,621 ราย ทุนจดทะเบียน 190,160 ล้านบาท หากย้อนไปปี 2563 มีการจัดตั้งนิติบุคคลในธุรกิจนี้ 527 ราย/ปี และก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2566 มีการจัดตั้งใหม่จำนวน 1,161 และ ปี 2567 จัดตั้ง 1,135 ราย 

ขณะที่วิเคราะห์เชิงลึก 3 ปี ย้อนหลัง (2564-2566) สามารถสร้างรายได้ที่สูงเฉลี่ยกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี ประกอบด้วย ปี 2564 รายได้ 304,724 ล้านบาท ปี 2565 รายได้ 354,823 ล้านบาท และปี 2566 รายได้ 363,145 ล้านบาท ด้านการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทยพบว่า มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 2,799 ล้านบาท โดยสัญชาติที่ลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มาเลเซีย 201 ล้านบาท จีน 182 ล้านบาท และสิงคโปร์ 94 ล้านบาท การเติบโตของธุรกิจความงามเป็นผลมาจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกิดค่านิยมทางสังคมที่ซึมซับมาจากโซเชียลมีเดียที่นำเสนอเรื่องราวการดูแลตนเอง ผ่านอินฟลูเอนเซอร์ที่มีบุคลิกที่ดูดี จึงเป็นจุดโน้มน้าวให้ผู้ติดตามต้องการปรับภาพลักษณ์ รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณของตัวเองให้ดูดีขึ้น และสังคมเปิดกว้างกับทำศัลยกรรมมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีวิวัฒนาการมากขึ้น การนำนวัตกรรมด้านความงามมาให้บริการในราคาที่ถูกลง เจ็บน้อยลง แผลเล็กลง และการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง จึงทำให้ลูกค้าไม่ได้จำกัดแค่เพียงผู้หญิงเพียงกลุ่มเดียว แต่ยังขยายลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ชาย กลุ่ม Gen Z ที่เริ่มเข้าสู่สังคมการทำงาน ผู้สูงอายุที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการชะลอวัย และลูกค้าต่างชาติที่จะเข้ามาใช้บริการ จึงเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทยประเภทธุรกิจความงามที่ต้องรีบคว้าไว้.-516-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

แม่อดีตครูสาว ยังติดใจสาเหตุ หลังพบศพในรถลานจอด รพ.

“น้องกิ๊ฟ” อดีตครูหายตัวไปเกือบ 1 เดือน พบอีกทีเป็นร่างไร้วิญญาณในรถยนต์บนลานจอดของโรงพยาบาล ญาติยังติดใจสาเหตุวอนตำรวจตรวจสอบกล้องวงจรปิด ไขข้อสงสัย

บอร์ดคดีพิเศษ เลื่อนโหวตคดีฮั้วเลือก สว.

บอร์ดคดีพิเศษ เลื่อนโหวตคดีฮั้วเลือก สว. เชิญประธาน กกต. ชี้แจง 5 มี.ค. ก่อนเคาะอีกครั้ง 6 มี.ค. เสียงแตก แย้งให้ส่งอนุกรรมการกลั่นกรองคดีพิเศษตามขั้นตอนก่อน ขณะที่กรรมการบางส่วน เสนอรับเฉพาะที่เกี่ยวกับคดีอาญา “ภูมิธรรม” ยันไม่กระทบสัมพันธ์พรรคร่วม “เพื่อไทย-ภูมิใจไทย”

ดินเนอร์พรรคร่วมฯ เริ่มแล้ว “อนุทิน” ขอทุกคนอเมริกันแชร์ค่าอาหาร

ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาลเริ่มแล้ว “อนุทิน” ขอทุกคนอเมริกันแชร์ค่าอาหารหัวละ 7,000 บาท เหตุค่าโรงแรมสูง ก่อนเสิร์ฟสปาเกตตี้ซอสเนื้อ

ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ อายุกว่า 29,000 ปี พื้นที่เขาสามร้อยยอด

กรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับกรมศิลปากร แถลงข่าวค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคน้ำแข็งโบราณ อายุกว่า 29,000 ปี เก่าแก่ที่สุดในไทย ในพื้นที่ อช.เขาสามร้อยยอด เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติ