fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินมันหวานช่วยให้อายุยืน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำให้กิน “มันหวาน” ช่วยให้อายุยืน เพราะมันหวานมีสารอาหารมาก ช่วยป้องกันโรค ทำให้แก่ช้า จริงหรือ ?


🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บางส่วนเป็นเรื่องจริง แต่ข้อมูลบางอย่างก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามันหวานสามารถทำให้คนเราอายุยืนได้


ข้อ 1. มันหวานมีสารอาหารสูงมาก ?

ไม่ว่าจะเป็น ไฟเบอร์ (ใยอาหาร) วิตามิน แร่ธาตุ รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทำให้แก่ช้า ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจ ไฟเบอร์ที่สูงเหล่านี้จะช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมาก จึงทำให้การกินมันหวานไม่ส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดมาก ต่างจากการกินอาหารหวานอื่น ๆ

มันหวานมีไฟเบอร์ (Fiber) สูงจริง มีวิตามินกลุ่มบีตาแคโรทีน (Beta-carotene) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) มีแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญ


ถ้าพูดเรื่องทำให้แก่ช้า มักจะพูดถึงสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) มากกว่า เนื่องจากมันหวานมีปริมาณของ phenolic contents มีกรดฟีนอลิก  (Phenolic) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งส่วนมากมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัดออกมารับรอง

กรณีที่บอกว่า “ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง” เกี่ยวข้องกับเรื่องของบีตาแคโรทีน กลุ่มของฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ มีรายงานถึงความสัมพันธ์ว่าถ้าคนเรากินอาหารที่มีสารกลุ่มนี้มากก็น่าจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งน้อยลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องมาจากมันหวานเท่านั้น 

“โรคหัวใจ” มีสาเหตุหลักจากการได้รับไขมันมากเกินไป แต่ใยอาหารที่มีมากในมันหวานช่วยชะลอการดูดซึมไขมันในร่างกายได้ เป็นการช่วยลดปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจได้

ใยอาหารมีคุณสมบัติช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่ร่างกายได้ อย่างไรก็ตามคงไม่สามารถบอกได้ว่าควรหันมากินมันหวานอย่างเดียว เพราะในมันหวานมีน้ำตาลอยู่จึงควรกินปริมาณที่เหมาะสม ถ้ากินมันหวานมากเกินไปน้ำตาลก็เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างแน่นอน

ถ้าเปรียบเทียบมันหวานกับอาหารหวานชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาหารหวานชนิดอื่นอาจจะไม่มีใยอาหาร ดังนั้น มันหวานก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ข้อ 2. มันหวานช่วยให้ลำไส้แข็งแรง

เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็นต์ถูกสร้างที่ลำไส้ ดังนั้น ถ้าลำไส้แข็งแรงจะช่วยให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ไม่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ทำให้ไม่ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ก็จะช่วยลดโอกาสการตายจากโรคมะเร็ง และการติดเชื้อในกระแสเลือด ก็จะช่วยทำให้อายุยืนนั่นเอง

ถ้าจะพูดเรื่องภูมิคุ้มกัน ก็ต้องกลับไปที่ใยอาหาร เพราะ ณ ตอนนี้ยังไม่มีการสกัดใยอาหารออกจากมันหวาน แล้วนำมาศึกษาพรีไบโอติก (Prebiotic) อย่างชัดเจน ถ้ามีพรีไบโอติกก็สามารถหมักด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้ สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยงการเป็นโรคต่าง ๆ ได้

ข้อ 3. มันหวานช่วยให้มีสายตาที่ดี

มันหวานช่วยให้มีสายตาที่ดี มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) จำนวนมาก ป้องกันไม่ให้สายตาพร่ามัว ไม่ให้มีปัญหาวุ้นในสายตาเสื่อม เมื่อสายตาดีก็จะใช้ชีวิตเคลื่อนไหว ออกกำลังกายได้ปกติ แม้ว่าจะอายุมาก ก็ส่งผลทำให้คนที่มีสายตาดีมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงและอายุยืน  

การที่มันหวานมีส่วนช่วยให้สายตาดีได้ เพราะในมันหวานมีบีตาแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นไปสังเคราะห์เป็นวิตามินเอ และวิตามินเอมีส่วนช่วยบำรุงสายตาทำให้สายตาปรับแสงได้ดีโดยเฉพาะในที่มืด

ส่วนเรื่องที่ว่ามันหวานช่วยป้องกันสายตาพร่ามัว ช่วยป้องกันวุ้นในตาเสื่อมนั้น มีสาเหตุอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (อายุ และ/หรือ พันธุกรรม) อาจจะบอกไม่ได้ว่ามันหวานไปช่วยเรื่องพันธุกรรม ช่วยป้องกันไม่ให้วุ้นในตาเสื่อมได้ ช่วยป้องกันไม่ให้ตาพร่ามัวได้ 

ข้อ 4. มันหวานช่วยให้ความจำดี ป้องกันสมองเสื่อม ช่วยให้สมองแข็งแรง ถ้ามีสมองที่ดีก็ลดโอกาสการเป็นโรคความจำเสื่อมและนอนป่วยติดเตียงได้ ทำให้คนที่มีสมองที่แข็งแรงและความจำที่ดีอายุยืนตามไปด้วย

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ศึกษาเรื่องมันหวานป้องกันสมองเสื่อมหรือช่วยเพิ่มพูนความจำได้

มันหวาน “ไม่สามารถรักษาโรคอะไรได้” แต่การเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารที่ดีและเหมาะสม กินอาหารที่หลากหลาย ได้รับอัตราส่วนสารอาหารที่เหมาะสมทุกอย่างในแต่ละวันเพียงพอ น่าจะมีผลลดความเสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ ได้ดีมากกว่า

 สรุปว่าเรื่องนี้มีข้อมูลบางส่วนที่จริง มันหวานมีประโยชน์ต่อสุขภาพแต่การแชร์ต่อควรบอกด้วยว่า ข้อมูลบางอย่างยังไม่สามารถบอกได้ว่ามันหวานคือสิ่งที่ทำให้อายุยืน

นอกจากนี้ ยังไม่มีการศึกษาโดยตรงว่ามันหวานคืออาหารที่สามารถป้องกันมะเร็งได้

ดังนั้น การเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ที่หลากหลาย รวมทั้งคำนึงถึงข้อจำกัดของร่างกายแต่ละคน จะช่วยให้ได้ประโยชน์มากกว่าโทษ

สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ : กินมันหวานช่วยให้อายุยืน จริงหรือ ?

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้