กทม. 15 ต.ค.-ภาษีสัตว์เลี้ยงกำลังเป็นข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่าควรนำเอามาใช้หรือไม่ และจะสามารถแก้ปัญหาสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่ ส่วนต่างประเทศก็มีตัวอย่างมาให้เห็นที่นำภาษีสัตว์เลี้ยงมาใช้และประสบความสำเร็จ
เช่น ประเทศเยอรมนี จะต้องนำสุนัขไปขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันแรก และต้องเสียภาษีรายปีของสุนัข โดยประมาน 24-100 ยูโร หรือ 908-3,700 บาท
ส่วนประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศแรกของโลกที่ไม่มีสุนัขจรจัด เพราะจะฝังไมโครชิพไว้ข้างหูของสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้การเก็บภาษีจะเก็บตามขนาดของเมืองต่างๆ และภาษาที่ได้จะนำไปซื้อถุงเก็บอุจจาระ เพื่อมาแจกจ่าย และกฏหมายก็เข้มงวด หากคุณทอดทิ้งสุนัข คุยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาน 600,000 บาท
ส่วนที่นิวซีแลนด์ก็เช่นกันมีการฝังไมโครชิฟ ทุกตัว พร้อมป้ายห้อยที่คอเพื่อให้รู้อยู่ที่ไหน เมืองอะไร และเลขประจำตัว
สำหรับญี่ปุ่น ออกกฏหมายใหม่ในปีนี้เอง คือ ห้ามพรากลูกหมา ลูกแมว ออกจากแม่ของมัน 56 หลังคลอด เพื่อไม่ให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ แล้วนำไปทิ้งขว้าง และห้ามซื้อขายสัตว์เลี้ยงก่อน 8.00 น. และ หลัง 20.00 น. เพื่อป้องกันไม่ให้ซื้อขายสัตว์เลี้ยงตลอด 24 ชม.
และสิงคโปร์ กฎหมายเข้มงวดที่สุดในอาเซียน หากสุนัขอุจจาระเรี่ยราด ต้องจ่าย 1,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 25,000 บาท และ ลูกสุนัขต่ำกว่า 5 เดือน จะต้องจ่ายภาษีประมาน 365 บาท ต่อปี 3 ตัวแรกทำหมัน 365 บาท หากไม่ทำหมัน 2,136 บาท ถ้าทอดทิ้งจะต้องจ่าย 250,000 บาท และจำคุก 1 ปี ต้องทำประกันสุขภาพและครอบคุมค่าสินไหมอย่างน้อย 100,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือประมาร 2,300,000 บาท.-สำนักข่าวไทย
ดูข่าวเพิ่มเติม