สธ.23 ม.ค.-สธ.ย้ำเนื้อสุกรที่มีการเลี้ยงและใช้ยาโคลิสตินในสัตว์ ไม่ได้เกิดอันตรายในการบริโภคทันที แต่ในระยะยาวอาจส่งผลการเปลี่ยนแปลง เสี่ยงดื้อยาในคน แนะควรบริโภคแบบสุก และหมุนเวียนอาหาร เตรียมประสานกระทรวงเกษตรฯขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย สั่งจ่ายโดยสัตวแพทย์
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)กล่าวถึงกรณีกลุ่มเครือข่ายเอ็นจีโอ ห่วงการใช้ยาโคลิสติน ในสุกร ส่งผลให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาในคน ว่า เรื่องนี้ อย.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ประสานกรมปศุสัตว์แล้ว โดยยาโคลิสติน นี้เป็นยา ลำดับสุดท้ายที่มีการใช้ในสัตว์ เพื่อป้องกัน การเจ็บป่วย ในสุกร จัดเป็นยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ รุนแรง โดยเตียมดำเนินการควบคุม ให้เป็นยาที่ต้องมีการสั่งจ่ายเฉพาะสัตวแพทย์เท่านั้น เนื่องจากปัจจุบัน ยังสามารถซื้อขายได้ในร้านขายยา ซึ่งหากมีการใช้ยาในสัตว์ ต่อไปเรื่อยๆ จะส่งให้การใช้ยาโคลิสตินในคน ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ระยะยาวส่งผลให้เกิดการดื้อยาในคน เมื่อมีการรับประทานเนื้อสุกร ไปเป็นเวลานาน
ภก.ประพนธ์ กล่าวต่อว่า ความห่วงใยในการบริโภคเนื้อสุกรที่มีการใช้ยาสัตว์ชนิดนี้ แม้จะไม่ส่งในทันที แต่ทำให้ส่งผลต่อยินส์ในสัตว์และคน การบริโภคในระยะยาวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงยีนส์ในคนด้วย ทำให้เกิดการดื้อยา ฉะนั้นประชาชนทั่วไปอย่าได้ตระหนกเพียงแต่ควรบริโภคเนื้อสุกรที่ปรุงสุก และควรหมุนเวียนเปลี่ยนอาหารในการรับประทาน เพราะแม้การบริโภคเนื้อสุกร ที่มีการใช้ ยานี้จะไม่มีการตกค้างใน ตับไต แต่ก็ทำให้ต้องตระหนัก เรื่องของห่วงโซ่อาหารที่ต้องทำให้ปลอดภัยทุกขั้นตอน .-สำนักข่าวไทย