กรุงเทพฯ 14 มี.ค.- เรื่องมาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หรือ “ค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า” ได้ภายในเดือนมีนาคมนี้
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมกำกับกิจการพลังงาน บอกว่า สำนักงาน กกพ. คาดว่าการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. จะเริ่มทยอยคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยการพิจารณาคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จะให้กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติพร้อมก่อน คือ ชื่อเจ้าของตรงกับมิเตอร์
ส่วนผู้ที่ติดหนี้ค่าไฟฟ้า หรือกรณีเจ้าของมิเตอร์ปัจจุบันไม่ตรงกับชื่อผู้ครอบครองมิเตอร์ เช่น ผู้ซื้อบ้าน คอนโดมิเนียมมือ 2 ผู้รับมรดกจากผู้เสียชีวิต ที่ยังไม่โอนหรือไม่เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนชื่อเป็นเจ้าของใหม่ ในส่วนนี้ต้องเปิดให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายชื่อก่อนป้องกันการฟ้องร้องที่จะตาม
โดยอัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันคืนเมื่อยกเลิกใช้ไฟฟ้า มีมีรายละเอียดดังนี้
• มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท (บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)
• มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท (เป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้)
• มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท (บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด)
• มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท (ประชาชนไม่นิยมใช้ จะมีประชาชนส่วนน้อยที่ได้รับอัตราเงินจำนวนนี้)
นายคมกฤช บอกว่า สำนักงาน กกพ. คาดว่าการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. จะเริ่มทยอยคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ ผู้ที่จะได้รับเงินคืนค่าประกันค่ามิเตอร์ มีจำนวนรวม 21.5 ล้านราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท เริ่มทยอยคืนได้ในรอบบิลสิ้นเดือนมีนาคมนี้
ประชาชนสามารถดำเนินการขอคืนเงินกับหน่วยงานที่ท่านยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ท่านขอใช้ไฟฟ้าจาก กฟน. หรือ กฟภ. โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ให้บริการพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ให้บริการกับผู้ใช้ไฟฟ้าในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยกเว้น 3 จังหวัด.-สำนักข่าวไทย