กทม. 23 ส.ค. – เปิดสถิติอัตราการตายของพะยูนปีนี้ ตายไปแล้วกว่า 10 ตัว ส่วนข้อมูลปริมาณขยะในทะเลไทยปี 2561 พบถุงพลาสติกมากสุด รองลงมาเป็นกล่องอาหาร (โฟม)
อัตราการตายของพะยูน ปี 2562
17 ก.พ.62 ลูกพะยูนเพศเมีย อายุ 1 ปี ลอยตายปากคลองโตรย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
19 มี.ค.62 ซากพะยูนเพศผู้ อายุ 1-2 ปี ลอยตายในทะเล บริเวณเกาะเหลาเหลียง จ.ตรัง
26 เม.ย.62 ลูกพะยูน “มาเรียม” เพศเมีย อายุ 6-7 เดือน เกยตื้นบริเวณอ่าวทึง ต.อ่าวนาง จ.กระบี่ นำไปอนุบาลที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง แต่ตายเมื่อ 17 ส.ค. สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากขยะทะเล
5 พ.ค.62 ซากลูกพะยูน เพศเมีย อายุ 1 ปีครึ่ง เกยตื้นบริเวณหาดตูบ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเกาะลิบง จ.ตรัง
27 มิ.ย.62 ซากพะยูนเพศผู้ เกยตื้นบริเวณเกาะเม็ง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง
1 ก.ค.62 ลูกพะยูน “ยามีล” อายุ 3 เดือน เกยตื้นบริเวณชายหาดบ่อม่วง ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม จ.กระบี่ แต่นำไปอนุบาลที่ภูเก็ต เมื่อคืนช็อกตายจากลำไส้อักเสบและติดเชื้อ
5 ก.ค.62 ซากพะยูน เพศผู้ อายุ 70-80 ปี ลอยตายบริเวณอ่าวสิเกา จ.ตรัง
12 ก.ค.62 ซากพะยูน เพศผู้ เกยตื้นบริเวณบ้านคลองนิน เกาะลันตาใหญ่ จ.กระบี่
14 ก.ค.62 ซากลูกพะยูน เพศผู้ อายุ 6 เดือน ตายหน้าหาดตูบ อ.กันตัง จ.ตรัง
14 ก.ค.62 ซากพะยูนเพศผู้ โตเต็มวัย ลอยตายในทะเลบริเวณเกาะพีพี
18 ส.ค.62 ซากพะยูนเต็มวัย อายุ 25 ปี บริเวณอ่าวต้นไทร ต.อ่าวนาง จ.กระบี่
22 ส.ค.62 ซากพะยูน เพศเมีย เกยตื้นปากคลองตะเปะ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
ส่วนการตรวจสอบข้อมูลปริมาณขยะในทะเลไทย จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าปี 2561 ปริมาณขยะในทะเลไทย 10 อันดับ
ถุงพลาสติก ติดอันดับ 1 มีจำนวน 41,005 ชิ้น หรือคิดเป็น 16.35%
รองลงมา กล่องอาหาร (โฟม) 13.87% จำนวน 34,780 ชิ้น
3.ห่อ/ถุงอาหาร (ทอฟฟี่, มันฝรั่งอบกรอบ อื่นๆ) 12.32% จำนวน 30,909 ชิ้น
4.ถุงก๊อบแก๊บ 11.94% จำนวน 29,935 ชิ้น
5.ขวดเครื่องดื่ม (แก้ว) 10.43% จำนวน 6,151 ชิ้น
6.ขวดเครื่องดื่ม (พลาสติก) 10.05% จำนวน 25,216 ชิ้น
7.หลอดที่คนเครื่องดื่ม 7.12% จำนวน 17,861 ชิ้น
8.ฝาจุกขวด (พลาสติก) 7.05% จำนวน 17,690 ชิ้น
9.เศษโฟม 6.06% จำนวน 15,191 ชิ้น
10.บุหรี่ / ก้นกรองบุหรี่ 4.81% จำนวน 12,056 ชิ้น
รวมปริมาณขยะ 10 อันดับ 250,794 ชิ้น
หากแยกเป็นพื้นที่ เน้นเฉพาะพื้นที่ จ.ตรัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่อนุบาล “มาเรียม” แต่พะยูนน้อยขวัญใจคนไทยกลับตาย มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก “พลาสติก” อุดตันลำไส้
ที่ จ.ตรัง พบว่าปริมาณขยะในทะเล 10 อันดับแรก คือ
ถ้วย/จาน (โฟม) 1,258 ชิ้น
รองลงมาเป็น ขวดเครื่องดื่ม (พลาสติก) 7,503 ชิ้น
ถุงพลาสติกอื่นๆ 6,904 ชิ้น
ขวดเครื่องดื่ม (แก้ว) 3,496 ชิ้น
ฝาจุกขวด (พลาสติก) 2,437 ชิ้น
เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ แว่นตา สร้อยคอ 2,178 ชิ้น
ไฟแช็ก 127 ชิ้น หลอดและที่คนเครื่องดื่ม 105 ชิ้น
และอันดับสุดท้าย คือ เศษแหและอวน 84 ชิ้น
รวมปริมาณขยะ 4,175 ชิ้น
ขณะที่ 10 อันดับขยะทะเลที่พบมากสุด จากฐานข้อมูลขยะของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คือ ถุงพลาสติก หลอด ฝาขวดพลาสติก ภาชนะบรรจุอาหาร เชือกประมง ก้นบุหรี่ กระป๋อง กระดาษ โฟม ขวดแก้ว
ส่วนกรมควบคุมมลพิษมีข้อมูลว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีขยะพลาสติกเกิดขึ้นประมาณ 12% ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน แต่นำกลับไปใช้ประโยชน์ได้เพียงปีละ 0.5 ล้านตัน. – สำนักข่าวไทย