กฟน.คาดการใช้ไฟฟ้าเติบโตปีนี้ร้อยละ 3-4

กรุงเทพฯ 12 ก.ค. – กฟน.คาดการใช้ไฟฟ้าในเมืองยังโตร้อยละ 3-4 แม้ภาคการส่งออกอาจจะติดลบ และพร้อมรับภาระตรึงค่าไฟฟ้าเอฟที ล่าสุดเอ็มโอยูกับกรุงเทพธนาคมร่วมมือพัฒนาโครงข่ายสู่มหานครอัจฉริยะ


นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดเผยว่า การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ กฟน.ที่ครอบคลุมกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี คาดว่าปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3-4 แม้ว่าภาคการส่งออกอาจติดลบ เงินบาทแข็งค่า จะกระทบต่อการท่องเที่ยว แต่เนื่องจากมีการลงทุนทั้งรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง มีการก่อสร้างอาคารใหม่จำนวนมาก ประกอบกับอากาศร้อนจึงทำให้การใช้ไฟฟ้าขยายตัวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ความต้องการไฟฟ้าโตถึงร้อยละ 6-7 โดยความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด (Max Demand) ของพื้นที่ กฟน.ปีนี้มีค่า 9,525.9 เมกะวัตต์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน  เพิ่มขึ้นจากค่าจากปีที่แล้วร้อยละ 7.16

ส่วนเรื่องต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที ) ที่ปรับขึ้นในงวด 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้ แต่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้ตรึงราคา โดยให้ 3 การไฟฟ้าร่วมรับภาระเป็นวงเงิน 6,000 ล้านบาทนั้น  ผู้ว่าฯ กฟน. กล่าวว่า กฟน.พร้อมร่วมดูแล แต่จะมากน้อยเพียงใดก็ต้องดูถึงโครงสร้างการเงินและแผนลงทุนระยะยาวของแต่ละองค์กรด้วย เพราะการลงทุนเป้าหมาย คือ สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน สร้างความ สะดวกสบายแก่ภาคประชาชน   


ล่าสุด กฟน.ได้ลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกับบริษัท กรุงเทพธนาคม มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาการใช้ประโยชน์ด้านข้อมูลการใช้พลังงาน ความต้องการด้านการบริการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้งานในการพัฒนาระบบการบริการด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เพื่อรองรับการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่มหานครอัจฉริยะ (Smart Capital) ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลา การเดินทางของประชาชน พร้อมกับสร้างความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น

นายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กล่าวว่า โครงการที่อยู่ในขอบเขตการศึกษาครั้งนี้ เช่น โครงการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชน 800  ตันต่อวันที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ผลิตไฟฟ้า 3 เมกะวัตต์ การพัฒนารูปแบบเรือไฟฟ้าโดยสารเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขณะนี้ได้เริ่มต้นในคลองผดุงกรุงเกษม และจะขยายไปยังคลองอื่น ๆ ต่อไป และการปรับเปลี่ยนระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเส้นทางต่าง ๆ ให้เป็นระบบไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษลักษณะ Green Route รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทั้ง 2 หน่วยงานมีอยู่ให้สามารถต่อยอดพัฒนาไปสู่โครงการอื่น ๆ.-สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม เพราะปฏิบัติหน้าที่ครบ 10 วันแล้ว เป็นปกติของการทำงาน หากปฏิบัติภารกิจต่ออาจจะทำให้บาดเจ็บได้ และการกู้ภัยที่เหลือตอนนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรใหญ่เท่านั้น