กรุงเทพฯ
30 ส.ค.- SMAประเทศเยอรมนี
ผู้ผลิตเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หรือInverter รุกตลาดโซลาร์ ตลาดไทยและซีแอลเอ็มวี ที่จะมีกำลังผลิตใหม่ไม่ต่ำกว่า
5 พันเมกะวัตต์ใน 5 ปีข้างหน้า ร่วมมือกับเอสพีซีจีทำตลาด
ในขณะที่โซลาร์รูฟท็อปโรงงานในไทยแห่ติดตั้งหลังได้ทั้งบีโอไอและลดค่าไฟฟ้า
นางวันดี
กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เอสพีซีจี (SPCG)
กล่าวว่า ตลาดไฟฟ้าพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ในตลาดภูมิภาค CLMV รวมถึงไทยกำลังเติบโตมีเป้าหมายจะผลิตใหม่รวมถึง5,000
เมกะวัตต์ ใน3-5ปีข้างหน้า เพื่อตอบรับทิศทางพลังงานสะอาด ดังนั้น นอกจากตลาดแผงโซลาร์จะจำหน่ายได้เพิ่มแล้ว
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หรือInverter ที่เป็นอุปกรณ์ควบคู่กันก็จะจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นด้วย
ล่าสุดกลุ่ม บมจ.เอสพีซีจี( SPCG)
ร่วมมือกับของ
SMA Solar Technology AG
(SMA) SMAประเทศเยอรมนี
ผู้ผลิตเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หรือInverter รุกตลาดโซลาร์ ดังกล่าว โดยให้ บริษัท ในเครือคือบริษัท
โซล่า เพาเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (SPE) ของ SPCG
รับเป็นผู้แทนจำหน่ายในภูมิภาคนี้
เริ่มตั้งแต่ เดือน ก.ค.2561 เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ30 ในภูมิภาคนี้
SMA เป็นผู้นำผลิตInverter ของโลก โดยเมื่อปี 2560 มียอดจำหน่ายกว่า 900 ล้านยูโร
มีผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบใช้ในบ้านพักอาศัย
ใช้เพื่อการพาณิชย์ และใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ ซึ่งระบบของ SMA สามารถรองรับการต่อเชื่อมแบตเตอรี่ได้หลายประเภท
ส่วนเรื่องตลาดโซลาร์รูฟทอปเสรีในประเทศไทย
นางวันดีกล่าวว่าไทยคงต้องรอดูว่ารัฐบาลไทยจะประกาศออกมาอย่างไร
รวมทั้งคาดหวังกระทรวงพลังงานจะประกาศอุดหนุนซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจากแผนเดิมพีดีพีเดิมที่รับซื้อเพียง6
พันเมกะวัตต์ในปี2579และรับซื้อไปแล้ว3 พันเมกะวัตต์
นางวันดีกล่าวว่า ในขณะนี้
ตลาดโซลาร์รูฟท็อปในไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากได้ทั้งต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อจากระบบ
และยังได้การสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนที่นำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งปีนี้
บริษัทได้รับการว่าจ้างให้ติดตั้งราวแล้ว 50-60 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกันบริษัทได้เตรียมแผนเริ่มให้บริการในรูปแบบ
ESCO หรือให้บริการแบบบริหารจัดการพลังงาน โดยหากรายใดไม่มีเงินทุนจ้างติดตั้ง
ทางเอสพีซีจีจะติดตั้งแล้วจะได้รายได้จากส่วนของมูลค่าค่าไฟฟ้าที่ลดลง โดยโครงการนี้ มีจากสถาบันการเงินญี่ปุ่น
เป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน เบื้องต้น
มีลูกค้าที่ได้ทำเอ็มโอยูติดตั้งคิดเป็นมูลค่าประมาณพันล้านแล้ว
นางวันดีกล่าวว่า บริษัทมั่นใจว่า
การดำเนินธุรกิจของบริษัทจะเป็นไปตามแผนงานที่ในปี 2563
บริษัทจะมีกำลังผลิตเพิ่มจากปัจจุบันกว่า 300 เมกะวัตต์ เป็น 500 เมกะวัตต์
และรายได้เพิ่มจาก 7 พันล้านบาท/ปีเป็นประมาณ 1 หมื่นล้านบาท/ปี ซึ่ง ปัจจุบันนอกจากจะมีกำลังผลิตในประเทศแล้ว
ยังมีที่ญี่ปุ่น และ 3 โครงการใหม่ที่อยู่ในระหว่างการสรุปการลงทุนและการเงิน
ประกอบไปด้วยโครงการ โซลาร์ฟาร์ม 100 เมกะวัตต์ ที่ นางาซากิ,โครงการผลิต 65
เมกะวัตต์ที่ฟูกูโอกะ และ 480 เมกะวัตต์ ที่ ฟูกูชิมะ
โดยแต่ละโครงการมีผู้ร่วมทุนที่แข็งแรง และได้ค่าไฟฟ้าอุดหนุน FIT
ประมาณ 36-40 เยนต่อหน่วย
ซึ่งการที่บริษัทเดินหน้าลงทุนได้ดีที่ญี่ปุ่นเพรามีพันธมิตรที่ดีคือ เคียวซีร่า (
Kyocera) และรัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 6
หมื่นเมกะวัตต์ ทดแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 25,000 เกมะวัตต์ -สำนักข่าวไทย