กฟผ.ให้ความมั่นใจแม้ฝนแยอะแต่ไม่ท่วมเหมือนปี 54


กรุงเทพ 31
ก.ค.-กฟผ.ให้ความมั่นใจแม้ปีนี้ฝนมาก แต่จะไม่เกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 54
ส่วนกรณีปล่อยน้ำเพิ่ม 4 เขื่อน จาก 14 เขื่อนที่ดูแล ก็เพื่อเป็นการบริหารจัดการ
พร่องน้ำรับมรสุมหน้าฝน ยืนยันเขื่อนมั่นคงแข็งแรง ส่วนเขื่อนปากมูล
แม้เกิดประตูระบายน้ำ ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลกระทบน้ำท่วมท้ายน้ำ ส่วนฝนตกหนักใน  สปป.ลาว “เขื่อนห้วยเฮาะ-น้ำเทิน2”
แจ้งหยุดผลิตชั่วคราว


นายณัฐวุฒิ
แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า
แม้ว่าปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนมามาก และเกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่
แต่ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าจะไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 เนื่องจากปีนั้น มีพายุติดต่อกัน
5 ลูก มีฝนตกไปทั่ว โดยเฉพาะท้ายน้ำ และน้ำในเขื่อนใหญ่มีปริมาณสูง แต่ปีนี้ น้ำในเขื่อน
โดยเฉพาะเขื่อนใหญ่ ยังรองรับน้ำได้อีกมาก โดยเขื่อนภูมิพล จ.ตากมีปริมาณน้ำกักเก็บ
7,589 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 56ของความจุอ่าง ,เขื่อนสิริกิติ์
มีปริมาณน้ำกักเก็บ 6,138 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 65เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จาก
ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อ่างเก็บน้ำของ กฟผ.
หลายแห่งมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนวชิราลงกรณ
จ.กาญจนบุรี ,เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น, เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ
และเขื่อนน้ำพุง        จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม (
Upper Rule Curve) จึงต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับรับฝนที่จะมีมากขึ้นตั้งแต่เดือน
สิงหาคม-กันยายน
 แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริหารจัดการการระบายน้ำได้
และไม่กระทบประชาชนท้ายน้ำ และขอยืนยันว่า ทุกเขื่อนภายใต้การดูแล กฟผ. มีความมั่นคงแข็งแรงเนื่องจากมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล

โดยตรวจสอบทั้งระบบอัตโนมัติและใช้เจ้าหน้าที่ร่วมตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ



ส่วน
กรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้ำ
สปป.ลาว  เกิดปัญหาเขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขาส่วน  ทรุดตัว ส่งผลให้สันเขื่อนดินย่อยเกิดรอยร้าวและน้ำไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำ กระทบต่อประชาชน สปป.ลาวเป็นบริเวณกว้างนั้น
หลังเกิดเหตุ บอร์ด กฟผ.ได้กำชับเรื่องการดูแลความปลอดภัยเขื่อน กฟผ.ทั้ง 14
เขื่อน มากยิ่งขึ้น ซึ่งเขื่อนในไทย มี 2 เขื่อนที่
มีเขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขา  คือ เขื่อนสิริกิติ์ จ. ตาก และ เขื่อนรัชชประภา
จ.สุราษฎร์ธานี  ซึ
่งขอยืนยันว่า จากการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
เขื่อนทั้ง 2 ไม่มีโอกาสที่จะเกิดเหตุทรุดตัว เหมือน เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย แต่อย่างใด
ขอให้ประชนชน ไม่ต้องกังวล

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ในส่วนของ เขื่อนปากมูลได้เปิดบานประตูระบายน้ำ
 ครบ 8 บาน เมื่อวันที่ 29 ก.ค. นั้น
 คณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล  ที่มี
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็น ประธาน  โดยในส่วนนี้ ไม่มีผลกระทบต่อประชาชน ท้ายน้ำของเขื่อน
 ส่วนกรณีที่ ชาวบ้านริมโขง  อ.โขงเจียม บางส่วนเกิดปัญหาน้ำท่วมก็เนื่องจาก
น้ำในแม่น้ำโขงมีปริมาณสูงจากฝนตกหนักในหลายพื้นที่



 นายจรรยง วงศ์จันทร์พงษ์
ผู้ช่วยผู้ว่าการควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า กฟผ. กล่าวว่
า จากฝนที่ตกหนักและมีอุบัติภัยธรรมชาติ ไปทั่วโลก
ก็คาดว่าจะเกิดจากภาวะ
climate
change
 หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ โดยจากฝนตกหนักใน สปป.ลาว ทาง
สปป.ลาว ได้ แจ้ง หยุดเดินเครื่องเป็นการชั่วคราว 2 โรงไฟฟ้า จากจำนวน 5
โรงไฟฟ้าที่ผลิตขายไทย คิดเป็นร้อยละ 30 ของกำลังผลิตที่ผลิตขายให้ไทยแล้ว 3,577
.6 เมกะวัตต์ หรือ 1,074 เมกะวัตต์ 
โดยโรงไฟฟ้าที่หยุดเดินเครื่องชั่วคราว ได้แก่ โรงไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ส่งขายไทย
948 เมกะวัตต์ เนื่องจากมีปริมาณน้ำท้ายน้ำเป็นจำนวนมาก ทางเขื่อนจึงหยุดการปล่อยน้ำชั่วคราว
และโรงไฟฟ้าห้วยเฮาะ ส่งขายไทย 126 เมกะวัตต์ มีปัญหาน้ำท่วมลานไกไฟฟ้า

โดยในส่วนนี้
ไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงไฟฟ้าของไทย เนื่องจาก  กฟผ.ได้มีการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ
ในไทย จากภาคตะวันออกทดแทน อย่างไรก็ตาม คาดว่า
จากที่ปีนี้มีปริมาณน้ำในอ่างสูงมากทั้งฝั่งไทยและฝั่ง สปป.ลาว ก็คาดว่า
จะผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น และมีผลทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าของไทยต่ำลง เนื่องจากต้นทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นต้นทุนที่ต่ำสุด
เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ โดย
สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำอาจเพิ่มเป็นมากกว่าร้อยละ 6 จาก ปกติร้อยละ 5

ทั้งนี้ ไทย- สปป.ลาว
มีข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้า จาก กัน 9 ,000 เมกะวัตต์ ในปี 2579 โดย มีสัญญาซื้อขายแล้ว
5,940.60 เมกะวัตต์ มี 5 โครงการผลิตไฟฟ้าขายไทยแล้ว 3,577.6 เมกะวัตต์ ได้แก่
โรงไฟฟ้าห้วยเฮาะ,น้ำเทิน2,น้ำงึม 2 กำลังผลิต 596.6 เมกะวัตต์ ,เทินหินบุนรวม ส่วนขยาย
494 เมกะวัตต์ และ โรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์ 1,473 เมกะวัตต์ ส่วน อีก 4
โครงการมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว แต่อยู่ระหว่างก่อสร้างได้แก่
เขื่อนไซยะบุรี 1,220 เมกะวัตต์ เริ่มผลิต ต.ค.2562 ,เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย 354
เมกะวัตต์ เริ่มผลิต  ก.พ. 2562
,เขื่อนน้ำเงี้ยบ 1 ขายไทย 269 เมกะวัตต์ เริ่ม ก.พ.2562 และ เขื่อนน้ำเทิน 1
ขายไทย 520 เมกะวัตต์ 
เริ่มผลิต 23 พ.ค.
2565
  ส่วนที่เหลือตามเอ็มโอยู อีก
3,059.40 เมกะวัตต์ จะมีการเจรจาซศื้อขายกันต่อในอนาคต

“การซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง
ไทย –สปป.ลาว ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ ทางลาวได้รายได้ในการการพัฒนาประเทศ
ส่วนไทยได้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ต่ำ ซึ่งแต่ละโครงการจะต้องได้รับการเสนอ มาจากทาง
รัฐบาล สปป.ลาว  ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำนั้นเป็นเชื้อเพลิงสะอาด
ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโลกร้อน
ส่วนโครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยจะเข้าระบบล่าช้ากว่าสัญญาหรือไม่นั้น
ก็คงต้องรอความชัดเจนต่อไป แต่ก็ขอยืนยัน  กฟผ.จะจัดการไฟฟ้า ไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงพลังงานของไทยแน่นอน”
นายจรรยงกล่าว-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่