ปตท.พร้อมซื้อก๊าซโมซัมบิกแม้ ก.พลังงานปฏิเสธข้อเสนอนำเข้าแบบสัญญาระยะยาว

กรุงเทพฯ 18 เม.ย. – ประธานบอร์ด ปตท.ยืนยันพร้อมเดินหน้าลงนามข้อตกลงซื้อก๊าซแหล่งโมซัมบิก 20 ปี ปริมาณ 2.625 ล้านตัน แม้ล่าสุด รมว.พลังงานไม่อนุมัตินำเข้ารูปแบบสัญญาระยะยาว เชื่อมั่นขายได้ทั้งในและต่างประเทศ เพราะราคาต่ำกว่า 7 ดอลลาร์/ล้านบีทียู พร้อมแนะไทยควรลดความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาระยะยาวร้อยละ 60-70 ของความต้องการ


นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการ บมจ. ปตท. กล่าวว่า หากกระทรวงพลังงานมีแนวคิดจะไม่ให้ ปตท.ในฐานะรัฐวิสาหกิจในสังกัดทำสัญญาระยะยาว (Long Term ) เพื่อซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี ) จากแหล่งก๊าซโมซัมบิก ทาง ปตท.ก็พร้อมดำเนินการเองในการยืนยันซื้อก๊าซจากแหล่งนี้ในปริมาณเดิมที่ได้แจ้งไว้ คือ 2.6 ล้านตัน/ปี ต่อไป เพราะราคาที่ตกลงล่าสุดนับว่าเป็นราคาที่ดี แข่งขันได้ สามารถจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ  ซึ่งนับจากนี้ฝ่ายดำเนินการก็จะต้องไปเจรจาในเงื่อนไขอื่น ๆ กับทางทางผู้ผลิตก๊าซต่อไป

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า กรณีขายในประเทศ ก็คาดว่าโรงไฟฟ้าหรือผู้นำเข้ารายอื่นตามข้อกำหนดของรัฐบาลที่เปิดให้บุคคลที่ 3 เข้ามาใช้คลังและท่อก๊าซของ ปตท. (Third Party Access) ก็ต้องซื้อก๊าซฯ จากผู้ขายก๊าซฯ ราคาต่ำสุดตามเป็นกลไกดูแลผู้บริโภค โดยกรณีนี้ ปตท.จะเป็นผู้ค้าก๊าซแข่งกับรายอื่นเพื่อขายให้ผู้นำเข้าหรือโรงไฟฟ้า แต่ราคาขายของ ปตท.ก็จะขึ้นลงตามตลาดโลก ไม่ได้เป็นราคาขายระบบ POOL เหมือนในอดีต ดังนั้น ปตท.มีโอกาสได้กำไรเพิ่มขึ้น หากราคาตลาดโลกสูง แต่ก็มีความเสี่ยงรับภาระขาดทุนหากราคาตลาดโลกต่ำ นอกจากนี้ บมจ.จีพีเอสซี ผู้ผลิตไฟฟ้าในเครือ ปตท.มีความจำเป็นต้องใช้ก๊าซฯ ก็เป็นช่องทางในการจำหน่ายก๊าซของ ปตท.


“หากรัฐบาลไม่ได้อนุมัติทำสัญญาระยะยาว ก็ไม่ได้หมายความว่า ปตท.จะลงนามซื้อก๊าซจากแหล่งโมซัมบิกไม่ได้ แต่ ปตท.ก็ต้องรับความเสี่ยงในการจำหน่ายเอง เปลี่ยนจากเดิมที่ ปตท.เคยนำเข้าสัญญา LONG TERM นั้นซื้อมาเท่าไหร่ก็เอาเข้าระบบพูลก๊าซ ราคานี้ ปตท.ไม่ได้กำไร แต่หากเป็นการซื้อระบบใหม่ เมื่อลงนามซื้อจากแหล่งโมซัมบิกแล้ว ปตท.ก็ไม่ต้องขายราคาทุน ขายราคาตามตลาด ราคามีทั้งขึ้นและลง หากราคาสูง ปตท.ก็กำไรจากส่วนต่าง แต่หากราคาต่ำกว่าทุน ปตท.ก็รับความเสี่ยงเอง ซึ่งด้วยเงื่อนไขที่ดี ก็เชื่อมั่นว่า ปตท.จะสามาถขายทำกำไรได้” นายปิยสวัดิ์ กล่าว

นายปิยสวัสดิ์ ซึ่งในอดีตเป็น รมว.พลังงานและเป็นผู้กำหนดนโยบายพลังงานที่สำคัญ ระบุด้วยว่าในความเห็นส่วนตัวแล้ว ทางกระทรวงพลังงานควรจะกำหนดให้ประเทศมีการนำเข้าแอลเอ็นจีเงื่อนไขระยะยาวในสัดส่วนตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เคยมีมติกำหนดไว้ที่ร้อยละ 60-70 ของความต้องการใช้ ส่วนที่เหลือก็เป็นราคาตลาดจร (สป็อต) เพื่อป้องกันสถานการณ์ผันผวน และจะกระทบต่อค่าไฟฟ้าของประชาชน โดยจะเห็นได้ว่าราคาสป็อตแอลเอ็นจีปี 2560 ราคาเคยต่ำสุดประมาณ 6 ดอลลาร์สหรัฐ/ล้านบีทียู และขึ้นมาสูงสุดที่ 12 ดอลลาร์/ล้านบีทียู และในช่วงเดือนเมษายน 2561 ราคาก็ลงมาอยู่ประมาณ 7 ดอลลาร์/ล้านบีทียู

ด้านรายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน แจ้งว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้แจ้งต่อ ปตท.ว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอรับซื้อก๊าซจากแหล่งโมซัมบิก เพื่อนำเข้ามาเป็นข้อตกลงของรัฐบาลในการจัดทำเป็นระบบสัญญาระยะยาว โดยเห็นว่าการนำเข้าแอลเอ็นจีในอนาคตควรเป็นรูปแบบแข่งขันเสรีทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนได้ค่าไฟฟ้าต่ำสุด จึงจะไม่มีการเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อขออนุมัติแต่อย่างใด


โดยที่ผ่านมามีผู้เสนอนำเข้าแอลเอ็นจี เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กลุ่มกัลฟ์ เป็นต้น ซึ่ง กฟผ.อนุมัตินำเข้า 1.5 ล้านตัน/ปี ส่วนกัลฟ์ยังไม่ได้รับการอนุมัติ โดยจะต้องรอรอบการเปิดอนุมัตินำเข้าใหม่หลังคลังแอลเอ็นจีแห่งที่ 2 หนองแฟบ เปิดดำเนินการอีก 7.5 ล้านตันในไตรมาส 1/2565 โดยเงื่อนไขสำคัญที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดไว้ คือ ผู้นำเข้าจะต้องมีสัญญาจำหน่ายก๊าซที่ชัดเจนกับโรงไฟฟ้าต่าง ๆ

ทั้งนี้ แหล่งก๊าซโมซัมบิก โรวูมา ออฟชอร์ ถือหุ้น โดย บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.ร้อยละ 8.5 เป็นแหล่งขนาดใหญ่มีสำรองประมาณ 60-77 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต จะตัดสินใจครั้งสุดท้ายในการลงทุนภายในครึ่งหลังปี 2561 คาดผลิตเชิงพาณิชย์ปี 2566 กำลังผลิตระยะแรก 12 ล้านตัน/ปี โดยทางรัฐบาลโมซัมบิกอนุมัติแผนลงทุนแล้วตั้งแต่ดือนกุมภาพันธ์ 2561 และมีการเชิญ รมว.พลังงานของไทยไปเยือนโมซัมบิก เพื่อกระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุนระหว่างกันด้วย โดยโครงการนี้มีลูกค้าระยะยาวที่ตอบรับแล้ว คือ EDF ฝรั่งเศส 1.2 ล้านตัน/ปี ENGIE  1 ล้านตัน/ปี ปตท. 2.625 ล้านตันต่อปี (รอการตอบรับที่ชัดเจน ) รวม 5.1 ล้านตัน/ปี และอยู่ระหว่างการเจรจา อีก 3.4-4.4 ล้านตัน/ปี ได้แก่ กลุ่มลูกค้า จีน,อินเดียและญี่ปุ่น

ปตท.ได้รายงานต่อกระทรวงพลังงานว่า ราคาก๊าซแอลเอ็นจีที่ตกลงกับแหล่งโมซัมบิกล่าสุดเป็นราคาที่ดีมาก ต่ำกว่าสัญญาระยะยาวทุกแหล่งที่ไทยทำสัญญานำเข้ามาแล้ว โดยการเจรจากับกลุ่มผู้ผลิตราคาลดลงจากที่เคยเจรจากันกว่า 2 ดอลลาร์/ล้านบีทียู เหลือประมาณ 7.43 ดอลลาร์/ล้านบีทียู สัญญาจะมีการซื้อ 20 ปี เริ่มจากปี 2566 หรือ 2567 เป็นต้นไป โดย ปตท.เห็นว่าการตกลงราคาในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะตลาดยังเป็นของผู้ซื้อ แต่หลังจากนี้ไปอีก 3-4 ปีข้างหน้าตลาดจะเป็นของผู้ขาย ขณะเดียวกันการนำเข้าก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเปิดเสรี และยังเป็นการรองรับอนาคตการผลิตก๊าซจากอ่าวไทยและเมียนมา ลดลงอีกด้วย. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สาวซิ่งรถหรูชนท้าย จยย. ทำแม่ลูกดับ 3 ศพ

แม่ขี่ จยย.ไปรับลูก 2 คน กลับจากเรียนพิเศษ ถูกสาวขับรถหรูซิ่งชนท้าย ร่างกระเด็นตกสะพานข้ามรางรถไฟ เสียชีวิตทั้ง 3 คน ส่วนผู้ก่อเหตุอุ้มแมว ทิ้งรถ หลบหนีไป

ปิดล้อมล่ามือปืนคลั่งสังหาร 3 ศพ

ตำรวจเร่งไล่ล่ามือปืนคลั่งก่อเหตุยิง 3 ศพ ในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ล่าสุดปิดล้อมพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ รอยต่อ จ.เลย หลังพบเบาะแสคนร้ายหนีไปซ่อนตัว ขณะที่ชนวนสังหารยังไม่แน่ชัด

ลูกชายมือปืนคลั่งยิง 3 ศพ พาครอบครัวหนีตาย พ่อโพสต์ขู่ฆ่าล้างครัว

ลูกชายมือปืนคลั่งยิงดับ 3 ศพ ต้องพาภรรยาและลูก รวมถึงพ่อตา-แม่ยาย หนีไปอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง หลังพ่อโพสต์ข้อความขู่จะฆ่าล้างครัว เหตุจากปัญหาในครอบครัว

ชายคลั่งยิง3ศพ

ชายคลั่งยิงดับ 3 ศพ โผล่วัดที่ จ.เลย ขอข้าวกิน ก่อนหนีเข้าป่า

แม่ครัววัดภูคำเป้ ต.ผาสามยอด อ.เอราวัณ จ.เลย เผยพบชายคลั่งยิงดับ 3 ศพ เดินเข้ามาในวัดด้วยสภาพอิดโรย ขอข้าวกิน ลักษณะรีบกินเหมือนวิตกกังวล หลังกินเสร็จรีบเดินเข้าป่าหายไป ก่อนมาทราบภายหลังว่าเป็นผู้ก่อเหตุยิงคนเสียชีวิต

ข่าวแนะนำ

น้ำท่วมรอบนอก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วิกฤติ

ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น แต่ในพื้นที่ไข่แดงหรือพื้นที่เศรษฐกิจ น้ำยังไม่สามารถจะเจาะเข้าไปได้ โดยนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่มั่นใจถ้าฝนตกลงมาไม่มากไปกว่านี้จะสามารถดูแลพื้นที่ในเทศบาลนครหาดใหญ่

ปัตตานีจมบาดาล-ถนนถูกตัดขาด

สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ยังวิกฤติในหลายจังหวัด เพราะฝนยังไม่หยุดตก ทำให้การระบายน้ำแทบไม่สามารถทำได้เลย โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ชาวบ้านเดือดร้อนหนักหลายแสนคน

เร่งรื้อถอนคานถล่ม ถ.พระราม 2 จราจรติดขัดหนัก

เหตุแผ่นยกคานปูนและเครนก่อสร้างถล่มบนถนนพระราม 2 จนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังคงรื้อถอนโครงสร้างที่พังถล่มไม่แล้วเสร็จ ส่วนสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด ขณะที่การจราจร ถ.พระราม 2 ทั้งขาเข้า-ขาออก ติดขัดหนัก แนะเลี่ยงเส้นทาง

นายกฯ สั่งระดมช่วยน้ำท่วมใต้-เร่งเยียวยา

นายกฯ สั่งระดมช่วยเหลือน้ำท่วมใต้-เร่งมาตรการเยียวยา เผย ครม.เห็นชอบ 39 โครงการฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย เชียงใหม่-เชียงราย 641 ล้านบาท