ธุรกิจด้านสุขภาพจดทะเบียนเพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี

นนทบุรี 26 ม.ค.-อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยเทรนด์รักสุขภาพไทยแรงดันธุรกิจด้านสุขภาพจดทะเบียนเพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี จากสังคมกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย และคนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น 


นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับกระแสรักสุขภาพ ทำให้ธุรกิจบริการด้านสุขภาพต่างๆ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตลาด “บริการสุขภาพ” หรือ “Health care” ถือเป็นธุรกิจที่น่าจับตาในเวลานี้ ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจบริการด้านสุขภาพของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกับตลาดบริการด้านสุขภาพทั่วโลก การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุนับเป็นโอกาสที่น่าสนใจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในการสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่ง เพื่อรองรับความต้องการ (Demand) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตเมื่อพิจารณาภาพรวมการจัดตั้งธุรกิจบริการด้านสุขภาพของไทย พบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้ธุรกิจบริการด้านสุขภาพได้รับความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว การหันมาใส่ใจสุขภาพ นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมธุรกิจบริการด้านสุขภาพให้สามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนและตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็ง ประกอบกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมด้านสุขภาพที่มีมาตรฐาน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมีจำนวน 4,086 ราย แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 3,381 ราย คิดเป็นร้อยละ 83  ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 670 ราย คิดเป็นร้อยละ 16   บริษัทมหาชนจำกัด 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 โดยมูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคลของธุรกิจบริการด้านสุขภาพในประเทศไทยที่คงอยู่ปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 117,908 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2560)โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ มูลค่าการลงทุนของคนไทยอยู่ที่ 116,771 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99 และมูลค่าการลงทุนของต่างชาติอยู่ที่ 1,137 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1 สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ญี่ปุ่น มูลค่า 104 ล้านบาท     คิดเป็นร้อยละ 0.09 รองลงมา คือ ฮ่องกง มูลค่า 93 ล้านบาท คิดเป็น 0.08 และสิงคโปร์ มูลค่า 85 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.07 


อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ คือ กรุงเทพมหานคร มูลค่าการลงทุน 60,936 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52 รองลงมา คือ จังหวัดที่เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญ

นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงผลประกอบการและอัตราส่วนทางการเงิน พบว่าธุรกิจบริการด้านสุขภาพมีผลประกอบการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10.87 เป็นร้อยละ 11.93 ในขณะที่อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์และการบริหารสภาพคล่อง โดนประเทศไทยถือเป็นประเทศจุดหมายปลายทางของภูมิภาคเอเชียที่ได้รับความนิยมจากนานาประเทศของการให้บริการด้านสุขภาพ ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการ SME จะต้องเร่งปรับตัวและพัฒนาการให้บริการ และสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด รวมถึงต้องมีความยืดหยุ่น พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ เพื่อยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพที่ครบวงจร และสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกค้าที่ไม่หยุดนิ่งเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี