เชียงราย 7 ม.ค.- ธ.ก.ส.
เดินหน้าสนองนโยบายตลาดนำการผลิต ผลักดัน SMART FARMER หวังสร้างชุมชน 7,927 แห่งให้เป็น “เศรษฐกิจชุมชน
อุดมสุข”
พร้อมเตรียมวงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาท เสนอ
ครม.ช่วยเหลือรายย่อยเฟส 2 อังคารนี้
นายอภิรมย์
สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)
เปิดเผยว่า
จากแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย สำหรับผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ
3.9 ล้านราย เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. 2.6 ล้านราย กระทรวงคลังจึงเตรียมเสนอ
ครม.พิจารณาในวันอังคารนี้
ใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อสนับสนุนนโยบายช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยวงเงิน
30,000 ล้านบาท และการแก้ไขหนี้นอกระบบ
20,000 ล้านบาท รวมทั้งหมด 95,000 ล้านบาท โดยจะส่งเจ้าหน้าที่
ธ.ก.ส.ลงพื้นที่สอบถามความต้องการอาชีพ โดยมีเมนูอาชีพให้เลือกหลากหลาย ดังนั้น ก่อนฝึกอาชีพให้รายย่อย
จึงไม่อยากให้กังวลเรื่องปัญหาหนี้สิน จึงใช้มีแนวทางแกปัญหาหนี้นอกระบบ
จากนั้นจะมี มาตรการในการพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ จึงเตรียมเรียกประชุมผู้จัดการสาขาทั่วประเทศ
เพื่อซักซ้อมความเข้าใจดำเนินนโยบาย 12 ม.ค.นี้ เพื่อเริ่มแผนทันทีในเดือนมกราคม
รวมทั้งเตรียมเสนอบอร์ด ธ.ก.ส.
ปรับโครงสร้างองค์กร ตั้งสำนักท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้
ธ.ก.ส.พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนกระจายทุก 77 จังหวัดทั่วประเทศ
เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สินค้าชุมชน
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตลอดจนการผลักดันหัวขบวนที่ประสบผลสำเร็จในชุมชน
มาช่วยสร้างเครือข่ายจากรายย่อย เพื่อสร้างให้เป็น ชุมชน “เศรษฐกิจชุมชน
อุดมสุข” 7,927 แห่ง
ในช่วง 4 ปีข้างหน้าทั่วประเทศ เห็นได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟดอยช้าง
ซึ่งเป็นตัวอย่างดูแลชุมชนในทุกมิติ ทั้งการส่งเสริมปลูกกาแฟคุณภาพ
ตั้งมูลนิธิดูแลสวัสดิการคนในชุมชน ตั้งAcademy ส่งเสริมความรู้ให้กับลูกหลานต่อยอดธุรกิจ
เพื่อให้มีกิจการของตนเอง จนสร้างเงินทุนหมุนเวียนจากกาแฟถึง 3,000 ล้านบาทต่อปี
ธ.ก.ส.ให้สินเชื่อไปแล้วกว่า 700 ล้านบาท และยังส่งเสริมชาวบ้านปลูกป่าเพิ่ม 2
ล้านไร่ในพื้น นับเป็นชุมชนตัวอย่างในการพัฒนา
ธ.ก.ส.ยังเดินหน้าส่งเสริมการพัฒนาตลาดประชารัฐสีเขียว
จากปัจจุบันมีอยู่ 147 แห่ง จะเพิ่มอีก 131 แห่งในปี 61 เพราะได้สร้างเงินหมุนเวียนเกิดขึ้นในตลาด
ทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว อย่างเช่น จ.เชียงราย
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีนโยบาย “อาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข” จึงมุ่งสร้างตลาดประชารัฐเพิ่มขึ้นหลายแห่ง
เมื่อผลิตสินค้าปลอดภัยได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า จนสามารถส่งสินค้าท้องถิ่นไปยังจังหวัดต่างๆมากกมาย
เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงาน ปีบัญชี 2561 (1เมษายน 2561 – 31
มีนาคม 2562) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย การเป็น
ศูนย์กลางทางการเงินภาคการเกษตรและภาคชนบท (Rural Universal Bank) ทั้งการเพิ่มขีดความสามารถภาคเกษตรไทย ผ่านการพัฒนาทายาทเกษตรกร (Smart Farmer) การยกระดับเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยให้หลุดพ้นความยากจน
สร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร การพัฒนาบริการทางการเงินครบวงจรและทันสมัย
ผ่านช่องทางดิจิทัล ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Disruptive Technology) การเชื่อมโยงตลาดผลิตภัณฑ์การเกษตรและแผนงานให้ความรู้คู่การพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
และยกระดับสู่ชุมชนอุดมสุข
นายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์ รองผู้จัดการ
ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า คาดว่าสิ้นปีบัญชี 60
จะปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น 86,000 ล้านบาท กำหนดแผนในปี 61
ปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น 93,000 ล้านบาท
สินเชื่อจำนวน 1.46 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 93,000 ล้านบาท ยอดเงินฝาก 1.51
ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 57,500 ล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ 4,800 ล้านบาท
อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ไม่เกินร้อยละ 4 คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้น 85% กำไรสุทธิ 8,099
ล้านบาท โดย ธ.ก.ส.
คิดดอกเบี้ยเงินกู้ผ่านระบบ MRR สำหรับลูกค้ารายย่อยต่ำที่สุดในระบบธนาคาร ปัจจุบัน MRR ร้อยละ 7
เมื่อได้ลดภาระให้ลูกค้าเกษตรกรที่ชำระดีต่อเนื่อง สินเชื่อไม่เกิน 3 แสนบาทต่อราย
จำนวน 2.3 ล้านราย ช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้ร้อยละ 30
ทำให้คิดดอกเบี้ยจากเกษตรกรจากร้อยละ 7 หักออกอีกร้อยละ 2.1 จะเหลือร้อยละ 4.9
จึงมีลูกค้าดอกเบี้ยต่ำกว่าร้อยละ 7 สูงถึง 5 แสนล้านบาท
จากผลการดำเนินงาน 9 เดือน ของปีบัญชี 2560 (1
เมษายน – 31 ธันวาคม
2560)ว่า สามารถปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบ 438,000 ล้านบาท
จึงมียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1.317 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.16 สินทรัพย์รวม 1.693 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
ยอดเงินฝากรวม 1.426 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 คาดว่าทั้งปี 60 มีกำไรสุทธิ 9,000 ล้านบาท
เพราะไม่ได้มุ่งเน้นแสวงหากำไรแต่ต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินกิจการ ส่วนยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ร้อยละ 5.54
ของสินเชื่อรวม ซึ่งมีแนวโน้มลดต่ำลง
คาดว่าสิ้นปีบัญชี (31 มีนาคม 2561) NPLs จะต่ำกว่าร้อยละ 4 สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ร้อยละ 12.18
สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดร้อยละ 8.50.-สำนักข่าวไทย