กทม.1ก.ย.-เครือข่ายเยาวชนฯ จัดเวทีถอดบทเรียนความรุนเเรง “เด็กช่าง” เเนะภาครัฐเเก้ปัญหาต่อเนื่องจริงจังไม่ใช่เฉพาะหน้า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเข้าใจปัญหา สื่อเปิดพื้นที่เด็กทำความดี ขณะที่ศิษย์เก่าวอนสังคมหยุดตีตราเด็กช่าง ให้ที่ยืนในสังคม
เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง ร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษกและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) จัดเวทีเสวนา ถอดบทเรียนความรุนแรง”เด็กช่าง”สร้างโอกาสก่อนวิกฤต เพื่อสะท้อนปัญหาความรุนเเรงว่าสาเหตุที่เเท้จริงว่าเกิดจากอะไร กระตุ้นเตือนเเละให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออกเเก้ปัญหานักเรียนตีกัน ลดการตีตราเด็กช่างเชิดชูอาชีวะฝีมือชนที่ช่วยพัฒนาประเทศ หลังช่วงเดือนที่ผ่านมามีเหตุทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้ง เเม้จะมีคำสั่งคณะรักษาความสงบเเห่งชาติ ใช้มาตรา44 เเก้ปัญหาดังกล่าวเเล้วก็ตาม
นายเอ นามสมมุติ อดีตนักศึกษาอาชีวะ เยาวชนจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า เป็นเด็กวัยรุ่นที่ชอบตั้งวงดื่มเหล้ากับเพื่อนๆ ทำให้ใจร้อนมีปัญหาทะเลาะวิวาทกับเพื่อนต่างสถาบันบ่อยครั้ง รุ่นพี่จะพาไปกินเหล้าเเละไปล่า หรือประกาศศักดิ์ศรีความเป็นเด็กช่างที่สถาบัน ตนเป็นที่1ในย่านนั้น ตามวัฒนธรรมความคิดของรุ่นพี่ที่ปลูกฝังให้เกลียดสถาบันอื่น จนเกิดเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนเมื่อปี 2557 ตนร่วมกับเพื่อนเเละรุ่นพี่ปาระเบิดใส่คู่อริ ทำให้นักศึกษาเสียชีวิต 1 รายเเละบาดเจ็บอีก 20 ราย ซึ่งรุ่นพี่ที่ไปด้วยกันที่คอยยุเสริมสร้างวัฒนธรรมเด็กช่างกับซัดทอดมาให้ตน ทั้งที่ไม่ได้เป็นคนปาระเบิด ทำให้ต้องรับโทษในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น อยู่ในสถานพินิจ 6 ปี จึงอยากเตือนเพื่อนอาชีวะให้มีสติ อย่าหลงเชื่อรุ่นพี่ คิดถึงอนาคตตัวเองมากๆ และอยากให้สังคมให้โอกาส ไม่ซ้ำเติมเด็กอาชีวะ เเละอยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยเเก้ปัญหาต่อเนื่อง
ด้านนายปัณณวิชญ์ คงศิลปะ ประธานสภาศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตอุเทนถวาย กล่าวว่าจบการศึกษามา30 ปี เด็กช่างในยุคนั้นจะสามัคคี คอยช่วยเหลือกันเเละเป็นที่ปรึกษา ชวนไปทำกิจกรรมที่ดี เมื่อมองกลับมาเห็นปัญหาเด็กตีกัน คิดว่าเกิดจากสาเหตุหลายด้าน เช่น ปัญหาครอบครัว การปลูกฝังของรุ่นพี่ที่ไม่ดี ประกอบกับชีวิตช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อตามเพื่อนตามรุ่นพี่ได้ง่าย เมื่อเด็กก้าวพลาด สื่อยังมาซ้ำเติมความรุนเเรงหรือพาดหัวข่าวใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาวนซ้ำของคู่อริ เเต่เมื่อเวลาที่เด็กทำกิจกรรมที่ดี สื่อไม่นำเสนอ โดยที่ผ่านมามีความพยายามปลูกฝังให้น้องทำความดี ยึดสันติวิธี เปลี่ยนพลังลบให้เป็นพลังบวกและพยายามเปิดพื้นที่ทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ หากสังเกตดีๆจะเห็นว่าเหตุการณ์รุนแรงลดลง และแม้ว่ามันจะเปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือไม่ได้ เเต่รุ่นน้องบางคนเปลี่ยนเเปลงตัวเองดีขึ้น จึงอยากให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะสื่อควรคัดกรองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลดความรุนเเรงต่อเด็กที่อ่านข่าว ที่บางส่วนอยากเลียนเเบบเพราะเป็นทำเเล้วดัง ภาครัฐ ก็ควรเเต่ปัญผาจากต้นเหตุไม่ใช่ปลายเหตุ
ขณะที่นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า การเเก้ปัญหาเด็กตีกันเเม้จะใช้มาตรา 44 ที่ถือเป็นยาเเรงแต่ก็ไม่เป็นผล สังคมไทยกดดันให้เด็กช่างกลับเข้าสู่วังวนเดิม ทำให้เด็กไร้ตัวตนไม่มีอัตลักษณ์ ทั้งระบบการศึกษาผลักเด็กที่ไม่เก่งออกมา ซึ่งเด็กวัยนี้ต้องการการยอมรับไม่ว่าในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม ออกมาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ตามความคึกคะนองหรือคำสั่งของรุ่นพี่ ขณะเดียวกัน วิธีแก้ปัญหาเป็นการซ้ำเติม เช่น ให้นักศึกษาคู่อริมาจับมือถ่ายรูปกัน เปลี่ยนเครื่องแบบ ปิดโรงเรียนชั่วคราว เป็นต้น เเละสื่อยังโหมไฟ ทำให้เด็กคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจปัญหาที่เเท้จริงของเด็กกลุ่มนี้ ขณะที่สื่อต่างชาติจะไม่มีการนำภาพเด็กออกหน้าหนึ่ง ทำให้คนในสังคมช่วยตีตราเเละกดทับให้ปัญหาบานปลาย ส่วนสถาบันผู้รับผิดชอบที่เป็นคู่ขัดแย้งไม่ร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง มองว่าทางออกของปัญหา คือต้องปลุกพลังสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในคุณค่าของตัวเอง คุณค่าของคนอาชีวะ เปิดพื้นที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ อย่างจริงจังต่อเนื่อง เเนะสื่อเปิดพื้นที่นำเสนอข่าวที่เด็กอาชีวะทำความดี ไม่ใช่การเสี้ยมให้เด็กทำไม่ดีไปเรื่อยๆ .-สำนักข่าวไทย