ถนนราชดำเนิน 10 ส.ค.- UNODC จับมือ TIJ เปิดผลวิจัยปี 58 พบผู้ย้ายถิ่นฐานอยู่ไทย 4 ล้านคน กว่าร้อยละ 90 เป็นกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่มาแบบผิดกฎหมาย เสี่ยงตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์
สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)เปิดผลงานวิจัยเรื่อง “การค้ามนุษย์จากกัมพูชา ลาว และเมียนมา มายังประเทศไทย” ฉบับล่าสุด หลังลงนามความร่วมมือในโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา
โดยจากการศึกษาพบ ปี 2558 มีผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ไทยกว่า 4 ล้านคน และกว่าร้อยละ 90 หรือ 3.6 ล้านคน เป็นชาวกัมพูชา ลาวและเมียนมา ที่ลักลอบเข้ามาแบบผิดกฎหมาย ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ในหลายรูปแบบโดยเฉพาะ ด้านแรงงาน เนื่องจากสัญชาติดังกล่าวนิยมลักลอบเข้ามาทำงานในไทยเพราะหวังว่าจะได้รับค่าแรงที่สูงกว่าในประเทศตน แต่กลับไม่เป็นนั้น เพราะการเข้ามาแบบผิดกฎหมายทำให้พวกเขาถูกกดขี่ ได้ค่าแรงต่ำ อยู่ในสภาพการทำงานแบบแรงงานบังคับสู่การค้ามนุษย์ โดยแรงงานชายพบมากในอุตสาหกรรมประมง ก่อสร้าง และเกษตร ขณะที่แรงงานหญิง พบในภาคบริการ แม่บ้าน และอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมถึงตกเป็นเหยื่อการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ เช่นเดี่ยวกับเด็กโดยเฉพาะเด็กชาย พบมากที่สุดในเมืองท่องเที่ยว และส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบขอทานด้วย
นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผอ.สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย(TIJ) แม้ไทยจะมีการพูดถึงการนำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติผ่านระบบเอ็มโออยู่แต่แรงงานส่วนใหญ่ที่อพยพมาบอกว่าการย้ายถิ่นฐานและการเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฏหมายมีขั้นตอนยุ่งยากต้นทุนสูงขณะที่การเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายนิค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารวดเร็วและสะดวกสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาที่ต้องการ นี่ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการลักลอบเข้าเมืองและเป็นช่องโหว่การค้ามนุษย์เป็นโอกาสให้ผู้ค้ามนุษย์ใช้เป็นช่องทางในการใช้บริการและแสวงหาประโยชน์จากแรงงานทำชาติเหล่านี้ ดังนั้น รัฐบาลควรพิจารณาทำให้การนำเข้าแรงงานแบบถูกกฎหมาย ให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง และกระบวนการไม่ซับซ้อนด้วย และกระบวนการยุติธรรม การบังใช้กฎหมายควรเข้มงวด ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองเหยื่อ เข้าใจผู้อพยพ และหากอยากแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ควรส่งเสริมการศึกษาฟรีให้กับคนกลุ่มนี้ได้เข้าถึง รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ของรัฐด้วย เพื่อลดความเลื่อมล้ำ ต้นตอสำคัญของปัญหาการค้ามนุษย์
อย่างไรก็ตาม นายกิตติพงษ์ กล่าวต่อว่า รายงานฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่มีข้อมูลเชิงประจัก ที่จะเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบาย และแนวทางการแก้ปัญหาที่ตรงจุดในอนาคตต่อไป .-สำนักข่าวไทย