ลักลอบทำงานเกาหลีใต้

กทม. 17 มิ.ย. – แม้ทางการเกาหลีจะให้โควตาแรงงานไทยเข้าไปทำงานไม่ต่ำกว่าปีละ 5,000 คน แต่ก็ยังมีแรงงานไทยลักลอบเข้าไปทำงานแบบผิดกฎหมายอีกจำนวนมาก เพื่อแลกกับค่าตอบแทนอัตราสูงกว่า 40,000 บาทต่อเดือน ส่วนหญิงไทย 2 คน ที่หนีออกจากกรุ๊ปทัวร์ ล่าสุดเดินทางกลับไทยแล้ว


จากกรณีหญิงไทย 2 คน หนีออกจากกรุ๊ปทัวร์ หวังทำงานอยู่ในเกาหลีใต้ ก่อนที่ไกด์ชาวไทยจะที่เป็นผู้ให้การรับรองกับ ตม.เกาหลีใต้ ประกาศตามหาทั้งสองคน มิฉะนั้น ไกด์จะติดแบล็กลิสต์ ล่าสุดเมื่อวานนี้ทั้งสองคนเดินทางกลับไทยแล้ว จัดหางานจังหวัดอุดรธานี ให้ข้อมูลยืนยัน และว่าบริษัททัวร์เป็นผู้ออกค่าตั๋วกลับให้ทั้งหมด

การลักลอบเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้พบเป็นข่าวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะระยะหลัง ที่มีการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยว ซึ่งแทบทุกบริษัททัวร์ที่พาเที่ยวเกาหลีใต้ จะเจอประสบการณ์ลูกทัวร์หลบหนีเพื่อต้องการทำงาน ปกติทัวร์มีกลุ่มลูกค้า 2 ประเภท คือลูกค้ากรุ๊ปเหมา และที่ซื้อท่องเที่ยวส่วนตัว ซึ่งกลุ่มหลังเป็นกลุ่มที่ต้องการเข้าไปหางานทำมากที่สุด ผู้ทำทัวร์เห็นว่า การคัดกรองผู้ที่คิดจะลักลอบทำให้ได้ยาก และ ตม.เกาหลีใต้จะอนุญาตให้ผ่านเข้าเมืองหรือไม่ จะพิจารณาหลายอย่าง ทั้งแผนการเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน ประทับตราการไปต่างประเทศในหนังสือเดินทาง ส่วนล่าสุดที่ไกด์ไปช่วยรับรองให้ที่ ตม.ก่อนที่ชาวไทย 2 คนจะหลบหนีเพื่อต้องการทำงาน เป็นเรื่องที่มักไม่ทำกัน


ข้อมูลจากกรมการจัดหางานตั้งแต่ปี 2547 ไทยและเกาหลีใต้มีความตกลงระบบการจ้างงานร่วมกันหรือ EPS ที่ทางเกาหลีจะมีโควต้าให้แรงงานไทยไปทำงานได้ปีละกว่า 5,000 คน แบ่งเป็นงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด รองลงมาคืองานเกษตร และก่อสร้าง แรงงานต้องสอบภาษาเกาหลี และนายจ้างเกาหลีเป็นผู้คัดเลือกแรงงาน ผู้ใช้แรงงานอาจเห็นว่า การไปทำงานอย่างถูกต้อง มีขั้นตอนมากมายรวมทั้งเรื่องภาษา จึงนิยมลักลอบไปทำงานมากกว่า โดยมีหลายรูปแบบทั้งที่มีคนรู้จักทำอยู่แล้ว และแบบผ่านนายหน้าติดต่อกับนายจ้างเกาหลีใต้ ซึ่งยังคงมีนายจ้างเกาหลีที่ยังคงจ้างแรงงานไทยผิดกฎหมายด้วย  

ส่วนกรณีนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย 8 คน ร้องศูนย์ดำรงธรรม หลังจากเมื่อ 3 เดือนก่อนไปฝึกงานที่เกาหลีใต้ตามโครงการที่วิทยาลัยร่วมกับบริษัทด้านงานเกษตรในเกาหลี แต่เมื่อไปฝึกกลับพบการใช้แรงงานหนัก และมีเรื่องถูกลวนลาม ซึ่งกรมการจัดหางานกำลังตรวจสอบว่าการส่งนักศึกษาไปฝึกงานเช่นนี้มีเอกสารการขอทำงานถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่มีต้องดำเนินคดีกับผู้จัดโครงการด้วย 

แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้แรงงานไทยต้องการทำงานในเกาหลีใต้มาจากค่าตอบแทนสูง ประมาณไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท/เดือน ไม่รวมค่าล่วงเวลา ประเภทงานทั้งในโรงงานและงานเกษตร เช่น ปลูกผักและเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่แรงงานผิดกฎหมายจะไม่ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิแรงงาน เสี่ยงจะถูกนายจ้างเอาเปรียบและโกงค่าแรง. – สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง