“มีชัย” เผย รธน.ใหม่เปิดช่องให้ประชาชนเข้าถึงศาล รธน.ได้ง่ายขึ้นกรณีถูกละเมิด

รัฐสภา 26 เม.ย.-ประธาน กรธ.ระบุ รธน.ใหม่เปิดช่องให้ประชาชนเข้าถึงศาล รธน.ได้ง่ายขึ้นกรณีถูกละเมิด วอนทุกฝ่ายช่วยคิดกำหนดในกฎหมายลูกเพื่อให้เกิดความสมดุล เพื่อไม่ให้มีคดีค้างที่ศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไป


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวเปิดการสัมมนารับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ โดยย้ำว่า ศาลรัฐธรรมนูญเสมือนเสาหลักที่จะค้ำจุนให้รัฐธรรมนูญเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่จัดทำเอาไว้ แต่การทำงานของศาลรัฐธรรมนูญจะต้องมีกฎกติกาว่าจะเดินเข้ามาศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร และการปฏิบัติแต่ละเรื่องจะมีผลกระทบอย่างไร ในขณะที่ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญมาถึงบทศาล ก็ค่อนข้างกังวลว่าทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงศาลได้ง่าย แต่ต้องไม่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเกิดภาระจนทำไม่ไหว เพราะมีเพียงแห่งเดียว และมีตุลาการเพียง 9 คน หากมากันมากจะทำให้เกิดปัญหาเดิมคือทำไม่ไหว ทำให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความล่าช้า ซึ่งตามรัฐธรรมนูญวางหลักการไว้ว่าให้ทั้งหน่วยงานของรัฐและประชาชนเข้าศาลรัฐธรรมนูญได้ โดยรัฐธรรมนูญปัจจุบันเปิดช่องไว้กว้างกว่ารัฐธรรมนูญในอดีต โดยหากหน่วยงานใดเกิดความสงสัย หรือเกิดวิกฤติสามารถส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ และคำวินิจฉัยถือเป็นอันสิ้นสุด ผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นจึงได้กำหนดคุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้เข้มด้วยเช่นกัน คือจะต้องมีคุณลักษณะ 3  ประการ คือ ต้องมีความรับผิดชอบสูง กล้าหาญ และต้องมีพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ดี หากไม่ได้ จะต้องยอมเสียเวลาในการสรรหาใหม่เพื่อให้ได้ตามคุณลักษณะดังกล่าว

“เวลาเกิดทางตัน เราจึงเปิดช่องไว้ให้ไปศาลรัฐธรรมนูญได้ และต้องเป็นข้อยุติ ส่วนทางด้านประชาชนนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดช่องเอาไว้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเอาไว้มาก หากถูกละเมิดก็สามารถไปหาศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่กรณีนี้หากปล่อยให้ ไหลไปเป็นแม่น้ำ คงลำบาก จึงเขียนไว้ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เขียนไว้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงต้องรับฟังความเห็นเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการนำเรื่องไปสู่ศาลได้อย่างพอดี พออยู่ และศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำงานได้” นายมีชัย กล่าว


ด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานเห็นตรงกันว่าควรใช้ระบบไต่สวน แต่ควรวางการทำงานระบบการไต่สวนไว้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาความไม่เข้มข้นในการไต่สวนที่เป้าหมายและวิธีการต่างกัน ดังนั้นควรกำหนดตั้งแต่คำนิยามของคำว่าระบบไต่สวนว่าควรเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไร ซึ่งอาจจะตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงขั้นตอนการตัดสินคดี และควรปฏิรูปตั้งแต่การเขียนคำร้อง เพื่อป้องกันปัญหาการไม่รับฟ้อง เพราะทนายเขียนคำร้องคำให้การไม่ชัดเจน ควรกำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยอย่าให้มีผลต่อการพิจารณาคดี เพราะความเก่งหรือไม่เก่งในกฎหมายวิธีพิจารณา

นายจรัญ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในขั้นตอนการเก็บหลักฐาน ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการเรียกพยานหลักฐาน แต่ที่ผ่านมา ศาลแทบไม่เคยเรียกพยานหลักฐานเลย แต่วินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงพยานหลักฐานที่นำเสนอ จึงเห็นว่าควรกำหนดให้ศาลใช้อำนาจในส่วนนี้เท่าที่จะสามารถออกแบบได้ และเพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ โดยจะครหาไม่ได้ เพราะถือว่าได้เดินไปตามครรลองของกฎหมาย

“หลายคดีเราถึงทางตัน ไม่มีทางได้หลักฐานอะไรแล้ว ใช้วิธีว่าถ้าพยานหลักฐานไปชัดให้ยกประโยชน์ให้จำเลย ยกฟ้อง แต่อยากให้เขียนไว้ว่าถ้าสงสัยแล้วต้องให้พยายามแสวงหาพยานหลักฐาน เพราะคดีรัฐธรรมนูญต่างจากคดีอาญา” นายจรัญ กล่าว


สำหรับเรื่องคำร้องตรงของประชานที่จะมาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายจรัญ กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะ 9 ปีที่ผ่านมา ประชาชนจะฟ้องตรงได้ต่อเมื่อมีกรณีข้อขัดแย้งในข้อกฎหมาย จะต้องไปตามองค์กรอื่น ๆ จนกว่าจะไม่มีทางวินิจฉัย เช่น ไปที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ ศาลปกครองก่อน ทำให้มีข้อแย้งที่กว่าจะมาถึงศาลรัฐธรรมนูญน้อยมาก แทบจะไม่ได้ใช้เลย จึงเสนอให้กำหนดไว้ในมาตรา 47 ว่า ให้บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่มีสิทธิยื่นคำร้อง อย่างไรก็ตาม อยากให้ช่วยกันคิดเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลกัน เพื่อไม่ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือคนอื่น

สำหรับปัญหาการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายจรัญ กล่าวว่า มีจุดเดียวที่หนักใจ และยังไม่ได้รับการแก้ไขในรัฐธรรมนูญ คือ กรณีที่ความเห็นของตุลาการที่เป็นองค์คณะเท่ากัน คือ กรณีที่มีองค์คณะ 8 คน แล้วมีคะแนน 4 ต่อ 4 จะทำอย่างไร เพราะต้องใช้เสียงข้างมาก จึงควรเขียนทางออกในรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อไม่ได้เขียนไว้ จึงคิดว่าเขียนเพิ่มในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้ว่าให้ทำแบบที่ศาลรัฐธรรมนูญในอดีต คือ ให้ประชุมกันทำคำแนะนำร่วมกันใน 8 คน ซึ่งจะไม่ใช่ประเด็นวินิจฉัย แต่เป็นการให้คำแนะนำว่าควรดำเนินการอย่างไรด้วยเหตุผลอะไร โดยจะเป็นการปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติด้วย พร้อมกันนี้ยังเสนอให้มีการเผยแพร่ความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยด้วย และในเรื่องขอบเขตของคำวินิจฉัย ควรจะเปิดช่องให้มีการวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อชี้แนวทางให้กับผู้ปฏิบัติได้แทนที่จะกำหนดตายตัวเหมือนศาลยุติธรรมที่ไมสามารถวินิจฉัยนอกประเด็นคำขอได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF อวดผ้าไทยสู่สายตาโลก

นายกฯ สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ จากภาคใต้ ร่วมประชุม WEF อวดผ้าไทยสู่สายตาโลก หารือผู้นำและภาคเอกชนชั้นนำของโลก

กทม.จำกัดพื้นที่ชั้นใน ห้ามรถบรรทุกวิ่ง เริ่มคืนนี้!

ผู้ว่าฯ กทม. ติดตามสถานการณ์ฝุ่น กทม. คาดสุดสัปดาห์ระบายอากาศดีขึ้น พร้อมจำกัดพื้นที่ชั้นใน ห้ามวิ่งรถบรรทุก เริ่มคืนนี้! ย้ำประชาชนช่วยสอดส่องการลอบเผา ต้นเหตุฝุ่น PM 2.5

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่น

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่นคนอายุ 60+ ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ว

“จิรายุ” ย้ำเงินหมื่นเฟส 2 มอบคนอายุ 60+ รัฐบาลพร้อมโอนไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ว วันจันทร์ที่ 27 ม.ค.นี้ แน่นอน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ววันนี้ ส่วนคนไม่มีสมาร์ทโฟน ฝากลูกหลานช่วยด้วย