ลาซา, 10 เม.ย. (ซินหัว) — สถานีพลังงานความร้อนใต้พิภพสูงที่สุดของจีนในแง่ระดับความสูง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผลิตไฟฟ้ามากกว่า 500 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงแล้ว นับตั้งแต่เปิดดำเนินการในปี 2018 รายงานระบุว่าสถานีหยางอี้ ในอำเภอตังสยง นครลาซา เมืองเอกของทิเบต เป็นสถานีพลังงานความร้อนใต้พิภพเพียงแห่งเดียวของจีนที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ สถานีดังกล่าวประยุกต์ใช้หลายเทคโนโลยีใหม่เพื่อเติมพลังงานและหมุนเวียนท้ายน้ำที่เกิดจากการผลิตพลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 420,000 ตัน ไนโตรเจนออกไซด์ 6,200 ตัน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 12,000 ตัน และประหยัดถ่านหินมาตรฐาน 116,000 ตันในแต่ละปี ซุนเจียปิน ประธานสถานีพลังงานความร้อนใต้พิภพหยางอี้ กล่าวว่าสถานีฯ มีระยะเวลาการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 8,700 ชั่วโมงต่อปี โดยแหล่งจ่ายไฟที่มีเสถียรภาพมีส่วนช่วยปกป้องการปรับเปลี่ยนการจ่ายไฟฟ้าและการจัดหาพลังงานช่วงสูงสุดในฤดูหนาวของทิเบต พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก มีความสะอาด และมีความยั่งยืน โดยทิเบตอุดมไปด้วยทรัพยากรความร้อนใต้พิภพจำนวนมาก อีกทั้งวางแผนสร้างฐานพลังงานสะอาดระดับชาติในอนาคต ซึ่งจะมีพลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นส่วนสำคัญ ทั้งนี้ สถานีข้างต้นยังได้สำรวจความเป็นไปได้ของโครงการขยับขยายเพิ่มเติม โดยคาดว่าโครงการระยะที่ 2 ของสถานีฯ ซึ่งอาศัยเงินลงทุนประมาณ 480 ล้านหยวน (ราว 2.38 […]