แพทย์ผิวหนังเตือน กิ้งกือหน้าฝนไม่กัด แต่มีพิษทำผิวไหม้
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ เตือนประชาชนในช่วงหน้าฝนให้ระมัดระวัง “กิ้งกือ” แม้จะไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่มีพิษ ที่ส่งผลให้ผิวหนังระคายเคืองได้
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ เตือนประชาชนในช่วงหน้าฝนให้ระมัดระวัง “กิ้งกือ” แม้จะไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่มีพิษ ที่ส่งผลให้ผิวหนังระคายเคืองได้
สถาบันโรคผิวหนัง เผยฝุ่นละอองในอากาศเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นทั่วโลกและกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของไทย โดยพบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ฝุ่นขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกินค่ามาตรฐานทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และอีกหลายจังหวัด ฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากนี้นอกจากจะทำให้มีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อผิวหนังด้วย
สถาบันโรคผิวหนัง แนะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับแผลไฟไหม้ ช่วยแผลหายดี ลดโอกาสติดเชื้อ ย้ำผู้มีบาดแผลไฟไหม้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
กรมอนามัย เผย ตากผ้าหน้าฝนไม่แห้ง ทำให้เกิดกลิ่นอับชื้น เสี่ยงเชื้อรา แนะ 2 วิธี ทำความสะอาด พร้อมย้ำหากมีอาการคันหลังสวมใส่เสื้อผ้าช่วงหน้าฝน ควรรีบไปพบแพทย์ผิวหนัง
กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เผยสาเหตุของภาวะผมร่วงเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ทุกสาเหตุสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วง แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง
กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง แนะนำวิธีการรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อม พร้อมอธิบายลักษณะของโรค โรคผมร่วงเป็นหย่อมอาจกลับมาเป็นซ้ำได้ แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม
สถาบันโรคผิวหนังแนะนำการฉีดฟิลเลอร์ แก้ไขปัญหาผิว ริ้วรอยร่องลึก บริเวณต่าง ๆ ของใบหน้า ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังก่อนฉีด และปฏิบัติตามข้อแนะนำก่อนและหลังการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อลดโอกาสเกิดความผิดปกติหรือการเกิดภาวะแทรกซ้อน
กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เตือนแผลแมวกัดอาจถึงตายจากแบคทีเรียกินเนื้อคน โดยแผลที่ถูกแมวกัดมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแผลที่ถูกสุนัขกัดถึง 2 เท่า เพราะแมวมีเขี้ยวแหลมยาวกว่าเขี้ยวสุนัข จึงอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียลึกได้ ผู้ถูกแมวกัดควรสังเกตอาการ หากมีอาการปวดแผลอย่างรุนแรง มีไข้สูง อ่อนเพลีย และเกิดเนื้อตายสีดำลุกลามอย่างรวดเร็วในแผล ควรรีบไปพบแพทย์ พร้อมแนะแนวทางการดูแลรักษาแผลที่ถูกวิธี
กรมการแพทย์ 8 ต.ค.-แพทย์โรคผิวหนัง เตือนผู้นิยมสักผิวหนัง อาจมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อหรือเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้ พร้อมแนะการปฏิบัติตนให้ถูกวิธี นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การสักเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งเพื่อความสวยงามหรือเพื่อเป็นตัวแทนของสัญลักษณ์บางอย่าง การสักมีได้ทั้งแบบการสักโดยใช้มือ หรือการใช้เครื่องเพื่อทำการสัก โดยสีที่ใช้สักมีหลายชนิดและส่วนประกอบขึ้นกับสีที่ต้องการ ถึงแม้ว่าการสักจะถือเป็นความงามทางศิลปะอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งการสักอาจจะก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น ความเสี่ยงจากการติดเชื้อ หรือเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง หากมีความผิดปกติที่รอยสัก เช่น ผื่นแดง คัน เป็นหนอง แนะนำไปตรวจกับแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้การรักษาที่ถูกวิธี พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การสักที่ผิวหนัง อาจมีความเสี่ยงดังนี้1) การติดเชื้อในบริเวณที่สัก ซึ่งอาการของการติดเชื้อจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วขึ้นกับชนิดของเชื้อที่ก่อโรค2) การแพ้สีที่ใช้ในการสัก ซึ่งการแพ้สีขึ้นอยู่กับบุคคล บางครั้งอาจไม่สามารถบอกได้ล่วงหน้า ยกเว้นว่าจะเคยมีประวัติแพ้สีดังกล่าวมาก่อน และเนื่องจากสีเป็นสารภายนอกที่ถูกนำเข้าสู่ผิวหนัง ดังนั้นในบางครั้งอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดจากร่างกายทำปฏิกิริยาต่อสิ่งแปลกปลอมในระยะยาวได้3) การเกิดแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์4) การสักอาจจะไม่ได้ตามลายหรือสีที่ต้องการ5) การที่ไม่ต้องการสักถาวรจริงๆ ทำให้ต้องไปลบรอยสัก ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าตอนสักมาก ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ที่สักมา แล้วพบปัญหาผื่นแดง คัน เป็นหนอง แนะนำให้มาพบแพทย์ผิวหนังเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง หากติดเชื้อที่ผิวหนังอาจต้องให้ยาฆ่าเชื้อ […]
กรมการแพทย์ 22 ก.ย.-แพทย์ผิวหนังเตือน “กิ้งกือ”ไม่กัด แต่มีพิษ ชี้บางสายพันธุ์มีต่อมพิษตลอด 2 ข้างลำตัว ฉีดสารพิษได้ไกลมีฤทธิ์ทำผิวหนังไหม้ หากเข้าตาจะเกิดการระคายเคืองได้ ให้รีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ช่วงที่มีฝนตกบ่อยอาจพบเห็นกิ้งกือในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะ จึงขอให้คำแนะนำแก่ประชาชนว่ากิ้งกือไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่มีพิษหากสัมผัสถูกตัว สารพิษของกิ้งกือจะถูกปล่อยออกมาจากบริเวณข้างลำตัว มีฤทธิ์ฆ่าสัตว์เล็กๆ เช่น มด แมลง และหากคนสัมผัสจะทำให้เกิดการอักเสบเป็นผื่นแดงหรือทำให้ตาระคายเคืองในกรณีถูกพิษกิ้งกือเข้าตา พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กิ้งกือบางสายพันธุ์เท่านั้นที่จะมีต่อมพิษอยู่ตลอดสองข้างลำตัวสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้ไกล สารพิษมีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี ประกอบด้วยสารกลุ่มไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) ฟีนอล (Phenol) กลุ่มเบนโซควินิน และไฮโดรควิโนน (Benzoquinones/hydroquinones) มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังไหม้ แผลไหม้ มีอาการปวด 2-3 วัน รวมทั้งการระคายเคืองร่วมด้วย ทั้งนี้ หากถูกพิษของกิ้งกือให้ล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด ทายาแก้อักเสบ โดยทั่วไปอาการมักจะหายภายใน 1 สัปดาห์ […]
แพทย์เตือนประชาชนระวัง 5 แมงมุมพิษ “แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล-แมงมุมแม่ม่ายหลังแดง-แมงมุมมีพิษสีน้ำตาล-แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน-แมงมุมแม่ม่ายดำ”
แพทย์ผิวหนังชี้โรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคเรื้อรัง ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยมักมีประวัติภายในครอบครัวเป็นภูมิแพ้แบบต่างๆ