ชัวร์ก่อนแชร์ : กินหอยนางรมสด เสี่ยงเจอแบคทีเรียกินเนื้อ จริงหรือ ?

12 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์เตือนว่า ในน้ำทะเลมีแบคทีเรียกินเนื้อ ควรงดพวกหอยทุกชนิด หอยแครง หอยแมลงภู่สุก ๆ ดิบๆ และโดยเฉพาะหอยนางรมสด เสี่ยงเจอแบคทีเรียกินเนื้อได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.กิตติยศ ภู่วรวรรณ ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เชื้อที่พูดถึงนั้น คือ Vibrio vulnificus เป็นกลุ่มเชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง มีการติดเชื้อในเนื้อเยื่อชั้นใน หรือที่เรียกว่า “แบคทีเรียกินเนื้อคน” แบคทีเรียกินเนื้ออยู่ในหอยทุกชนิด จริงหรือ ? นอกจากการติดเชื้อจากการกินหอยนางรมเข้าไป ก็สามารถติดเชื้อทางบาดแผลหรือเนื้อเยื่อได้ด้วย การป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการกินอาหารทะเลดิบโดยเฉพาะหอยนางรม และหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำทะเลเมื่อมีบาดแผล สัมภาษณ์เมื่อ : 7 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

แพทย์ผิวหนังเตือนแผลแมวกัดอาจถึงตายจากแบคทีเรียกินเนื้อคน

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เตือนแผลแมวกัดอาจถึงตายจากแบคทีเรียกินเนื้อคน โดยแผลที่ถูกแมวกัดมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแผลที่ถูกสุนัขกัดถึง 2 เท่า เพราะแมวมีเขี้ยวแหลมยาวกว่าเขี้ยวสุนัข จึงอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียลึกได้ ผู้ถูกแมวกัดควรสังเกตอาการ หากมีอาการปวดแผลอย่างรุนแรง มีไข้สูง อ่อนเพลีย และเกิดเนื้อตายสีดำลุกลามอย่างรวดเร็วในแผล ควรรีบไปพบแพทย์ พร้อมแนะแนวทางการดูแลรักษาแผลที่ถูกวิธี

แพทย์ผิวหนังเตือนระวังโรคเนื้อเน่าระบาดช่วงหน้าฝน

โรคเนื้อเน่า ‘แบคทีเรียกินเนื้อคน’ ส่วนใหญ่ระบาดในฤดูฝน ช่วงเกษตรกรลงดำนา ลุยโคลน การติดเชื้อมักมีอาการรวดเร็ว รุนแรง ถ้าไม่ได้รักษาอย่างรวดเร็วถูกต้อง อันตราย

...