GITเตือนเจอเพชรสังเคราะห์ปลอมเหมือนจริงสุดท้ายทำขึ้นจากห้องแลป

กรุงเทพฯ 6 เม.ย.-ผู้อำนวยการสถาบันฯ GITเตือนภัยคนซื้อเพชร ต้องระวัง เดี๋ยวนี้เพชรสังเคราะห์เหมือนเพชรธรรมชาติมาก แนะซื้อจากร้านที่มีใบรับรอง หรือตรวจสอบก่อน หลังตรวจเจอเพชรสังเคราะห์ ที่มีการสลักหมายเลขด้วยเลเซอร์ ที่เป็นของเพชรธรรมชาติ เพชรสังเคราะห์ที่มาตรวจขอใบรับรอง มีขนาดตั้งแต่ 1 -3 กะรัต มีความใส และสีสวย โดยทุกเม็ดมีแกะสลักเลขที่ใบเซอร์ที่เป็นของเพชรธรรมชาติเม็ดอื่นแกะสลักไว้ แต่มาโป๊ะแตกเจอเป็นเพชรสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นมาจากห้องแลป 

พบเพชรสังเคราะห์ในตลาดเพิ่มขึ้น

กรุงเทพฯ 16 มิ.ย.-ผู้อำนวยการสถาบันอัญมณีฯ ระบุผลสำรวจของสมาพันธ์อัญมณีและเครื่องประดับโลกพบเพชรสังเคราะห์ท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น  แนะไม่มั่นใจตรวจสอบถามหาใบรับรองก่อนซื้อ นางดวงกมล เจียมบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือจีไอที เปิดเผยว่า ในการประชุมสามัญประจำปีของสมาพันธ์อัญมณีและเครื่องประดับโลก (CIBJO) เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการรายงานและตั้งข้อสังเกตว่าในปัจจุบันพบปริมาณเพชรสังเคราะห์เพิ่มขึ้นในท้องตลาดเป็นอย่างมาก โดยการนำอัญมณีชนิดอื่นที่มีลักษณะคล้ายเพชรมาใช้เลียนแบบเพชร โดยอัญมณีเลียนแบบจะมีทั้งกลุ่มอัญมณีธรรมชาติ เช่น เพทายไร้สี แซปไฟร์ไร้สี และเพชรสังเคราะห์ที่ทำขึ้นมา ซึ่งอัญมณีทดแทนและเพชรสังเคราะห์เหล่านี้มีราคาไม่สูง ผู้บริโภคมักจะซื้อมาใช้ประดับเพื่อความสวยงาม แต่ไม่นิยมเก็บเป็นทรัพย์สิน ทั้งนี้ ยอมรับว่าในปัจจุบันการผลิตเพชรสังเคราะห์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพชรสังเคราะห์ต่ำลงอย่างมาก ทำให้มีผู้นำเพชรสังเคราะห์มาจำหน่ายในตลาดมากขึ้น แม้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่ทำให้มีทางเลือกในการเลือกซื้อได้มากขึ้น แต่เพชรที่เลือกซื้อเป็นเพชรแท้ เพชรสังเคราะห์ หรืออัญมณีทดแทนอาจจะมีปัญหาในภายหลังได้ จึงต้องระวัง ดังนั้น ในการซื้อขายเพชร มีการปะปนของเพชรสังเคราะห์กับเพชรธรรมชาติ โดยเฉพาะเพชรที่มีขนาดเล็กหรือเพชรมีลี ที่ซื้อขายกันครั้งละหลายเม็ดสามารถนำมาตรวจสอบได้ที่จีไอที ซึ่งมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบระดับมาตรฐานสากล สามารถตรวจสอบแยกเพชรธรรมชาติออกจากเพชรสังเคราะห์ และยังได้รับใบรับรองจากจีไอทีช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งกับผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่จะได้สินค้าดีมีคุณภาพ   อย่างไรก็ตาม พลอยสีที่มีการค้าขายกันในปัจจุบันพบว่า มีการปรับปรุงคุณภาพโดยการเผาพลอย หรือที่เรียกกันติดปากว่า การหุงพลอย ซึ่งเป็นการใช้ความร้อนในการเปลี่ยนสีหรือเพิ่มความสะอาดของเนื้อพลอย ทำให้พลอยสวยงามขึ้น และมีจำนวนมากกว่าพลอยที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งหายากและมีราคาสูง โดยการซื้อขายพลอยที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ผู้ขายต้องระบุให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงความเป็นมาของอัญมณี แต่หากไม่แน่ใจ ทั้งผู้ขาย […]

...