คลื่นความร้อนทำเกิดไฟป่าเพิ่มขึ้นในสเปน

มาดริด 16 มิ.ย.- คลื่นความร้อนที่มาเร็วกว่าปกติทำให้เกิดไฟป่าเพิ่มขึ้นในสเปน ล่าสุดเกิดไฟป่าในแคว้นคาตาโลเนียหรือกาตาลุญญา เผาพื้นที่ป่าไปแล้วราว 6,875 ไร่ เพราะอุณหภูมิในพื้นที่เหล่านั้นสูงใกล้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สำนักงานดับเพลิงระดับภูมิภาคของสเปนทวีตแจ้งว่า เกิดไฟป่าใกล้ 3 เมืองในแคว้นกาตาลุญญา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสเปนตั้งแต่วันพุธตามเวลาท้องถิ่น นักดับเพลิงจำนวนมากกำลังควบคุมไฟป่า พร้อมกับรถดับเพลิงหลายร้อยคันและเครื่องบินดับเพลิงหลายสิบลำ สเปนเกิดคลื่นความร้อนตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ถือว่ามาเร็วกว่าปกติมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2524 ส่งผลให้เกิดไฟป่ากระจายหลายจุดทั่วประเทศ โดยมีปัจจัยมาจากสภาพอากาศร้อน กระแสลมแรงและพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งที่ก่อนหน้านี้จนถึงวันที่ 5 มิถุนายนสเปนเกิดไฟป่าน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 34 และน้อยที่สุดนับจากปี 2561.-สำนักข่าวไทย

เตือนฝรั่งเศสจะเกิดคลื่นความร้อนเร็วกว่าปกติ

ปารีส 13 มิ.ย.- สำนักอุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสเตือนว่า ฝรั่งเศสจะเกิดคลื่นความร้อนเร็วกว่าปกติในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าพื้นที่ทางใต้อาจมีอุณหภูมิแตะ 38 องศาเซลเซียส สำนักอุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสพยากรณ์ว่า อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 35-38 องศาเซลเซียสตั้งแต่กลางสัปดาห์นี้ ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดจะสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส พื้นที่ทางใต้จะเผชิญความร้อนก่อนเป็นแห่งแรก แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะแผ่ขึ้นไปทางเหนือไกลเพียงใด คลื่นความร้อนน่าจะรุนแรงที่สุดระหว่างวันพฤหัสบดีถึงวันเสาร์ ถือว่ามาเร็วกว่าทุกปี เพราะฝรั่งเศสเพิ่งเข้าสู่ฤดูร้อนในเดือนนี้ แต่อุณหภูมิช่วงร้อนสุดของฤดูร้อนปีนี้จะไม่ต่างไปจากที่ผ่านมา สาเหตุที่ทำให้คลื่นความร้อนปีนี้มาเร็วกว่าปกติ เป็นผลจากความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนตัวอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างหมู่เกาะอะโซร์สกับเกาะมาเดราของโปรตุเกส ทำให้เกิดอากาศร้อนทั่วยุโรปตะวันตก ประเทศเพื่อนบ้านฝรั่งเศสอย่างสเปนก็กำลังเกิดคลื่นความร้อนช่วงต้นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดในรอบ 20 ปี อุณหภูมิในเมืองเซบียา ทางใต้ของสเปนแตะ 40 องศาเซลเซียสเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา.-สำนักข่าวไทย

พื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐเสี่ยงเกิดคลื่นความร้อนอันตราย

สหรัฐเตือนว่า ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเสี่ยงเกิดคลื่นความร้อนอันตรายที่อาจทำให้อุณหภูมิสูงถึง 47 องศาเซลเซียส ในช่วงหลายวันนี้ ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง เพื่อความปลอดภัย

คลื่นความร้อนรุนแรงทำชาวอินเดียกว่า 300 ล้านคนเสี่ยงสูง

เดลี 23 พ.ค.- รายงานฉบับใหม่เตือนว่า ชาวอินเดียเกือบ 323 ล้านคนทั่วประเทศ ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงจากคลื่นความร้อนรุนแรงและขาดแคลนอุปกรณ์คลายร้อนอย่างพัดลมและตู้เย็น กลุ่มซัสเทนเนเบิลเอเนอร์จีฟอร์ออล (SE4ALL) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติออกรายงานเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า แม้ชาวอินเดียมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือนแล้ว แต่มีประชากรเพียงส่วนเดียวจากทั้งหมด 1,400 ล้านคนที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าคลายความร้อน ขณะเดียวกันความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าคลายความร้อนที่จะเพิ่มขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้าจะเพิ่มแรงกดดันให้แก่ระบบจ่ายไฟฟ้าของอินเดียที่ตึงตัวอยู่แล้ว และจะทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้นไปอีก เสี่ยงทำให้เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงและยาวนานยิ่งกว่าเดิม รายงานเรียกร้องให้ทางการอินเดียเร่งดำเนินการตาม “แผนปฏิบัติการทำความเย็นอินเดีย” ที่เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2562 แผนนี้ตั้งเป้าลดความต้องการทำความเย็นลงให้ได้ 1 ใน 4 ภายในปี 2581 ด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น พัฒนาเทคโนโลยีทำความเย็นแบบใหม่ ออกแบบอาคารให้อากาศไหลเวียนตามธรรมชาติ เพราะขณะนี้อินเดียกำลังเผชิญวิกฤตไฟฟ้าครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากคลื่นความร้อนทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศสูงมาก จนเกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง อุณหภูมิในเขตนิวเดลีช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้สูงทะลุ 49 องศาเซลเซียส หลังจากอินเดียทั้งประเทศร้อนผิดปกติในเดือนเมษายน และมีเดือนมีนาคมที่ร้อนทำสถิติสูงสุดในรอบ 122 ปี สำนักอุตุนิยมวิทยาอินเดียพยากรณ์ว่า อุณหภูมิในเขตนิวเดลีที่ลดลงในเช้าวันนี้เพราะเกิดฝนตกหนักและพายุฝนฟ้าคะนอง จะกลับไปแตะ 40 องศาอีกครั้งในสัปดาห์นี้ จากนั้นจะเย็นลงเมื่อเข้าสู่ฤดูมรสุมในเดือนมิถุนายน ข้อมูลของรัฐบาลเผยว่า มีคนเสียชีวิตเพราะโรคลมแดดแล้วอย่างน้อย 25 คนตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม […]

น้ำทะเลจีนแตะระดับสูงสุดเมื่อปี 2564

ปักกิ่ง 9 พ.ค.- ระดับน้ำทะเลของจีนทำสถิติสูงสุดในปี 2564 เป็นผลจากอุณหภูมิเหนือผิวน้ำที่สูงขึ้น ธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายเร็วขึ้น ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ริมชายฝั่ง ศูนย์ติดตามสภาพแวดล้อมทางทะเลแห่งชาติ สังกัดกระทรวงทรัพยากรแห่งชาติจีนออกรายงานประจำปีเมื่อวันเสาร์ว่า ระดับน้ำทะเลจีนของจีนในปี 2564 สูงกว่าระดับเฉลี่ยช่วงปี 2536-2554 ถึง 84 มิลลิเมตรหรือ 3.3 นิ้ว แม้อุณหภูมิผิวน้ำริมชายฝั่งของจีนในปีนั้นลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า แต่ยังคงสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศและสูงกว่าอัตราเฉลี่ยช่วงปี 2536-2554 ราว 0.84 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับน้ำทะเลของจีนสูงขึ้นเฉลี่ย 3.4 มิลลิเมตรหรือ 0.13 นิ้วต่อปีนับตั้งแต่ปี 2523 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งโลก รายงานระบุว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลอย่างต่อเนื่องต่อการพัฒนาพื้นที่ริมชายฝั่ง ขอให้ทางการพัฒนาระบบการติดตาม ส่งเสริมมาตรการเตือนภัยล่วงหน้าและการป้องกัน ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมีผลระยะยาว เช่น ระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งถูกกัดเซาะ หาดโคลนซึ่งเป็นที่อยู่และแหล่งอาหารของพืชและสัตว์สูญหาย เมืองริมฝั่งเสี่ยงเกิดน้ำท่วมและน้ำกลายเป็นน้ำเค็ม ปีที่แล้วกระทรวงสิ่งแวดล้อมจีนคาดการณ์ว่า ระดับน้ำทะเลของจีนจะสูงขึ้นอีก 55-170 มิลลิเมตรหรือ 2-7 นิ้วในช่วง 30 ปีข้างหน้า ทำให้ทางการต้องเพิ่มความพยายามในการป้องกันพื้นที่ริมฝั่ง ปัจจุบันเมืองริมฝั่งได้เริ่มดำเนินแผนการฉุกเฉินแล้ว เช่น […]

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น ภาคใต้ฝนลด

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภาคเหนือฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ฝนลดลง ขณะที่กรุงเทพฯ -ปริมณฑล วันนี้อากาศร้อนอุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาฯ

ออสเตรเลียอุณหภูมิพุ่ง 50.7 องศาสูงสุดในรอบ 62 ปี

ซิดนีย์ 14 ม.ค. – สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียเผยว่า เมืองออนสโลว์ ซึ่งตั้งอยู่ในย่านชนบทของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียมีสภาพอากาศร้อนจัด อุณหภูมิพุ่งถึง 50.7 องศาเซลเซียส และเป็นวันที่ร้อนที่สุดทำสถิติเทียบเท่ากับอุณหภูมิสูงสุดของประเทศที่เคยวัดได้เมื่อปี 2503 สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า เมืองออนสโลว์ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียวัดอุณหภูมิได้สูงถึง 50.7 องศาเซลเซียสเมื่อช่วงบ่ายวันพฤหัสบดี ทำลายสถิติสูงสุดของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและทำสถิติเทียบเท่าอุณหภูมิสูงสุดของประเทศที่ท่าอากาศยานเมืองอูดนาดัตตาในรัฐเซาท์ออสเตรเลียเมื่อ 62 ปีก่อน ดร. มาร์ติน ไรซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของไคลเมต เคาน์ซิล (Climate Council) ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของออสเตรเลีย ระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นจนเทียบเท่ากับสถิติเมื่อ 62 ปีก่อนเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มภาวะโลกร้อนระยะยาวที่มีสาเหตุจากการเผาถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เขายังคาดการณ์ว่า หากออสเตรเลียยังไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิระดับสูงดังกล่าวอาจกลายเป็นเรื่องปกติในประเทศ โดยที่นครซิดนีย์และนครเมลเบิร์นอาจมีอุณหภูมิสูงถึงระดับ 50 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อนภายในปี 2573.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ อังกฤษยกย่องความสำเร็จ COP26

กลาสโกว์ 14 พ.ย.- นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันของอังกฤษยกย่องความสำเร็จของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่ปิดการประชุมไปเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนตามเวลาอังกฤษ สำนักนายกรัฐมนตรีอังกฤษเผยแพร่วิดิทัศน์บันทึกการกล่าวสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีจอห์นสันว่า หลังจากใช้เวลาเตรียมการหลายปีและใช้เวลาเจรจาหลายสัปดาห์ที่เมืองกลาสโกว์ของสกอต์แลนด์ ในที่สุดการประชุม COP26 ก็เสร็จลุล่วง แน่นอนว่าหนทางยังอีกยาวไกลกว่าจะพูดได้ว่าสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้แล้ว แต่ข่าวดียิ่งคือ ทั้งโลกได้ร่วมกันทำให้เกิดความคืบหน้าสำคัญบางอย่าง ด้วยการรักษาความหวังเรื่องจะจำกัดอุณหภูมิไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และมีความก้าวหน้าครั้งใหญ่เรื่องถ่านหิน ยานยนต์ เงิน และต้นไม้ เพราะเป็นครั้งแรกที่กว่า 190 ประเทศตกลงร่วมกันที่จะทำให้การใช้พลังงานจากถ่านหินถึงกาลอวสาน นายกรัฐมนตรีจอห์นสันกล่าวต่อไปว่า ในที่สุดโลกพัฒนาแล้วก็ยอมรับว่าจำเป็นต้องช่วยประเทศยากจนและเปราะบางรับมือกับความสูญเสียและเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทุกคนเห็นพ้องกันว่าจำเป็นต้องเข้มงวดเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนยิ่งขึ้นไปอีกในช่วงทศวรรษหน้า และต้องเร่งบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ให้เร็วขึ้น ตอนที่สหราชอาณาจักรรับช่วงเป็นเจ้าภาพ COP มีเพียงร้อยละ 30 ของโลกที่ลงนามจะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ แต่ขณะนี้เกือบทั้งโลกได้ร่วมลงนามแล้ว รวมถึงประเทศที่ก่อมลภาวะรายใหญ่ที่สุดทุกประเทศด้วย ขณะเดียวกันป่าซึ่งเป็นปอดของโลกจะได้รับการปกป้องถึงร้อยละ 90 ด้วยความริเริ่มฉบับใหม่ที่นำสหราชอาณาจักร ผู้นำอังกฤษกล่าวปิดท้ายว่า โลกไม่สามารถหลอกตัวเองว่าสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้แล้ว และจะเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งหากคิดเช่นนั้น เพราะยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก แต่สิ่งที่มีแล้วในขณะนี้คือ แผนกลยุทธ์ที่ใช้ได้จริง หากบรรดาประเทศ ผู้นำ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนทั่วโลกร่วมกันทำตามสิ่งที่รับปากไว้ที่กลาสโกว์ก็จะไปถึงจุดนั้นได้ และในอีกหลายปีข้างหน้านักประวัติศาสตร์จะหันกลับมามอง COP26 ว่าเป็นช่วงเวลาที่ในที่สุดแล้วมนุษยชาติได้ลงมือทำอย่างแท้จริงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ […]

1 7 8 9 10 11 14
...