นาซาเผยยาน “DART” เปลี่ยนวงโคจรดาวเคราะห์น้อยสำเร็จ

วอชิงตัน 12 ต.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซา ระบุว่า ยานสำรวจชื่อ ‘ดาร์ต’ (Double Asteroid Redirection Test-DART) ที่นาซาส่งขึ้นไปชนดาวเคราะห์น้อยในเดือนกันยายน ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนวิถีวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ นาซาเผยเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า ผลการติดตามวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย ‘ไดมอร์ฟอส’ (Dimorphos) ที่ถูกยานสำรวจดาร์ตพุ่งชนเมื่อวันที่ 26 กันยายนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า การพุ่งชนดังกล่าวสามารถเปลี่ยนวิถีวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสได้ และทำให้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีวิถีโคจรเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่าอีกดวงที่มันเป็นบริวารมากขึ้น รวมถึงทำให้วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสสั้นลง 32 นาที ขณะที่นายบิล เนลสัน ผู้อำนวยการของนาซา ระบุว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ถือเป็นจุดพลิกผันของการป้องกันโลกและมวลมนุษยชาติ ทั้งหมดเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่พล็อตในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดแต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ นาซาได้ส่งยานสำรวจดาร์ตขึ้นไปพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอส ซึ่งมีรูปร่างคล้ายไข่ไก่ มีขนาดใหญ่เกือบเท่าสนามฟุตบอล และตั้งอยู่ห่างจากโลก 10.9 ล้านกิโลเมตร โดยเฝ้าติดตามผลของภารกิจในครั้งนี้จากศูนย์ปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ (APL) ที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ในรัฐแมริแลนด์ของสหรัฐ ซึ่งเป็นสถานที่ออกแบบและสร้างยานอวกาศของนาซา โดยที่ยานสำรวจดาร์ต ซึ่งมีขนาดเกือบเท่าตู้เย็น ได้พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสด้วยความเร็ว 22,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง […]

ยาน “DART” ของนาซา พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยสำเร็จ

วอชิงตัน 27 ก.ย. – ยานสำรวจชื่อ ‘ดาร์ต’ (Double Asteroid Redirection Test-DART) ขององค์การบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ได้พุ่งชนดาวเคราะห์น้อย ‘ไดมอร์ฟอส’ (Dimorphos) ด้วยความเร็ว 22,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาในสหรัฐ ถือเป็นการจบภารกิจทดสอบการรับมืออุกกาบาตนอกโลกสำเร็จเป็นครั้งแรก นาซาเผยว่า ยานสำรวจดาร์ตได้พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสด้วยความเร็ว 22,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยที่จุดเกิดเหตุพุ่งชนเกิดขึ้นในห้วงอวกาศที่อยู่ห่างจากโลกราว 9.6 ล้านกิโลเมตร ขณะที่นักวิทยาศาสตร์หลายรายคาดว่าแรงปะทะดังกล่าวจะทำให้ดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสเปลี่ยนวงโคจนได้ แต่จะต้องใช้เวลาติดตามอีกหลายวันหรือสัปดาห์กว่าที่จะทราบว่าดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวเปลี่ยนวงโคจรได้มากหรือน้อยเพียงใด ในขณะเดียวกัน นายบิล เนลสัน ผู้อำนวยการของนาซา ได้ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่พล็อตหนังอย่างที่เคยดูกัน เช่น อาร์มาเก็ดดอน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อไทยว่า วันโลกาวินาศ ออกฉายปี 2541 เนื่องจากเดิมพันที่ใช้ในโลกแห่งความจริงนั้นมีมูลค่าสูงยิ่ง ทั้งนี้ ดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 160 เมตร อยู่ห่างจากโลกราว 9.6 ล้านกิโลเมตร และเป็นบริวารของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่อีกดวงที่มีชื่อว่า ‘ดิดีมอส’ (Didymos) ดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวงได้โคจรรอบดวงอาทิตย์มาเป็นเวลาช้านานโดยไม่เป็นภัยต่อโลก ทำให้นาซาตัดสินใจเลือกดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวมาใช้ทดสอบการพุ่งชนเพื่อเปลี่ยนวงโคจรไม่ให้พุ่งชนโลกในอนาคต.-สำนักข่าวไทย

...