fbpx

ชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศเกือบครึ่งรู้สึกเหงา

โตเกียว 9 มิ.ย.- ผลสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นพบว่า ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเกือบร้อยละ 45 รู้สึกเหงาเป็นครั้งคราว ยิ่งอยู่ในพื้นที่ที่ขาดความสัมพันธ์แบบชุมชนญี่ปุ่นที่เหนียวแน่น ยิ่งรู้สึกเหงามากขึ้น กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นทำการสำรวจเรื่องนี้เป็นครั้งแรก เป้าหมายเป็นชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศประมาณ 1 ล้าน 3 แสนคน และได้รับคำตอบกลับทางออนไลน์ทั้งหมด 55,420 รายระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566  ผู้ตอบร้อยละ 44.9 เผยว่า รู้สึกเหงาบ่อยครั้ง บางครั้ง หรือนาน ๆ ครั้ง สูงขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสำรวจกับชาวญี่ปุ่นในประเทศ ภูมิภาคที่มีสัดส่วนผู้รู้สึกเหงามากที่สุดคือยุโรปตะวันตกร้อยละ 48.0 ตามด้วยอเมริกาใต้ร้อยละ 46.4 อเมริกาเหนือร้อยละ 45.3 ตะวันออกกลางร้อยละ 41.4 และแอฟริการ้อยละ 39.0 สาเหตุที่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกเหงามากที่สุดคือ อุปสรรคด้านภาษา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.6 ตามด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมร้อยละ 27.9 ผลสำรวจพบด้วยว่า ผู้ตอบที่รู้สึกเหงาบ่อยครั้งราวร้อยละ 44.5 รู้สึกเช่นนี้มาไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว กระทรวงต่างประเทศกำลังร่วมกับคณะนักการทูตในต่างประเทศและองค์กรป้องกันการฆ่าตัวตายในประเทศหาทางให้ความช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศที่มีปัญหาเรื่องความเหงา.-814.-สำนักข่าวไทย

นักศึกษาหนุ่มรัสเซีย ผู้หลงใหลภาษา-วัฒนธรรมจีน

ปักกิ่ง, 21 มี.ค. (ซินหัว) — นิกิตา โปปอฟ นักศึกษาหนุ่มชาวรัสเซียจากมหาวิทยาลัยหนานชางในนครหนานชาง มณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน แนะนำตัวว่าเขากำลังศึกษาภาษาจีนอยู่ที่มหาวิทยาลัยหนานชาง หลังเดินทางมายังจีนเมื่อปี 2016 ขณะอายุได้ 16 ปี โดยขณะนี้เขาอาศัยอยู่ที่จีนมา 6 ปีแล้ว นิกิตากล่าวว่าเขารู้สึกดีกว่าที่คิดไว้หลังเดินทางมาถึงจีน เพราะรู้สึกมีชีวิตชีวาและตื่นตาตื่นใจกับทุกๆ สิ่ง สิ่งที่นิกิตาประทับใจที่สุดในจีนคือเรื่องการเดินทาง การชำระเงิน และการซื้อสินค้าออนไลน์ที่สะดวกสบาย รวมถึงรถไฟความเร็วสูง โดยเขาอธิบายว่าเมื่อต้องการเดินทางและโดยสารรถไฟความเร็วสูง เขาแค่ต้องซื้อบัตรโดยสารผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เท่านั้น และทุกสิ่งที่ต้องการก็สามารถหาซื้อได้ผ่านทางออนไลน์ แถมใช้เวลาจัดส่งเพียง 2-3 วัน นิกิตายังได้เดินทางท่องเที่ยวไปหลากหลายเมืองทั่วจีน อาทิ อู๋ซี เซี่ยงไฮ้ และอื่นๆ พร้อมเผยว่าชื่นชอบเมืองซูโจวและหางโจวเพราะเป็นเมืองที่สวยงาม และรู้สึกประทับใจเป็นพิเศษตอนเดินทางไปอุรุมชี เนื่องจากผู้คนที่นั่นสามารถพูดภาษาคาซัค ภาษาอุซเบก และภาษาอาราบิกได้ พวกเขาใช้ชีวิตอย่างกลมเกลียวกัน แม้มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ชายหนุ่มที่ติดใจวัฒนธรรมจีนและยกให้จีนเป็นบ้านหลังที่สอง กล่าวว่าเขาเรียนรู้ภาษาจีนได้เร็วมากและผ่านสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับ 5 หลังจากอยู่จีนได้เพียง 6 เดือน “ภาษาจีนไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผม มันเป็นเหมือนกับพรหมลิขิต” นิกิตากล่าวพร้อมเสริมว่าเขาอยากจะเรียนภาษาจีนเป็นวิชาหลักในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและหางานที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีนในอนาคต เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและรัสเซีย- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ […]

มหาวิทยาลัยจีนพัฒนา “เครื่องมือแปล” ตั้งเป้าครอบคลุม 400-500 ภาษาในปี2023

เสิ่นหยาง, 8 ก.พ. (ซินหัว) — เครื่องมือแปลภาษาของจีน หรือแพลตฟอร์มหนิวทรานส์ (NiuTrans) ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาของมหาวิทยาลัยตงเป่ย สามารถแปลภาษาได้ถึง 388 ภาษาแล้ว และตั้งเป้าครอบคลุมการแปล 400-500 ภาษาภายในปี 2023 ปัจจุบันหนิวทรานส์สามารถให้บริการครอบคลุมภาษาราชการทั้งหมดของกลุ่มประเทศและภูมิภาคตามแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ภาษาราชการของสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (UN) และ 7 ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในจีน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230208/353b665a551a426b93d7ad67023b726b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/337497_20230209ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ภาษาในม็อบ

การชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “ราษฎร” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา มีการใช้คำศัพท์ ภาษาวัยรุ่น ในการชุมนุม รวมถึงใช้ภาษาเหล่านี้ เพื่อสับขาหลอกตำรวจ ไม่ให้รู้ว่าจะชุมนุมที่ไหน แต่การชุมนุม ก็มีคนหลายวัย มาร่วมชุมนุมด้วยเช่นกัน พวกเขาทำความเข้าใจกับภาษาเหล่านี้อย่างไร

สีสันต่างประเทศ : ออสเตรเลียศึกษาวิธีหัดพูดในเด็ก

นักวิจัยออสเตรเลียติดตั้งอุปกรณ์บันทึกเสียงเอาไว้ตามบ้านของครอบครัวที่มีเด็กๆ เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะทางภาษาในเด็กเล็ก

...