fbpx

นักวิชาการระบุพรบ.ไซเบอร์คืออุปสรรคเศรษฐกิจดิจิทัล

กรุงเทพฯ 14 ต.ค.-นักวิชาการเชื่อว่า พรบ.รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเมินผลกระทบของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่อเศรษฐกิจและประชาชนว่า พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและมีเนื้อหาหลายส่วนอาจขัดขวางต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม เพิ่มต้นทุนในการประกอบการ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการดำเนินการของภาคธุรกิจอีกด้วย  นายอนุสรณ์ กล่าวว่า  ผลกระทบจะมีอย่างน้อย 9 ด้านหากไม่แก้ไขเนื้อหาที่จะมีปัญหา กฎหมายนี้แม้นจะมีความจำเป็นในการสร้างระบบความมั่นคงทางด้านไซเบอร์แต่กระบวนการในการร่างกฎหมายต้องให้เกิดการมีส่วนร่วมและต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตยรวมทั้งต้องสอดคล้องพลวัตของระบบสังคมและเศรษฐกิจในอนาคตที่ระบบเศรษฐกิจมีการเคลื่อนตัวสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้นตามลำดับ การมีกฎหมายที่กำลังบังคับใช้ใหม่แต่อยู่บนฐานคิดที่ล้าหลัง อยู่ภายใต้กรอบคิดความมั่นคงแบบเก่าๆและไม่เป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องอ่อนไหวต่อสังคม ต่อระบบการดำเนินธุรกิจและระบบเศรษฐกิจ กฎหมายอาจจะนำมาสู่ความขัดแย้งอย่างกว้างขวางและไม่สอดคล้องกับโลกในปัจจุบันและอนาคต การมีกฎหมายหรือผู้ออกกฎหมายที่มุ่งไปที่มิติความมั่นคงมากเกินไปโดยไม่สนมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม มิติทางด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยอย่างยิ่งต่อสังคมไทยในอนาคต    สำหรับผลกระทบของกฎหมายมั่นคงด้านไซเบอร์ 9 ด้าน เช่น  1.กฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและเนื้อหาบางส่วนอาจขัดขวางต่อการขยายตัวเติบโตของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 2.เปิดโอกาสและช่องทางในการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้โดยไม่มีการกำกับตรวจสอบถ่วงดุลที่ดีพอ อำนาจของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กปช ใน มาตรา 46, 47, 48, 54, 55, 56, 57 มีความอ่อนไหวสูงต่อการใช้อำนาจรัฐละเมิดสิทธิประชาชนหรือองค์กรหรือกิจการธุรกิจต่างๆ และอำนาจบางอย่างที่ระบุไว้ในกฎหมายต้องผ่านคำสั่งศาลเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิพื้นฐานของประชาชนและองค์กรต่างๆรวมทั้งเกิดช่องทางหาผลประโยชน์ในทางที่มิชอบโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและเกิดการทับซ้อนทางผลประโยชน์ได้  ควรมีการใช้อำนาจดุลยพินิจของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กปช และ เจ้าหน้าที่ให้น้อยที่สุด 3. โครงสร้างการบริหารขาดการมีส่วนร่วมและยังไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ กปช […]

...