ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีการตรวจสอบตาเหล่หรือตาเข ใช้ได้จริงหรือ ?

2 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์วิธีการตรวจสอบดวงตาว่ามีภาวะตาเหล่หรือตาเขหรือไม่ สำหรับเด็กต้องวิ่งเล่นจนเหนื่อยจึงจะตรวจสอบได้และ ในผู้ใหญ่ตรวจสอบได้โดยการยืนส่องกระจกห่างออกมา 1 เมตรนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย Q : เด็กต้องวิ่งเล่นจนเหนื่อย จึงจะตรวจสอบตาเขได้ จริงหรือ ?A : วิธีนี้ใช้ได้กับเด็กที่มีปัญหาตาเขออกนอกบางเวลาเท่านั้น การให้เด็กเล่นจนเหนื่อยหรือเพลียมาก เขาอาจจะแสดงออกให้คนรอบข้างเห็น เพราะเด็กจะหมดแรง ในการเพ่งกล้ามเนื้อตา หรือควบคุมกล้ามเนื้อตาทั้งสองข้างให้อยู่ตรงกัน Q : ผู้ใหญ่ตรวจสอบได้โดยการยืนส่องกระจกห่างออกมา 1 เมตร จริงหรือ ?A : เป็นวิธีสังเกตตัวเองสำหรับคนที่ตาเขมาก ๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการน้อย ก็จะสังเกตไม่แน่ชัด Q : วิธีดูตาเขหรือตาเหล่ เบื้องต้นทำอย่างไร ?A : แพทย์จะดูตำแหน่งของตาดำจากภายนอก ดูปฏิกิริยาจากการส่องไฟฉาย ดูการโฟกัสของสายตาและการมองเห็น โดยแพทย์จะสังเกตเงาไฟฉาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเหล่หรือตาเข

29 มิถุนายน 2566 – ภาวะตาเหล่หรือตาเขคืออะไร ตาเหล่ ตาเข เหมือนกันหรือไม่ เกิดจากสาเหตุใดและมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ตาเหล่ ตาเข เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา กล้ามเนื้อตาทำงานไม่สัมพันธ์กัน เมื่อมองตรง ตาดำข้างหนึ่งจะไม่อยู่ตรงกลาง อาจจะมีข้างหนึ่งเขเข้า หรือเขออก ตาเหล่เทียม เป็นลักษณะที่ดูคล้ายกับอาการของการเป็นตาเข ตาเหล่ แต่ความจริงแล้วผู้ที่เป็นตาเหล่เทียมไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ เลย ตาเหล่ซ่อนเร้น หรือตาส่อน  อาการของตาเหล่ซ่อนเร้นจะแสดงออกเมื่อผู้ป่วยเหม่อ ไม่ได้โฟกัสวัตถุใด หรือปิดตาไว้หนึ่งข้าง ตาข้างที่ไม่ได้ใช้มองจะค่อย ๆ เหล่ออกด้านข้าง เกิดจากกล้ามเนื้อหัวตาผ่อนแรงจนไม่ได้ดึงตาข้างหนึ่งกลับมาให้ตรงเหมือนกับอีกข้าง ตาเหล่ เกิดจากสาเหตุใด ? การรักษาอาการตาเหล่ สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะตาเข การผ่าตัดแก้ไขตาเข ไม่ยุ่งยาก ให้ผลลัพธ์ดี ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากสามารถขอใช้สิทธิประกันการรักษาได้อีกด้วย สัมภาษณ์เมื่อ : 9 มิถุนายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้คอมพิวเตอร์นานกล้ามเนื้อตาค้างได้ จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนอาการภาพซ้อนหลังใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เกิดจากกล้ามเนื้อตาค้าง เรื่องนี้จริงหรือไม่

ชัวร์ก่อนแชร์ : ความเชื่อทั่วไปเรื่องสุขภาพตา จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เรื่องความเชื่อทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพตา เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมาร์ทโฟนทำลายกล้ามเนื้อตา จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า การให้เด็กเล่นสมาร์ทโฟนนานๆ อาจทำให้ต้องผ่าตัดตาได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

...