เอกชนห่วง ตั้งรัฐบาลช้า กระทบลงทุนใหม่และท่องเที่ยว

เอกชนห่วงตั้งรัฐบาลช้ากระทบลงทุนใหม่และด้านการท่องเที่ยว ย้ำหากจะมีการชุมนุมก็ขอให้เป็นไปอย่างสงบตามกฎหมาย เพื่อไม่ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัว

ประท้วงในฝรั่งเศสยังเดินหน้าแม้ทางการห้าม

ปารีส 9 ก.ค.- ผู้ประท้วงประมาณ 2,000 คนท้าทายคำสั่งห้ามการชุมนุมในกรุงปารีสไปร่วมการชุมนุมเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น รำลึกถึงชายที่เสียชีวิตระหว่างอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจเมื่อ 7 ปีก่อน   ศาลฝรั่งเศสมีคำสั่งห้ามการชุมนุมในกรุงปารีส โดยให้เหตุผลว่ามีโอกาสสูงมากที่จะเกิดเหตุไม่สงบ หลังจากเพิ่งเกิดเหตุไม่สงบเมื่อไม่นานมานี้กรณีที่เหตุนาเฮล เอ็ม วัยรุ่นชายเชื้อสายแอลจีเรียวัย 17 ปีถูกตำรวจยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน อย่างไรก็ดี ผู้ประท้วงยังคงไปร่วมชุมนุมที่จัตุรัสใจกลางกรุงปารีส โดยมีสมาชิกรัฐสภาหลายคนรวมอยู่ด้วย พี่สาวของนายอาดามา ทราโอเร่ ชายฝรั่งเศสผิวดำวัย 24 ปี ที่เสียชีวิตระหว่างอยู่ในความควบคุมตัวของตำรวจเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2559 กล่าวว่า ต้องการประณามการใช้ความรุนแรงของตำรวจที่ต้องการปกปิดการเสียชีวิตของพวกเขา ทางการอนุญาตให้กลุ่มนาซีใหม่เดินขบวน แต่กลับไม่อนุญาตพวกเขา ด้านตำรวจแจ้งว่า ห้ามชุมนุมเนื่องจากอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อย และพี่สาวของนายทราโอเร่ถูกไต่สวนเรื่องจัดการชุมนุมดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมต่อต้านการใช้ความรุนแรงของตำรวจทั่วฝรั่งเศสประมาณ 30 แห่ง กระทรวงมหาดไทยเผยว่า มีผู้เข้าร่วมการชุมนุมทั่วประเทศเมื่อวันเสาร์ราว 5,900 คน การเสียชีวิตของนายนาเฮล เอ็ม จุดกระแสกล่าวหาที่มีมานานเรื่องเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของฝรั่งเศสมีการเหยียดเชื้อชาติอย่างเป็นระบบ คณะกรรมการชุดหนึ่งของสหประชาชาติเรียกร้องให้ฝรั่งเศสห้ามการเหยียดผิว ทำให้กระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศสแย้งว่า เป็นการเรียกร้องที่เลยเถิดและไร้มูล.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ เล็กทั่วฝรั่งเศสชุมนุมเรียกร้องยุติความรุนแรง

นายกเทศมนตรีของเมืองต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส จัดการชุมนุมเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น เรียกร้องให้ยุติการปะทะด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้น หลังจากวัยรุ่นชายถูกตำรวจยิงเมื่อวันอังคารที่แล้ว ขณะที่เหตุไม่สงบเริ่มลดลงทั่วประเทศ

นิด้าโพล เผยสำรวจ “ความเบื่อหน่ายการชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาล”

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” เผยผลสำรวจ “ความเบื่อหน่ายการชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาล” พบตัวอย่าง 57.71 % ระบุว่า เบื่อมาก รองลงมา 20.46 % ระบุว่า ค่อนข้างเบื่อ 12.75% ระบุว่า ไม่เบื่อเลย

ศปปส.เรียกร้องสหรัฐหยุดแทรกแซงกิจการภายในไทย

ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน ชุมนุมหน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลสหรัฐให้หยุดแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย

มวลชนแสดงจุดยืนให้ ส.ว.ฟังเสียงประชาชน

กลุ่มมวลชนชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เรียกร้องให้ ส.ว.ฟังเสียงประชาชน ถือเป็นการชุมนุมแรกตั้งแต่มีการเลือกตั้ง ซึ่งการชุมนุมวันนี้ไม่มีความรุนแรง ไม่ได้กดดันอะไร แต่เป็นการเปิดเวทีเสวนา ชี้ให้เห็นว่า ส.ว.ไม่ควรฝืนมติประชาชน

จิตแพทย์หวั่นสังคมส่งต่อความรุนแรง วอนยึดหลัก 1 เตือน 2 ไม่

จิตแพทย์ วอนยึดหลัก 1 เตือน 2 ไม่ หวั่นสังคมส่งต่อความรุนแรง ทั้งข้อความเกลียดชังและข่าวเท็จจริง เพิ่มอุณหภูมิการเมืองให้ร้อนขึ้น กลายเป็นชุมนุมได้ ย้ำเห็นต่างไม่มีถูกผิด และทุกคนต่างหวังดีกับประเทศ ส่วนการจับขั้วทางเมือง ต้องเข้าใจเสียงส่วนมาก แม้เป็นประชามติ แต่ก็ต้องรับฟังความคิดเห็นคนอื่น

กลุ่มแรงงานในเกาหลีใต้เตรียมชุมนุมใหญ่วันแรงงานสากล

โซล 1 พ.ค.- กลุ่มแรงงานหลากหลายกลุ่มในเกาหลีใต้ รวมถึงสหภาพแรงงานใหญ่ที่สุด 2 แห่งของประเทศเตรียมจัดการชุมนุมใหญ่ใจกลางกรุงโซลในวันนี้ เนื่องในวันแรงงานสากล สมาพันธ์สหภาพแรงงานเกาหลีหรือเคซีทียู (KCTU) จะจัดการชุมนุมที่เขตชงโนในเวลา 14:00 น.วันนี้ตามเวลาเกาหลีใต้ ตรงกับเที่ยงวันนี้ตามเวลาไทย และจะประกาศแผนการนัดหยุดงานครั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นสมาชิกจะเคลื่อนขบวนไปยัง 3 จุดหมาย ประกอบด้วยทำเนียบประธานาธิบดีในเขตยงซาน สำนักงานจ้างงานและแรงงานภูมิภาคโซลในเขตชุง และศาลรัฐธรรมนูญในเขตชงโน ด้านสหพันธ์สหภาพแรงงานเกาหลีหรือเอฟเคทียู (FKTU) ที่มีสมาชิก 50,000 คน จะจัดการชุมนุมบนเกาะยออีโด และจะเรียกร้องเรื่องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยุติธรรมที่ให้แรงงานเป็นศูนย์กลาง หยุดยั้งการแก้ไขกฎหมายการลงโทษในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรงและหยุดยั้งการแก้ไขระบบบำนาญ สหพันธ์สหภาพเจ้าหน้าที่ภาครัฐเตรียมจัดการชุมนุมที่หน้าสภานิติบัญญัติบนเกาะยออีโดในเวลา 13:00 น. กลุ่มนี้เรียกร้องมานานให้ข้าราชการได้หยุดในวันแรงงานสากล โดยระบุว่า การที่ข้าราชการไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายมาตรฐานแรงงานถือเป็นการเลือกปฏิบัติ ด้านกลุ่มคนทำงานส่งอาหารของแอปพลิเคชันเบดัล มินจกหรือแบมิน จะชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่ของบริษัท ทางตอนใต้ของกรุงโซลในช่วงเที่ยงวันนี้ เพื่อเรียกร้องขอขึ้นรายได้จากการส่งอาหารที่ถูกไม่ได้ขึ้นมานานถึง 9 ปี จาก 3,000 วอน (ราว 76 บาท) เป็น 4,000 วอน (ราว 102 บาท) […]

อิสราเอลประท้วงใหญ่หลัง รมว.กลาโหมถูกปลด

เยรูซาเล็ม 27 มี.ค.- ชาวอิสราเอลจำนวนมากออกมาชุมนุมตั้งแต่กลางดึกเมื่อวานนี้ ประท้วงที่นายกรัฐมนตรีเบนยามิน เนทันยาฮูสั่งปลดรัฐมนตรีกลาโหมที่ขอให้รัฐบาลระงับแผนการปฏิรูประบบตุลาการที่ทำให้ประชาชนไม่พอใจ ผู้ประท้วงพากันโบกธงชาติขณะชุมนุมตามท้องถนนทั่วประเทศ และมีคนไปชุมนุมหน้าบ้านพักนายกรัฐมนตรีในนครเยรูซาเล็ม หลังจากสำนักนายกรัฐมนตรีประกาศเมื่อเย็นวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นว่า นายกรัฐมนตรีตัดสินใจปลดนายโยอาฟ กัลลานต์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม แต่ไม่ได้ประกาศชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งแทนหรือรายละเอียดอื่น ๆ นายกัลลานต์ วัย 64 ปี ทวีตหลังจากนั้นไม่นานว่า ความมั่นคงของอิสราเอลได้เป็นและจะเป็นภารกิจของชีวิตเขาตลอดไป ก่อนหน้านี้เขาได้เตือนขณะกล่าวทางโทรทัศน์เมื่อวันเสาร์ว่า แผนการปฏิรูประบบตุลาการเป็นภัยที่ชัดเจน ทันที และแท้จริงต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของประเทศ เขายินดีรับความเสี่ยงและชดใช้ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ด้านแกนนำฝ่ายค้านชี้ว่า เนทันยาฮูได้ล้ำเส้นแล้วจากการนำความมั่นคงแห่งชาติมาใช้ในเกมการเมือง และขอให้สมาชิกพรรคลิคุดของนายเนทันยาฮูอย่ามีส่วนร่วทในการบดขยี้ความมั่นคงแห่งชาติ รัฐบาลผสมของนายเนทันยาฮูที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองชาตินิยมและพรรคเคร่งศาสนาเผชิญวิกฤตหลังจากบริหารประเทศได้เพียง 3 เดือน หลังจากประกาศเดินหน้าโครงการที่เขาระบุว่ามีความจำเป็น เพื่อควบคุมผู้พิพากษาสายเคลื่อนไหวและฟื้นฟูสมดุลที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับคณะตุลาการ เขาเตรียมจะลงนามส่วนสำคัญของมาตรการปฏิรูป นั่นคือ ร่างกฎหมายเพิ่มอำนาจฝ่ายการเมืองในการควบคุมการแต่งตั้งผู้พิพากษา ด้วยการให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจอย่างกว้างขวางในการเสนอชื่อผู้พิพากษาที่จะดำรงตำแหน่งในศาลฎีกา ขณะที่ประธานาธิบดีอิซฮาก เฮอร์โซกที่เป็นตำแหน่งทางพิธีและไม่มีอำนาจทางการเมืองเตือนในเดือนนี้ว่า ประเทศอาจเผชิญหายนะ หากไม่มีฉันทามติในการปฏิรูประบบตุลาการ.-สำนักข่าวไทย

ฮ่องกงไฟเขียวประท้วงครั้งแรกในรอบหลายปี

รัฐบาลฮ่องกงอนุญาตให้มีการชุมนุมและเดินขบวนประท้วงของผู้คนกลุ่มเล็กๆ ในฮ่องกง ท่ามกลางเจ้าหน้าที่จับตาเฝ้าดูอย่างเข้มงวด นับเป็นการรวมตัวประท้วงของผู้คนในฮ่องกงครั้งแรกที่ได้รับอนุญาตให้จัดขึ้น หลังฮ่องกงมีกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติเมื่อปี 2020

1 2 3 4 5 6 56
...